สมุนไพรใกล้ตัว
อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำที่หล่อเลี้ยงตามชั้นผิวหนังเริ่มลดลง ผิวหนังก็จะแห้งมากขึ้น ตรงกับทฤษฎีธาตุของการแพทย์แผนไทย ที่เมื่อเข้าสู่ปัจฉิมวัยจะมีวาตะเป็นเจ้าเรือน ซึ่งมีความแห้งและเย็น จึงสะท้อนออกทางผิวหนัง น้ำลาย น้ำตา และน้ำหล่อลื่นต่างๆ ความชุ่มชื้นน้อยลง หากไม่ดูแลให้สมดุลก็จะก่อเกิดปัญหาความเสื่อมของผิวพรรณ ทำให้ดูแก่กว่าวัย เกิดผื่น แพ้ง่าย เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย เพราะในผิวที่แห้งนั้น เชื้อโรคจะเข้าสู่ชั้นในของผิวหนังได้ง่าย เกิดการระคายเคือง การแพ้ได้ง่าย เกิดการกำเริบของโรคผิวหนัง ภูมิแพ้ และโรคเรื้อนกวาง เป็นต้น และนอกจากปัจจัยเรื่องของวัยตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ปัจจัยภายนอกอย่าง “อากาศ” ก็มีผลเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะต่ำลง ทำให้น้ำระเหยจากผิว ทำให้ผิวแห้ง และอาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังตามมา ดังนั้น เพื่อป้องกันผิวในหน้าหนาว ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จึงได้แนะนำสมุนไพรที่ช่วยในการดูแลและบำรุงผิวไว้ ดังนี้ ผักเบี้ยใหญ่ เป็นสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น ช่วยลดการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว ทำให้ใบหน้าผุดผ
ในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูกาลของไทย จากฝนสู่หนาว เข้าสู่ร้อน ช่วงระหว่างเปลี่ยนฤดู เรียกกันว่าช่วง “แล้ง” ที่ผ่านมาภาคใต้ประสบสภาวะน้ำมากเกินความจำเป็น เช่นเดียวกับภาคกลาง ที่ได้รับผลจากน้ำเหนือ ทะเลหนุน เกิดผลกระทบความสูญเสีย ภัยพิบัติจากน้ำท่วม สวนทางกับภาคเหนือ อีสาน ที่กำลังเดินเข้าสู่ความแห้งแล้ง กล่าวคือสถานการณ์ในยามนี้ ประเทศไทยมีครบองค์ประกอบ ทุกบรรยากาศ ชื้นฝน เย็นหนาว ร้าวร้อน และไม่ว่าบรรยากาศช่วงไหนๆ ชาวบ้านมักเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นนั่นเป็นนี่อยู่เสมอ โดยเฉพาะไข้หวัดมักเจอกันอยู่ตลอดมา ร้านขายยาในเมือง ลูกค้าเต็ม ในชนบทห่างไกล ได้พึ่งพาพืชผักสมุนไพรมาใช้รักษาบรรเทา พืชผักหลายอย่างที่ชาวบ้านนำมาใช้ เช่น สะระแหน่ หอมแดง กระเทียม และหูเสือ ที่ใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ได้ดีมากๆ “หูเสือ” หรือชื่อสามัญ Indian borage หรือ County borage เป็นพืชในวงศ์ LABIATAE หรือ LAMIACEAE วงศ์ตระกูลเดียวกับ สะระแหน่ มิ้นต์ และ ออริกาโน (Oregano) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plectranthus amboinicus Lour. เป็นพืชล้มลุก ประเภทต้นกึ่งเลื้อย และตั้งพุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านให้รูปทรงดูดีมีศิลปะ สามารถใช้เป็นไม้จัดสวนหย่อม
เป็นเวลากว่า 3 ปี ที่หลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ต้องเผชิญหน้ากับโรคโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 ทำให้มีประชาชนติดเชื้อและเสียชีวิตจากไวรัสตัวดังกล่าวจำนวนมาก โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดได้ระหว่างบุคคล จากการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดเป็นหลัก โดยผ่านละอองเสมหะขนาดเล็กที่เกิดจากการไอ จาม หรือพูดคุยกัน แม้ละอองเสมหะเหล่านี้เกิดเมื่อหายใจออก แต่ปกติจะตกลงสู่พื้นหรือติดค้างบนพื้นผิววัตถุต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อในระยะไกล บุคคลอาจติดเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วนำมาแตะตา จมูก หรือปากของตนเอง แม้ในปัจจุบันจะมีการฉีดวัคซีน ยา ในการป้องกันและยับยั้งโรคไวรัสดังกล่าว แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคกลับไม่ลดลง ทำให้ประชาชนต้องเรียนรู้ปรับตัวให้อยู่รอดกับโรคดังกล่าว มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์ฯ จัดงานเสวนา “ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรพื้นบ้านจากทางเลือก สู่ทางรอด” ณ ห้องประชุมพิทยา จารุพูนผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานเข้าร่วมเสวนา เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมี ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานกรรมการบริ
มีผู้ป่วยท่านหนึ่ง สอบถามไปยังเฟซบุ๊ก “สมุนไพรอภัยภูเบศร” ว่า ป่วยเป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี โรคนี้เป็นคำเรียกกว้างๆ ของกลุ่มโรคผิวหนัง ในทางแพทย์แผนไทย ซึ่งอาจจะแตกต่างกับทางแพทย์แผนปัจจุบันอยู่พอสมควรที่จะไม่มีโรคนี้ในการวินิจฉัย แต่สามารถเข้าใจได้ว่า โรคน้ำเหลืองเสียน้ำ เกี่ยวกับความผิดปกติทางผิวหนัง อาการที่ผู้ป่วยมาปรึกษาคือ มีอาการคันที่ผิวหนัง ผิวหนังแห้ง เมื่อเกามากจนเกิดแผลพุพอง รวมทั้งพอหายแล้วยังมีรอยแผลเป็น โดยสิ่งที่เป็นกังวลของผู้ป่วยท่านนี้คือ รักษาด้วยยามานานหลายเดือนแล้วยังไม่หายขาด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรทำอย่างไร โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เป้าหมายการรักษาคือ การลดอาการคัน ลดอาการอักเสบของผิวหนัง ป้องกันโรคกำเริบ รวมถึงลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การรักษาภูมิแพ้ผิวหนังในปัจจุบันจะเป็นการใช้ยาทาผิวหนังลดการอักเสบและผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้น ในรายที่มีอาการมาก อาจต้องใช้การกินยา ไปจนถึงการใช้เครื่องส่องไฟสำหรับการรักษา การรักษาโรคนี้นั้นควรดูแลแบบองค์รวม ด้วยการให้ความรู้ผู้ป่วยในการดูแลผิวหนังด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง ทั้งเรื่องก
ชื่อสมุนไพร : พริกไทย ชื่ออื่นๆ/ประจำถิ่น : พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย (ภาคเหนือ), พริก (ใต้) ชื่อสามัญ : Peper ชื่อวงศ์ : Piperaceae ถิ่นกำเนิด พริกไทยมีถิ่นกำเนิดในแถบตอนใต้ของเทือกเขาฆาฏตะวันตก รัฐเกรละ ในประเทศอินเดีย และศรีลังกา ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศแถบที่มีอากาศร้อน เช่น บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยนั้นนิยมปลูกกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกัน มีด้วยกัน 6 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่หยิก พันธุ์ควายขวิด และสายพันธุ์คุชชิ่ง อย่างไรก็ตาม พริกไทยก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์แก่มนุษย์อย่างมาก เพราะสามารถเป็นทั้งเครื่องปรุงรสชั้นเลิศที่เป็นที่นิยมทั่วโลกในปัจจุบัน และยังสามารถเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาและบำบัดโรคได้อีกด้วย ประโยชน์และสรรพคุณ ขับลมในลำไส้ขับลมในท้อง แก้ปวดท้อง ช่วยขับไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย ใช้เป็นสมุนไพรลดน้ำหนัก แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมพรรดึก (ก้อนอุจจาระที่แข็งกลม) แก้อติสาร (โรคลงแดง) แก้ลมจุกเสียด แก้แน่น ปวดมวนใน
ในสภาวะวิกฤติโรคระบาด ภัยคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 ไข้เลือดออก หรือแม้แต่ไข้หวัดธรรมดาๆ ที่คนบ้านเราประสบพบเจอมาชั่วนาตาปี เมื่อก่อนการเข้าถึงยารักษาโรค ที่นักการแพทย์คิดค้นขึ้นมา ใช้รักษาคนไข้ให้หายจากโรคภัยหลายๆ อย่าง เข้าถึงยาก เพราะยาหายาก ราคาสูง แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกัน เข้าได้ไม่ทั่วถึง และยาบางตัวก็มีราคาสูงเท่าทองคำ แต่คนเรามันก็ยังเวียนว่ายอยู่ในโลก เกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นนั้น จึงมีการคิดค้น เอาองค์ความรู้สมัยเก่าก่อน ที่เรียกว่า “ภูมิปัญญา” มาใช้ หรือประยุกต์บ้าง โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านยารักษาโรค ที่เรียกกันว่า “สมุนไพร” หลายท่านคงรู้จักพืชชนิดนี้ “กะเพรา” พืชที่เป็นทั้งผัก เป็นทั้งสมุนไพร ที่รู้จักกันมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และกะเพราแดง ทั้ง 2 อย่างเป็นผักมากคุณค่าเหมือนกัน นำมาทำอาหารได้หลายอย่าง แต่กะเพราแดง หายากกว่า ไม่ค่อยมีแพร่หลายเหมือนกะเพราขาว กะเพราแดงมีกลิ่น รส หอมฉุนรุนแรงกว่า นิยมนำมาเป็นยามากกว่านำมาทำอาหาร แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะนำมาทำอาหารไม่ได้ เพียงแต่เป็นผักที่หายากกว่าเท่านั้นเอง ก็มีกระจายไปอยู่ในสวนที่ต่างๆ แต่ไม่ค่อยพบที่ปลูก
คอลัมน์พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ อภัยภูเบศรสาร ระบุว่า กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือ Myofascial pain syndrome (MPS) นั้น เป็นกลุ่มอาการที่พบในผู้ป่วยที่ปวดเรื้อรังมาก โดยจะมีจุดที่กดเจ็บหรือจุดปวด ที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืดในบางรายมีการพัฒนาการปวดร้าวไปบริเวณอื่น สาเหตุ อาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก หรือเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป และใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้นซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัว นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดจากกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ การใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือการที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน เช่น เวลาใส่เฝือก เป็นต้น โดยอาการของการปวดก็จะมีหลากหลาย เช่น ปวดลึกๆ ปวดร้าว ในผู้ป่วยบางรายก็เป็นเฉพาะเวลาใช้กล้ามเนื้อ บางรายก็ปวดตลอดเวลา การรักษาปัจจุบันจะมีทั้งการฉีดยาเฉพาะจุดที่ปวด การรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ การนวดก็สามารถรักษาอาการปวดได้ การทำกายภาพบำบัด การทำ Stretch and spray (การพ่นด้วยความเย็นในจุดที่ปวดแล้วค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อ) นอกเหนือจากยาแก้ปวดหรือวิธีบรรเทาปวดแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาในการรักษาอีกคือปัจจัยเสี่
อาจเป็นเพราะกระแสสุขภาพทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสของ “ต้มยำเห็ดรวม” มาแรง ที่น่าสนใจคือ การใส่น้ำคั้น ใบย่านาง ในต้มยำเห็ด แกงอ่อม แกงเลียง แกงเปรอะ ฯลฯ ช่วยเพิ่มความแซ่บ หอมยิ่งนัก ล่าสุด ในหมวดน้ำสมุนไพร ซึ่งมีตั้งแต่น้ำใบบัวบก น้ำนมข้าวโพด น้ำเบอรี่ น้ำแรดิช เริ่มมี “น้ำใบย่านาง” “ย่านาง” เป็นสมุนไพรเพื่อการรักษาโรคมานาน หมอยาอีสานเรียกว่า “หมื่นปี บ่ เฒ่า” แปลว่าขนาดอายุถึงหมื่นปียังไม่แก่! เพราะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ตามตำราว่า ย่านาง มีฤทธิ์เย็น มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึงจัดเป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคได้สารพัดตั้งแต่ความดันสูง เบาหวาน ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาอาการเกร็งชัก โรคเกาต์ ภูมิแพ้ ว่ากันว่าหากดื่มน้ำคั้นใบย่านางเป็นประจำช่วยลดขนาดก้อนเนื้อร้ายให้ฝ่อและเล็กลงได้ ฯลฯ ใบย่านาง เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมในอาหาร เช่นในแกงหน่อไม้จะช่วยต้านพิษกรดยูริกในหน่อไม้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายไม่ควรดื่มน้ำคั้นใบย่านาง เพราะสารอาหารอย่างวิตามินเอ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่อยู่ในใบย่านาง จะทำให้การทำงานของไตลดลง ที่มา : นสพ.มติชน
จากคอลัมน์พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ ระบุถึงอาการปวดเมื่อยกับสมุนไพรใกล้ตัว ว่า กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือ Myofascial Pain Syndrome (MPS) นั้นเป็นกลุ่มอาการที่พบในผู้ป่วยเรื้อรังมาก โดยจะมีจุดกดเจ็บหรือจุดปวด ที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด ในบางรายมีการพัฒนาการปวดร้าวไปบริเวณอื่น สาเหตุอาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก หรือเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป และใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้นซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อหดตัว นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดจากกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ การใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือการที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานาน เช่น เวลาใส่เฝือก เป็นต้น โดยอาการของการปวดก็จะมีหลากหลาย เช่น ปวดลึกๆ ปวดร้าว ในผู้ป่วยบางรายก็เป็นเฉพาะเวลาใช้กล้ามเนื้อ บางรายก็ปวดตลอดเวลา การรักษาปัจจุบันจะมีทั้งการฉีดยาเฉพาะจุดที่ปวด การรับประทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ การนวดก็สามารถรักษาอาการปวดได้ การทำกายภาพบำบัด การทำ Stretch and spray (การพ่นด้วยความเย็นในจุดที่ปวดแล้วค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อ) นอกเหนือจากยาแก้ปวดหรือวิธีบรรเทาปวดแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาในการรักษาอี