สภาพอากาศแปรปรวน
นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2562 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ภาคเกษตรขยายตัวได้ คือ สภาพอากาศเย็นในช่วงปลายปี 2561 เอื้ออำนวยให้ไม้ผลทั้งทุเรียน มังคุด และเงาะ มีการออกดอกติดผลให้ผลผลิตได้จำนวนมาก ไม้ยืนต้นมีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และในส่วนของการผลิตสินค้าปศุสัตว์ มีระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีการวางแผนการผลิตและการเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ กระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งพัฒนาภาคเกษตร โดยเน้นเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยได้ดำเนินนโยบายที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer และพัฒนาสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเกษตรกรมืออาชีพ โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิตควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น
สภาพอากาศแปรปรวนมีฝนตกร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนในตอนกลางวันมีอากาศร้อนช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของโรคผลเน่า สามารถพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน และมักพบโรคในช่วง 1 เดือนก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน หรือในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนแล้วอาจพบโรคผลเน่าในระหว่างการบ่มผลทุเรียนให้สุก โดยอาการเริ่มแรกจะพบเปลือกผลทุเรียนเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำ ต่อมาจุดแผลจะลุกลามขยายใหญ่มากขึ้นตามการสุกของผลทุเรียน กรณีที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคบริเวณแผล ซึ่งสามารถพบอาการของโรคได้ตั้งแต่ผลทุเรียนที่ยังอยู่บนต้น ถ้าอาการรุนแรงมาก ผลทุเรียนจะเน่าและร่วงหล่นก่อนกำหนด สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคผลเน่า เกษตรกรควรหมั่นตรวจผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ให้เกษตรกรตัดผลทุเรียนที่เป็นโรคและเก็บผลทุเรียนเน่าที่ร่วงหล่นใต้ต้นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง หลีกเลี่ยงการนำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อ
นางอ้อมทิพย์ สุทธิพงศ์เกียรติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากสภาพภูมิอากาศช่วงนี้ที่กลางวันร้อนอบอ้าวอุณภูมิสูง กลางคืนอากาศเย็น หรือมีน้ำค้างปริมาณมาก สภาพอากาศแบบนี้เหมาะที่จะทำให้เกิดโรคไหม้ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นข้าวมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลาง แผลขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าเป็นระยะรุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้ ส่วนระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ ข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้าและระยะออกรวง ถ้าเป็นโรคช่วงรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่ส่วนคอรวง ทำให้เปราะ หักง่าย เมล็ดข้าวจะเสีย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร โรคไหม้เป็นโรคที่พบได้เป็นประจำในพื้นที่ที่มีการทำนามากกว่าปีละครั้ง โดยเฉพาะในแหล่งที่มีการปลูกข้าวหนาแน่น อับลม อากาศไม่ถ่ายเท รวมทั้งมีการใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น ประกอบกับมีสภาพอากาศแห้งแล้งตอนกลางวัน อากาศเย็นหรือชื้นจัดในเวลากลางคืน ซึ่งการป้องกันสา
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2560 ดังนี้ ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะนี้ ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลงในระยะนี้ พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 37 เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากภาคใต้ตอนล่าง และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย” ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลอันดามันตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง และพังงา ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ปริมาณฝนที่ตกสะสม น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น และขอให้ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ปริมาณฝนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เริ่มลดลง โดยในภาพรวมของสถานการณ์ฝนในบริเวณภาคใต้จะลดลงในวันที่ 8 มกราคม 2560 สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควร