สมทบทุนเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ มอบเงินบริจาค จำนวน 300,000 บาท จากกิจกรรมการรับบริจาคเงิน เนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 50 ปี เพื่อสมทบทุนเพื่อการศึกษาและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมี ศาตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดีฝ่ายการคลังและการพัสดุ โรงพยาบาลรามาธิบดีและคณะ เป็นผู้รับมอบ ณ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
LATEST NEWS
สาหร่ายพวงองุ่นผักมหัศจรรย์ที่มีพลังช่วยฟื้นฟูร่างกาย กินง่าย ให้สัมผัสกรุบกรอบ เคี้ยวเล่นสนุกทุกคำมีวิตามินกระจายจัดเต็ม “สาหร่ายพวงองุ่น” มีถิ่นกำเนิดจากชายฝั่งทะเลในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นหนึ่งในสาหร่ายที่ทานได้ และได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งเลยสาหร่ายพวงองุ่นเขามีคุณค่าทางอาหารสูง! ซึ่งสาหร่ายพวงองุ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่วนใหญ่มักจะพบตามบริเวณโขดหิน และพื้นทรายใต้ทะเล แน่นอนว่าในปัจจุบันหลังจากสาหร่ายพวงองุ่นกลายเป็นที่นิยม บวกกับมีผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมีการเพาะเลี้ยงและมีการวิจัยต่างๆ เพื่อขายในประเทศไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับวงการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ สาหร่ายพวงองุ่นถูกเพาะขายครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์ ตามมาด้วยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกจัดอันดับเป็นต้นๆ ที่มีผู้บริโภคนิยมทานสาหร่ายพวงองุ่น เห็นชัดได้จากปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเริ่มกระจายไปยังประเทศอื่นๆ อีกเช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศจีน และประเทศไทย ที่มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ซึ่งนิยมบริโภคกันมากในภาคใต้และภาคตะวันออก คนในพื้นที่บาง
อินทผลัม เป็นหนึ่งในผลไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทราย คนไทยเริ่มรู้จักอินทผลัมในรูปของผลไม้อบแห้ง ที่รสชาติหวาน ทานแล้วสดชื่น ยุคก่อนอาจจะหายากสักหน่อย ส่วนใหญ่แล้วโน่นเลยที่หาดใหญ่ สงขลา แต่ต่อมาเริ่มหาซื้อง่ายขึ้น เพราะนิสัยชอบปลูกต้นไม้ของคนไทย เมื่อได้ทานผลไม้รสดี จึงนำเมล็ดเพาะแล้วปลูกลงดิน ต้นอินทผลัมเจริญเติบโตดี แต่ไม่ได้ผลผลิตตามแบบฉบับดั้งเดิม คุณอัจฉราพร ศรีคำ หรือ คุณกิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่วัย 28 ปี ทายาทเจ้าของสวนอินทผลัมธีรพร เพาะเนื้อเยื่อ ตั้งอยู่ที่ 9/3 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เรียนจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ กลับมาสานต่ออาชีพเกษตรจากครอบครัว ต่อยอดพัฒนาจากสวนผักหวานป่า สู่สวนอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อสร้างรายได้ เน้นปลูกสายพันธุ์โคไนซี่ ผลสีแดง ทานได้ทั้งผลสดและผลแห้ง เป็นสายพันธุ์ที่ดูแลไม่ง่าย แต่ให้ผลตอบแทนดี คุณกิ่ง เล่าฟังว่า หลังจากที่ตนเองเรียนจบมหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ ก็กลับมาสานต่องานเกษตรของท
กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรปราการ แนะ 7 แนวทางดูแลรักษา “ กล้วย ” ในช่วงฤดูฝน ดังนี้คือ 1. หมั่นตรวจดูแปลงกล้วยสม่ำเสมอ 2. ระบายน้ำในสวนให้ไหลสะดวก ไม่ท่วมขัง 3. ตัดแต่งใบแห้ง ใบเป็นโรคและหน่อส่วนเกิน 4. ให้น้ำต้นกล้วยเพิ่มเติม ในช่วงฝนทิ้งช่วง 5. เฝ้าระวังโรคและแมลง หากพบให้ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัด 6. กำจัดวัชพืชในแปลงและค้ำยันต้น 7. ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น N-P-K เกษตรกรควรใส่ใจดูแลต้นกล้วยในช่วงหน้าฝนอย่างใกล้ชิดเพราะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคตายพรายในกล้วย สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคตายพรายหรือโรคปานามาหรือโรคเหี่ยว สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเท
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษกิ่งไม้และใบลำไยหลังการตัดแต่ง เป็นการลดต้นทุนที่เห็นผล เกษตรกรสามารถทำได้ คุณดำรงค์ จินะกาศ ประธานลำไยแปลงใหญ่แม่ทา จังหวัดลำพูน และเกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ (ศพก.) การผลิตลำไยคุณภาพ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้แนะนำเทคนิคการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยจากกิ่งและใบลำไย ที่ใช้เงินลงทุนต่ำและประหยัดแรงงาน ไม่ต้องขนย้าย รวมทั้งประหยัดการให้น้ำ ประมาณร้อยละ 50 ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง ประมาณร้อยละ 30 เก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินได้นาน และลดปัญหาหมอกควันจากการเผากิ่งและใบลำไย เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ดี สังเกตได้จากมีไส้เดือนดินเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดินร่วนซุย รากฝอยแตกใหม่มาก สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ดี ทำให้ต้นลำไยสมบูรณ์แข็งแรง ในกรณีที่เกษตรกรจะทำลำไยนอกฤดู การราดสารจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย เมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวลำไย หลังเกษตรกรตัดแต่งกิ่งและจัดทรงพุ่มแล้ว ให้นำกิ่งลำไยที่ได้จากการตัดแต่ง ตัดลิดใบแล้ววางกิ่งเรียง