สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
ในแต่ละวันมักมีเศษอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภคและจำหน่าย อาหารจำนวนมากหากรวบรวมเก็บใส่ถุงไว้ รอรถขยะของเทศบาลมารับ อาจเสียเวลารอนานหลายวัน จนเกิดกลิ่นเหม็นเป็นที่รำคาญใจและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงออกแบบเครื่องผลิตดินจากเศษอาหารด้วยการเร่งปฏิกิริยาจุลินทรีย์ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่คนไทยสามารถกำจัดขยะเศษอาหารในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปริมาณขยะสู่สิ่งแวดล้อม นวัตกรรมนี้ นำเศษอาหารไปทำดิน โดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ ช่วยย่นระยะเวลาที่ใช้ในการทำดินหมักให้สั้นลง และใช้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่า ที่สำคัญได้ดินคุณภาพดีนำไปใช้ปรับปรุงดิน หรือใช้ปลูกต้นไม้อีกทางหนึ่งด้วย ขั้นตอนการทำงาน 1. นำสารตั้งต้นในการย่อยใส่ลงไปในถังเครื่องผลิตดิน เช่น แกลบดิบ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และน้ำตาล 2. หลังจากใส่สารตั้งต้นแล้วทิ้งไว้ 1 วัน จึงนำเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์ที่เหลือในครัวเรือนใส่ลงไปในเครื่องผลิตดินจากเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์ กดปุ่มเพื่อเริ่มกระบวนการทำงานตามระบบ 3. ตรวจสอบว่าลักษณะทางกายภาพของเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์มีการเปลี่ยนแป
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ แก่ ผศ.ดร.กนกวรรณ เรืองศิริ แห่งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และคณะ จากผลงานการประดิษฐ์ นวัตกรรมระบบบริการตู้อบฆ่าเชื้อไวรัสแบบไฮบริด ฆ่าเชื้อได้ 3 ระบบ ควบคุมการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อให้บริการอบฆ่าเชื้อสิ่งของ อุปกรณ์ส่วนบุคคล แก่สถานที่สาธารณะ และสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ แม้ว่าจะมีการฆ่าเชื้อและป้องกันตนเองในเบื้องต้น หากแต่เชื้อไวรัสสามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวของสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน จึงอาจสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การฆ่าเชื้อไวรัสบนสิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรร
กยท. เปิดตัวนวัตกรรมหมวกยางพารากันฝน นำร่อง ติดต้นยางทั่วพื้นที่กว่า 30 ไร่ ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต อ.วังจันทร์ จ.ระยอง หวังต่อยอดทุกพื้นที่ในประเทศ มุ่งเพิ่มผลผลิตและรายได้ชาวสวนยาง ควบคู่การใช้ยางในประเทศ โดยมี นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน พร้อมผู้บริหารจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในพิธีส่งมอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราฯ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดกิจกรรมเปิดจุดสาธิตการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางพารา ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งกิจกรรมนี้ กยท. ได้รับความร่วมมือและบูรณาการร่วมกันกับ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย กยท. มอบผลิตภัณฑ์หมวกยางพาราหรือร่มกันฝนจากยางพารา จำนวน 2,000 ชุด ติดตั้งในสวนยางพาราสาธิต ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่สวนยางพารา จำนวน 30 ไร่ เพื่อเป็นจุดต้นแบบเรียนรู้ของเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเก