สร้างรายได้
ผักบ้านๆ คู่ครัวไทย แถมยังเติบโตง่ายในสภาพอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ผักแต่ละชนิดต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน เพราะผักบางชนิดชอบแดด บางชนิดชอบน้ำ ทุกครั้งที่ปลูกไม่ว่าชนิดไหนเราจึงควรหมั่นดูแล เอาใจใส่ แล้วพืชที่ปลูกจะได้ผลผลิตที่ดี บ้านใครมีพื้นที่ปลูกพืชผักถือว่ามีทำเลทองอยู่ในบ้าน ได้ผักที่ปลอดสารไว้กินเองดีต่อสุขภาพ แถมยังสามารถต่อยอดด้วยการปลูกผักขายได้อีกด้วย เป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับวันหยุด ชวนครอบครัวมาปลูกผักไว้ทำอาหารกินเองกันดีกว่า มีพืชชนิดไหนที่ปลูกรอบบ้านกันบ้างไปดูกันเลย 🍀สะเดา 🪴วิธีการปลูก เป็นพืชปลูกง่าย ทนแล้ง ยิ่งแล้งยิ่งออกดอกดี การปลูกสามารถปลูกได้หลายวิธี จะปลูกแบบชำต้น พอต้นสมบูรณ์แล้วค่อยเอาลงดิน หรือปลูกแบบเสียบยอดก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ให้ผลรับออกมาเหมือนกัน สะเดาจะผลัดใบช่วงสั้นๆ ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงออกดอก ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายพวงองุ่น สุกประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลสุกมีสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด 🌱การเพาะกล้าจากเมล็ดสะเดา การเก็บเมล็ดสะเดามาเพาะกล้า มีเคล็ดลับว่าเมล็ดสะเดาจะต้องแก่จัด โดยเมล็ดสะเดาจะร่วงช่วงเดือนเ
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 5 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห
“เห็ด” แหล่งโปรตีนจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมบริโภคแต่ครั้งอดีตตราบถึงปัจจุบัน สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่อร่อยถูกปาก อีกทั้งยังมีโปรตีนสูงจึงตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรืออาหารเจ อาชีพเกษตรนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการทำงานประจำ ด้วยสามารถสร้างสุขให้แก่ทั้งตัวเกษตรกรเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในบ้านเกิดของตนเอง ชัญญาณ์ภัช ภักดี (คุณเก๋) เจ้าของ “สวนเห็ดบ้านภักดี” นับเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้างชีวิตบทบาทวิถีแห่งความสำเร็จผ่านการสานต่อธุรกิจฟาร์มเห็ดอินทรีย์ของครอบครัวที่ตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คุณเก๋ เล่าว่า ตนเองจบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวการโรงแรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วได้ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ได้รับผลกระทบต่องานประจำ จึงตัดสินใจกลับมาประกอบธุรกิจส่วนตัวทำฟาร์มเห็ดที่บ้านเกิดในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมทีเป็นสวนลำไยอินทรีย์ โดยมีพ่อและแม่ดูแล ภายหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยก็มีเห
“มะขามป้อม เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรอีกมากมาย เช่น สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย บำรุงโลหิต ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเส้นเลือด รวมถึงเป็นยาระบายอ่อนๆ” คุณชูศักดิ์ หรือที่รู้จักกันในนาม “มะขามป้อมบ้านสวน นครปฐม” เกษตรกรผู้ปลูกมะขามป้อมและเจ้าของสวน ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลถนนขาด อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่มีความต้องการที่จะทำสวนผลไม้ที่ทนโรค และสภาพอากาศที่แปรปรวนในประเทศไทย ก่อนจะหันมาปลูก “มะขามป้อม” พันธุ์ทะวายอินเดีย มีจุดเด่น คือ ผลใหญ่ เนื้อนิ่ม น้ำเยอะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการทำสวนผลไม้ตามที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นธุรกิจในครอบครัวมานานกว่า 8 ปี ในพื้นที่ทั้งหมด 7 ไร่ “ก็ตอนแรกเราก็ทำสวน และหาโจทย์ที่ว่าหาผลไม้ที่ทนโรค ทนสภาพอากาศ มีผลผลิตตลอดปี ก็เลยมาจบที่มะขามป้อม เพราะว่าผลไม้ที่ทนโรค ทนต่อสภาวะอากาศที่แปรปรวน และมีผลผลิตให้เราตลอดปี นี่คือจุดเริ่มต้น ทำมาได้ประมาณ 8 ปีแล้ว เป็นธุรกิจภายในครอบครัว” สำหรับการปลูกมะขามป้อมภายในพื้นที่นั
คุณยุทธศาสตร์ พุทธบาล หรือ อาจารย์โอ้ วัย 38 ปี อาจารย์ประจำแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอุดรธานี และเจ้าของฟาร์ม “ร้านน้องแฮมเตอร์” ที่ใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำ ต่อยอดทดลองเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์ ก่อนจะเล็งเห็นช่องทางการสร้างรายได้จากการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์ขายผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถสร้างรายได้เสริม เพิ่มเติมจากการทำงานประจำ จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์เป็นช่วงที่คุณยุทธศาสตร์ว่างงานและมองหาช่องทางการทำธุรกิจส่วนตัว ก่อนจะเล็งเห็นช่องทางการสร้างรายได้จากการเพาะพันธุ์หนูแฮมสเตอร์ขายผ่านทางออนไลน์ด้วยการซื้อพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ตามร้านทั่วไปมาทดลองเลี้ยงก่อน อีกทั้งในเรื่องของการแข่งขันทางธุรกิจการเพาะพันธุ์นั้น ยังมีคู่แข่งในจำนวนที่ไม่มาก จึงค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาศึกษาหาข้อมูลในการเลี้ยงหนูแฮมสเตอร์อย่างจริงจัง รวมถึงคุณยุทธศาสตร์มีความชื่นชอบหนูแฮมสเตอร์อยู่แล้ว เพราะด้วยลักษณะนิสัยที่น่ารักและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นหลายประการ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันทางฟาร์มของคุณยุทธศาสตร์มีแม่พันธุ์อยู่จำนวน 20 ตัว พันธุ์ที่เลี้ยงใ
อาหารสัตว์น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเลี้ยง ถ้าสัตว์น้ำมีอาหารกินอย่างเพียงพอและมีคุณภาพดี ก็จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีสุขภาพดี แข็งแรง พร้อมให้ลูกได้มากมาย อันเป็นเป้าหมายต่อการทำธุรกิจของผู้เพาะเลี้ยง ดังนั้น ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของอาหาร จากจุดเริ่มต้นที่เลี้ยงปลาสวยงามขาย นำไปสู่การขายอาหารปลาควบคู่จนประสบความสำเร็จมีลูกค้ามากมาย กลายเป็นธุรกิจขายส่งอาหารสัตว์น้ำครบวงจรชื่อ “พงษ์จิวานิชฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 29/13 หมู่ที่ 11 ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 10 ปี คุณนุ้ย เจ้าของฟาร์มเล่าว่า แต่เดิมตัวเธอกับแฟนเลี้ยงปลาสวยงามขายเป็นรายได้เสริมเนื่องจากชื่นชอบ ส่วนอาหารปลาใช้วิธีซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือ ทำมาหลายปีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่คิดว่าไม่สามารถรับภาระค่าอาหารต่อไปได้ จึงหันมาผลิตไรทะเลเองพร้อมกับส่งขายให้ลูกค้าได้รับความสนใจ จึงขยายวงจรด้วยการนำอาหารสัตว์น้ำชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นไรแดง ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง กุ้งฝอย กุ้งขาว และเนื้อปลาแช่แข็ง เป็นต้น มาขายส่ง นำไปสู่ธุรกิจขายอาห
นายเพชร น้อยรุ่ง อายุ 43 ปี ชาวบ้าน ต.หอกลอง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นเจ้าของซุ้มไม้ไผ่ เปิดเผยว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ตนและครอบครัวประกอบอาชีพทำนาอยู่ที่ หอกลอง เนื้อที่กว่า 50 ไร่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังขาดทุน เพราะในช่วงนั้นราคาข้าวตกต่ำมาก จึงอยากหารายได้เสริมด้วยการสร้างงานจากไม้ไผ่ ออกมาเป็นซุ้มนั่งเล่น แคร่ไม้ไผ่ คอกเด็ก และสินค้าประเภทอื่นๆ หากมีออเดอร์ “จากนั้นได้ย้ายมาเช่าบ้านอยู่ริมถนนพิษณุโลก-พรหมพิราม เพื่อนำซุ้มเหล่านั้นมาวางขาย ปรากฏว่า ขายดี คนที่สัญจรผ่านไปมาจะแวะถามแวะอุดหนุนตลอด รวมถึงมีออเดอร์สั่งทำด้วยผมจึงเริ่มจ้างญาติพี่น้อง 6 คนมาช่วยกันทำ แต่ผมและครอบครัวไม่ได้มีความรู้ด้านนี้มาแต่ก่อน ไม่เคยได้เรียน หรืออบรมอะไร อาศัยจดจำไปเห็นจากที่อื่นและลองศึกษาดู ได้กลับมาลองทำออกแบบขึ้นใหม่” นายเพชร เล่าต่อว่า ช่วงนี้เริ่มประสบปัญหาเรื่องหาไม้ไผ่มาทำ ในพื้นที่ตอนนี้ไม้ไผ่ที่ใช้จำพวก ไผ่ตรง ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง ขาดแคลน ต้องตระเวนหาซื้อตามต่างจังหวัด จากสุโขทัย อุตรดิตถ์ และแพร่ บางครั้งหาซื้อไม่ได้ต้องไปซื้อถึงเชียงใหม่ ทำให้มีต้นสูงตามไปด้วย ส่วนราคาขายก็ไม่แพงเกินไป เป
ริมชายแดนจังหวัดระนอง บริเวณอำเภอกระบุรี ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำกระบุรี ตรงข้ามกับจังหวัดเกาะสอง ประเทศเมียนมา เป็นพื้นที่ที่มีน้ำทะเลหนุนเข้าถึง สภาพของดินเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นจาก ทั้งต้นจากที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเกิดจากการปลูกของเจ้าของพื้นที่ ชาวบ้านบริเวณนี้ได้อาศัยต้นจากในการหารายได้ให้กับครอบครัวมานานนับร้อยปี “จรินทร์ กรมโยธา” หรือ ลุงดำ ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านบางหมีล่าง ตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ในวัย 63 ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนพื้นที่หลังบ้านเป็นนาข้าว แต่ปลูกข้าวไม่ค่อยได้ดีนัก เนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนเข้าถึง จึงปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกต้นจาก มีรายได้จากการทำน้ำตาลจาก ตัดยอดจากมาทำใบยาสูบ ทำลูกจากเชื่อม รวมถึงเย็บตับจากหรือหลังคาจาก โดยทำมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อ มาถึงตนเอง ขณะนี้มาถึงรุ่นลูกและหลานก็ยังคงทำอยู่ “แต่ปัจจุบันมีแต่ตัดยอดจากทำใบยาสูบ และน้ำตาลจาก ส่วนลูกจากและตับจากมีคนทำกันน้อยลง โดยในสมัยตนนั้นทำน้ำตาลจากส่งขายเป็นโอ่ง โอ่งละ 25 บาท ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยนี้ก็ประมาณ 2 ปี๊บ ซึ่งที่ผ่านมามีคนทำน้ำตาลจากลดน้อยลง เพราะหันไปทำยางพารากันมากขึ้น อีกทั้งการทำ
จากปัญหาราคาผลผลิตข้าวตกต่ำส่งผลกระทบกับชาวนาทั่วประเทศ ต้องดิ้นรนหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพและครอบครัว โดยเฉพาะชาวนาตัวอย่างจาก จังหวัดกาฬสินธุ์ และ จังหวัดนครราชสีมา พลิกวิกฤตเป็นโอกาสเปลี่ยนจากทำนาหันมาสร้างฟาร์มเพาะพันธุ์หนูนาขาย ลงทุนน้อย แต่ให้ผลคุ้มค่า มีลูกค้าจากทั่วภาคอีสานสั่งซื้อตลอดปี ด้วยหนูนายังเป็นเมนูฮิตติดตลาดที่นิยมรับประทาน ปรากฏว่าสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี รายแรก ชาญชัย ภูทองกลม ชาวนาบ้านเหล่า ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า เดิมประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ รายได้ไม่คุ้มทุน จึงลดพื้นที่ทำนามาสร้างโรงเรือนเลี้ยงหนูนาและปลูกผักสวนครัวเป็นอาหารเสริมให้หนูนา เนื่องจากหนูนาเป็นอาหารยอดนิยมของชาวอีสาน มักนำมาประกอบอาหารในฤดูหนาว เนื่องจากมีเนื้อนุ่ม เหนียว ติดมัน ทำอาหารได้หลายเมนู บางคนเชื่อว่าการเปิบหนูนาในฤดูหนาวช่วยให้ร่างกายอบอุ่น“เมื่อเนื้อหนูนาเป็นที่นิยมบริโภค ทำให้หนูนาตามธรรมชาติหายากมากขึ้น จึงทดลองเลี้ยงหนูนาจำหน่าย โดยใช้ภูมิปัญญาใช้กับดักหาจับเองบ้าง รับซื้อจากชาวบ้านบ้าง ตัวให