สละ
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ โดยวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต นำไปสู่การจัดการสินค้าเกษตรสู่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรได้อย่างมั่นคงในอนาคต ตามแผนปฏิรูปการเกษตร สำหรับอำเภอป่าบอน ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรปลูกสละมากที่สุดของจังหวัดพัทลุง แต่ที่ผ่านมา เกษตรกรต่างคนต่างทำ จึงมักประสบปัญหาทั้งด้านการผลิตและการตลาด กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้เข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสละ ตั้งแต่ปี 2557 โดยผ่านศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลิตสละ และต่อมาในปี 2563 ได้ผลักดันให้จัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่สละตำบลทุ่งนารีขึ้น มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานร
กรมวิชาการเกษตร วิจัยพัฒนาเครื่องขัดหนามผลสละสำหรับการส่งออก เผยระบบทำงานอัตโนมัติ ประสิทธิภาพกำจัดหนาม 900 กิโลกรัม/ชั่วโมง เนื้อสละไม่ช้ำ เก็บได้นานเกิน 3 วัน ลดทั้งต้นทุนและระยะเวลาทำงาน โชว์ต้นทุน 82 บาท/กิโลกรัม เทียบกับแรงงาน 90 บาท/กิโลกรัม ชี้ผลิตสละไร้หนามเข้าทางตลาดต่างประเทศ แถมหนุนอุตสาหกรรมกลุ่มแปรรูปสละลอยแก้ว นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า สละ เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ในเกือบทุกพื้นที่ ปลูกมากในเขตภาคตะวันออก การส่งออกตลาดต่างประเทศจะเป็นลักษณะผลเดี่ยว โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ พม่า รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมัลดีฟส์ ในปี 2562 มีปริมาณการส่งออกผลสละเฉพาะที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชปริมาณ 395,903 กิโลกรัม มูลค่าการส่งออก จำนวน 8,110,150 บาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสละเป็นผลไม้มีหนามที่เปลือก ทำให้ได้รับเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคส่วนใหญ่คือหนามที่เปลือกเป็นอุปสรรคต่อการรับประทาน ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถรับประทานผลสละได้ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลไม้ชนิดนี้ ศูนย์
ตัวอย่างอาชีพเกษตรกรรมที่ทำได้ง่าย เพียงแค่มีที่หลังบ้าน โดยการปลูกสะละและเพาะพันธุ์กล้าขาย สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อปี แม้จะอายุมากก็ทำได้ เกษตรกรรายนี้ชื่อ คุณสุนทร เนตรโสภา อายุ 64 ปี ชาวบ้านฮ่องสิม ต.หลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนคร ซึ่งทุกวันจะมีกิจวัตรประจำวัน โดยการหมั่นดูแล กำจัดวัชพืชและให้น้ำ สะละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซีย ที่ปลูกไว้หลังบ้าน เพื่อเร่งผลผลิตให้ทันส่งขาย คุณสุนทร เล่าว่า เดิมพื้นที่ 14 ไร่ หลังบ้าน ปลูกมะขามหวานมานานถึง 13 ปี แต่เพราะสภาพอากาศร้อนชื้นไม่เอื้ออำนวย ทำให้มะขามหวานมีผลผลิตน้อย ขาดทุนเป็นหนี้สิน ต่อมาลูกสาวทำงานที่ภาคใต้ เห็นเพื่อนบ้านนิยมปลูกสะละในพื้นที่ไม่กี่ไร่ กลับมีรายได้ดี จึงโค่นต้นมะขามทิ้งนำสะละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซียมาให้ปลูกทดแทน ใช้เวลาดูแลเพียง 3 ปี สะละทั้ง 2 สายพันธุ์ เริ่มให้ผลผลิต ออกลูกดก จากนั้นจึงหันมาดูแลปลูกสะละขายอย่างจริงจัง สะละเก็บผลผลิตได้ตลอดปี ปลูก 14 ไร่ หรือ กว่า 2 พันต้น เก็บขายได้เฉลี่ยวันละ 100-200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 80-100 บาท ยอมรับว่าแรกเริ่มที่ปลูกสะละชาวบ้านต่างหัวเราะเยาะ ปลูกสะละในอีสานจะไ
เป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว พุ่มเล็ก แต่มีข้อจำกัดมาก ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระยะเวลาในการบานของดอกตัวเมียสั้น ถ้าไม่หมั่นสังเกตจะเสียโอกาสในการผสม ผลใหญ่ เปลือกบาง เนื้อหนา หอมหวาน เนื้อกรอบล่อน ผลผลิตต่อต้นต่อปี ประมาณ 10-15 กิโลกรัม การดูแลรักษา เหมือนไม้ผลทั่วไป ใส่ปุ๋ย พรวนดิน ตัดทาง แต่ที่มียาก คือ การผสมเกสร ให้นำดอกเกสรตัวผู้มาเคาะผสมใส่ดอกเกสรตัวเมียในระยะดอกบาน หลังกจากติดผล ประมาณ 7-8 เดือน จึงเก็บผลผลิตได้
วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ปั้นนาโนซิงค์ออกไซด์แก้ปัญหาโรคไม้ผล เปิดต้นแบบหมู่บ้านฟิสิกส์นาโนพัฒนาปลูกสละ จ.จันทบุรี ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่ยั่งยืน วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เปิดโครงการ “หมู่บ้านฟิสิกส์นาโนเพื่อการพัฒนาปลูกสละ” ในตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นำองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้วัสดุนาโนมาช่วยแก้ไขปัญหาเชื้อราและแบคทีเรียในกระบวนการปลูกสละ ผลไม้เศรษฐกิจของจันทบุรี เพื่อเป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร และมุ่งหวังให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการขยายผลความรู้การแก้ปัญหาให้เกษตรกรในวงกว้างเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและส่งเสริมเศรษฐกิจประเทศ ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า “สจล. จัดตั้งวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังขึ้นเพื่อนำเอานวัตกรรมนาโนมาแก้ไขปัญหาภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้ง อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลังงานทดแทน และสิ่งแวดล้อม พร้อมการออกแบบผลิตภั
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบตัวอย่างอาชีพเกษตรกรที่ทำได้ง่ายเพียงแค่มีที่หลังบ้าน โดยการปลูกสละและเพาะพันธุ์กล้าขาย สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อปี แม้จะอายุมากก็ทำได้ เกษตรกรรายนี้ชื่อ สุนทร เนตรโสภา อายุ 64 ปี ชาวบ้านฮ่องสิม ต.หลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนคร ซึ่งทุกวันจะมีกิจวัตรประจำวัน โดยการหมั่นดูแล กำจัดวัชพืชและให้น้ำ สละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซีย ที่ปลูกไว้หลังบ้าน เพื่อเร่งผลผลิตให้ทันส่งขาย สุนทรเล่าว่า เดิมพื้นที่ 14 ไร่หลังบ้าน ปลูกมะขามหวานมานานถึง 13 ปี แต่เพราะสภาพอากาศร้อนชื้นไม่เอื้ออำนวย ทำให้มะขามหวานผลผลิตน้อย ขาดทุนเป็นหนี้สิน ต่อมาลูกสาวทำงานที่ภาคใต้ เห็นเพื่อนบ้านนิยมปลูกสละในพื้นที่ไม่กี่ไร่ กลับมีรายได้ดี จึงโค่นต้นมะขามทิ้งนำสละอินโดสายน้ำผึ้ง และสายพันธุ์มาเลเซียมาให้ปลูก ทดแทนใช้เวลาดูแลเพียง 3 ปี สละทั้ง 2 สายพันธุ์เริ่มให้ผลผลิต ออกลูกดก จากนั้นจึงหันมาดูแลปลูกสละขายอย่างจริงจัง สละเก็บผลผลิตได้ตลอดปี ปลูก 14 ไร่ หรือ กว่า 2 พันต้น เก็บขายได้เฉลี่ยวันละ 100-200 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 80-100 บาท ยอมรับว่าแรกเริ่มที่ปลูกสละชาวบ้านต่างหัวเราะเยาะ ปลูกสละในอีสานจะไ
สะละอินโดฯ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย เกษตรกรไทยได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว โดยเริ่มในจังหวัดทางภาคใต้ก่อน เนื่องจากมีอากาศชื้นและฝนชุกคล้ายภูมิประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ขยายพื้นที่การปลูกไปหลายจังหวัด เช่น จังหวัดในภาคตะวันออก และจังหวัดภาคกลางบางจังหวัด มีโอกาสได้ชิมรสชาติสะละอินโดฯ ครั้งแรกเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว รู้สึกประทับใจในความล่อนของเนื้อและความกรอบ ในสมัยนั้นสะละพันธุ์ดีๆ ของไทย เช่น สุมาลี เนินวง ยังไม่มีแพร่หลาย มีแต่ระกำหวาน ซึ่งคุณภาพยังเทียบกับสะละในปัจจุบันไม่ได้ แต่รสชาติหวานอมเปรี้ยวของสะละบ้านเราก็ยังเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากสะละอินโดฯ มีราคาแพงกว่าสะละบ้านเรา เกษตรกรชาวสวนยางในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา คุณดอเลาะ สะตือบา อยู่ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 8 ตำบลบาโร๊ะ ได้ปลูกสะละอินโดฯ แซมในสวนยาง ซึ่งมีพื้นที่ 3 ไร่ เป็นจำนวน 400 ต้น ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 4 ไร่ ได้ขุดบ่อปลา เลี้ยงไก่ และทำการเกษตรผสมผสานอย่างอื่น โดยการปลูกยางพาราจะใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร และระยะห่างระหว่างแถว 3 เมตร ในช่วงว่างระหว่างต้น 8 เมตรนั้น คุณดอ