สภาเกษตร
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาปวดใจของพี่น้องเกษตรกรที่สภาเกษตรกรฯสะท้อนขึ้นมาเพื่อให้ภาครัฐจัดการบริหารและแก้ไขให้ตรงจุดมากที่สุด ซึ่งยืดเยื้อยาวนานและเป็นปัญหามาตลอดชีวิตของเกษตรกรคือที่ดินทำกินไม่มีความมั่นคงในการถือครอง ในพื้นที่ชนบทห่างไกลการบริการของภาครัฐเข้าไม่ถึง ด้วยอ้างเหตุผลว่าขาดงบประมาณ ขาดกำลังพล ผลพวงของนโยบายต่างๆจึงไปไม่ถึงเกษตรกร ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โครงการความช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐมักประกาศว่าที่ดินต้องมีเอกสารสิทธิ์ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ดูถึงข้อเท็จจริงว่าเกษตรกรเจตนาเพียงแค่ประกอบการยังชีพไม่ได้มีเจตนาบุกรุกหรือเข้าไปทำลายทรัพย์สิน และแต่ละรายมีพื้นที่ทำกินประมาณ คนละ 5-20 ไร่ รัฐควรผ่อนปรนและละเว้น การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีกฎหมายหลายฉบับมาก แต่ไม่เป็นเอกภาพและไม่มีกรอบแนวทางในการกำหนดแนวทางการพัฒนา ภารกิจ รวมถึงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำก็ยังคงอยู่และจะลุกลามรุนแรงต่อไปและมากขึ้น เมื่อครั้งการประชุม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่ นายดะกัน อโลนี ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล เข้าพบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 เพื่อหารือแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างประเทศอิสราเอลกับเกษตรกรไทย โดยทางประเทศอิสราเอลจะจัดให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีระบบจัดการน้ำ การจัดการฟาร์ม เพื่อการเกษตรมาประเทศไทยเพื่อพบกับเกษตรกร ผู้แทนองค์กร ผู้นำเกษตรกรของไทย “การเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตรประเทศอิสราเอลนั้นเริ่มมาจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัย ภาคธุรกิจ เกษตรกร รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ความพยายามเหล่านี้ได้นำไปสู่ความสำเร็จที่ก้าวหน้า ด้วยความสำเร็จนี้ประเทศอิสราเอลได้ทำการตลาดทางด้านเทคโนโลยีด้านการเกษตรผ่านการส่งออกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ผลได้ที่รับคือ การเกษตรสมัยใหม่ผ่านกระบวนการคิด ระบบ และผลิตภัณฑ์ จากประเทศเล็กๆ ที่เกือบทั้งประเทศปกคลุมไปด้วยทะเลทราย เขาก้าวข้ามการขาดแคลนน้ำ ที่ดิน สู่ประเทศอุตสาหกรรมการเกษตร จึงเป็นความน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงนำมาสู่การจัดงานแสดงนวัตกรรมการเกษตรอิสราเอล “Israeli Agriculture Roadshow
นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “โครงการนำร่องฝึกแรงงานและลูกเรือประมงไทย” ณ สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ว่า จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการประมงที่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก และนำไปสู่ปัญหาในด้านต่างๆ ตามมาหลายประการ เช่น สหภาพยุโรป (EU) กลุ่มประเทศคู่ค้าสินค้าประมงที่สำคัญของไทย มองว่าประเทศไทยมีการใช้แรงงานที่ไม่เหมาะสม เป็นการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal unreported and Unregulated Fishisg : IUU Fishing) มีการกดขี่ใช้แรงงานและค้ามนุษย์ (Slavery at Sea/Trafficking in Person) ซึ่งส่งผลด้านลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และจะยังคงถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากประเทศคู่ค้าเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าจับตามองต่อไป (Tier 2 watch list) เป็นต้น สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดตั้งเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหารือแนวทางจัดตั้งศูนย์ฝึกแรงงานและลูกเรือประมงไทย ตามคำสั่งสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ 14/2560 ลงวันที่ 31 สิง
นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20 – 30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5 – 10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา, พื้นที่ปลูกน้อย , ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบ ให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ
สภาเกษตรกรแห่งชาติผวา ขอหารือกรมเจ้าท่า หวั่นหลักเกณฑ์รายละเอียดการแก้ปัญหาการรุกล้ำลำน้ำกระทบเกษตรกร ด้านสมาคมการประมงฯจับมือสภาเกษตรกรฯ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดโครงการฝึกแรงงานไทยทดแทนต่างด้าว 50% ใน 5 ปี นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้กรมเจ้าท่าจะไม่ลงโทษและปรับย้อนหลังแก่ผู้รุกล้ำลำน้ำตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 การไม่เก็บค่าธรรมเนียมผู้เลี้ยงปลาในกระชังและการลดค่าเช่ารายปีแก่ผู้รุกล้ำลำน้ำลง แต่รัฐต้องประกาศรายละเอียดให้ชัดเจน เพราะผู้เลี้ยงปลาในกระชังทั่วประเทศมีไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นครัวเรือน ที่เป็นห่วงคือ กลัวภาครัฐกำหนดหลักเกณฑ์ให้เลี้ยงไม่เกิน 4 กระชัง กระชังละกี่ตารางเมตร รวมทั้งชนิดของปลาด้วย ด้าน นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่กังวลในรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนที่จะออกมาในเร็วๆ นี้จากกรมเจ้าท่า คือ แม้ไม่เก็บค่าธรรมเนียมผู้เลี้ยงปลาในกระชังรายปี แต่กังวลว่าการขออนุญาตอาจไปขัดกับผังเมืองจังหวัดกับกฎระเบียบการควบคุมอาคาร แม้อธิบดีกรมเจ้าท่าแจ้งว่า ไม่ต้องให้วิศวกรเขียนแบบ
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติได้มอบให้ทุกสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดดำเนินงานในโครงการเสริมสร้างยุวเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลานของเกษตรกร รวมทั้งเป็นการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การจัดการฟาร์มต้นแบบถ่ายทอดความรู้และสืบทอดอาชีพการเกษตรด้วยใจรักต่อไปในอนาคต และสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ภายใต้โครงการเสริมสร้างยุวเกษตรกรหรือทายาทเกษตรกรรวม 99 โรงเรียนทั่วประเทศ สำหรับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินโครงการร่วมกับโรงเรียนวัดนาพรม(มนมหาวิริยาคาร) ต.นาพันสาม อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี โดยเปิดโครงการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยเป็นการร่วมมือของทุกภาคส่วนในการช่วยกันสร้างเกษตรกรที่มีใจรักด้านการเกษตร มีการบรรจุองค์ความรู้ภาคเกษตรเข้าไปในหลักสูตรของโรงเรียน และนำเกษตรกรต้นแบบมาถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กนักเรียนเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และใจรักด้านการเกษตรแก่ยุวเกษตรกร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและช่วยเหลือบิดา มารดาในการทำการเกษตรต่อ
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เรื่องที่ภาครัฐกำหนดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับวิธีปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP)และเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรนั้น ต้องขอให้ภาคราชการทำด้วยความระมัดระวังและรอบคอบเพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ด้วยช่วงที่ผ่านมาหรือแม้แต่เวลานี้เกษตรกรมีวิกฤตการณ์ด้านพืชผลอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องน่าห่วงมาก และเกษตรกรจำนวนน้อยที่ทำการผลิตทางการเกษตรแบบ GAP และเกษตรอินทรีย์จึงควรมุ่งเน้นไปที่การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีความเข้าใจ ตระหนักและเห็นถึงความจำเป็นและดำเนินการผลิตทางการเกษตรในแบบที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานอย่างกว้างขวางก่อน หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดำเนินการในเรื่องการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เป็นมาตรฐานทั่วไปด้าน GAP และเกษตรอินทรีย์ และต้องยอมรับว่าเกษตรกรไทยนั้นมีความหลากหลายมาก เกษตรกรผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่เชื่อว่ามีขีดความสามารถที่จะรองรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ด้วยกำไรจากการประกอบการทั้งจากการส่งออกและการค้าในประเทศก็ตาม แต่ควรจะผ่อนปรนหรือยกเว้นให้กับเกษต
นายณรงค์รัตน์ ม่วงประเสริฐ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2560 สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำทีมเทคนิคจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) เข้าทำการติดตั้งระบบศูนย์บริหารจัดการน้ำระดับจังหวัด และอบรมการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผู้แทนจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังมีผู้แทนเครือข่ายลุ่มน้ำปราจีนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งการติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำนี้จะทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพยากรณ์อากาศ,สถานการณ์น้ำ,น้ำฝน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตร การเพาะปลูกพืชทุกชนิด การคาดการณ์ว่าน้ำ,ฝนจะมาเมื่อไหร่แล้วแจ้งให้เกษตรกรทราบว่าควรทำหรือเตรียมการอย่างไร เช่น ช่วงฤดูฝนอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมก็สามารถเตือนเกษตรกรได้ ฤดูแล้งก็สามารถแจ้งเตือนภัยแล้งและเตรียมการรับมือล่วงหน้าจากประเด็นคาดการณ์พยากรณ์อุตุนิยมวิท
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติมีหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนจากการทำมาตลอด 2 – 3 ปี จนได้รูปเล่ม ได้แนวความคิด กรอบความคิด และนำเสนอไปถึงนายกรัฐมนตรี และนายกฯได้ส่งต่อส่วนงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตั้งข้อสังเกตุ ซึ่งได้ปรับปรุงเอกสารตามข้อสังเกตุของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีส่งแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม พ.ศ.2560-2564 แล้ว เพื่อนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา หลังจากผ่านครม.ก็จะเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องคุยกับสภาเกษตรกรแห่งชาติเรื่องการทำแผนงานตามแผนแม่บทนั้น เรื่องใดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมรับไปดำเนินการ เช่น เรื่องการตลาด การแปรรูป สภาเกษตรกรแห่งชาติก็พร้อมเข้าไปสนับสนุน เรื่องไหนที่สภาเกษตรกรฯสามารถทำได้ก็อาจเรียกร้องการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานทุกงานตามแผนนั้นสามารถบรรลุเป้าหมาย จากนี้ไปเกษตรกรทั้งประเทศสามารถมีแผนแม่บทของตัวเองซึ่งนับเป็นฉบับ