สร้างรายได้เสริม
“ยางพารา” หนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสงขลา ในอดีต ยางพาราขายได้ราคาดี เกษตรกรหันมาปลูกยางพารากันแทบทุกอำเภอ แต่ภาวะราคายางพาราตกต่ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว ส่งผลกระทบต่ออาชีพและรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางจำนวนมาก เกษตรกรหลายรายตัดสินใจตัดโค่นต้นยางทิ้ง เพื่อปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะที่เกษตรกรหลายรายมุ่งมั่นที่จะรักษาอาชีพการทำสวนยางพาราต่อไป พร้อมกับมองหาอาชีพใหม่ๆ เพื่อเป็นรายได้เสริมเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพเสริมของชาวสวนยาง อำเภอบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ นับเป็นแผ่นดินทองทางการเกษตรที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 39 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกล่ำ ตำบลท่าช้าง ตำบลแม่ทอม และตำบลบ้านหาร ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นแห่งนี้มีรายได้หลักจากการทำสวนยาง ปลูกพืชร่วมสวนยาง และทำเกษตรผสมผสานเป็นรายได้เสริม เช่น ตำบลบางกล่ำ ปลูกละมุด ขณะที่ชาวบ้านในตำบลแม่ทอม ปลูกส้มโอเป็นจำนวนมาก ส่วนตำบลท่าช้าง ชาวบ้านนิยมทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ (แบบประยุกต์) ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้า
หลังจากเผชิญปัญหาราคาข้าว และสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อวิถีเกษตรกรรม ทำให้ชาวบ้านตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก หันมาประกอบอาชีพเสริมหลังหมดฤดูกาลทำนา โดยรวมกลุ่มกันเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในโรงเรือนเพื่อสร้างรายได้ โดยมี “สุชีพ หอมจันทร์” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลท้ายทุ่ง เป็นประธานกลุ่ม สุชีพ หอมจันทร์ เล่าว่า ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา แต่ที่ผ่านมาพบว่า บางครั้งราคาข้าวไม่ดีนัก ทำ ให้มีแนวคิดว่าควรหาอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้หลังเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงร่วมกลุ่มชาวบ้านที่สนใจ ทดลองเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในโรงเรือน โดยมีเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัดพิจิตรให้การสนับสนุน ปรากฏว่า ทดลองครั้งแรกประสบความสำเร็จ ชาวบ้านได้ผลผลิตเห็ดสดไปบริโภค ทั้งยังนำไปขายสร้างรายได้เสริม “ขั้นตอนการปลูกเห็ดฟาง เริ่มจากการสร้างโรงเรือนขนาด 4 x 8 เมตร 2 โรง โดยใช้ทะลายปาล์มเป็นวัสดุในการเพาะเห็ด ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของทะลายปาล์มเมื่อนำมาเพาะเห็ดฟางจะทำให้เห็ดมีดอกใหญ่ กรอบ รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด และมีผลผลิตสูงกว่าการใ