สวนกุหลาบ
สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of small scale farmers” กับผม ดร.ธนากร เที่ยงน้อย เคยได้ยินไหมครับกับคำพูดที่ว่า ทำการเกษตรมันรวยยาก ผมเองก็เคยได้ยินประโยคนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่จนแล้วจนรอดผมก็ต้องเข้ามาอยู่ในวังวนแวดวงของคนในอาชีพเกษตรจนได้ ก็เป็นจริงอย่างที่เขาว่าเลยครับผมทำด้านเกษตรมาก็หลายอย่างยังไม่รวยสักที แต่มีคนที่ทำได้ รวยได้จากอาชีพเกษตร เขามีวิธีอย่างไร ทำอะไรจึงหนีความจนในอาชีพเกษตรได้ ตามผมมาที่ลาดยาว นครสวรรค์ครับ เริ่มจากพ่อค้าคนกลางส่งผลไม้ พาท่านมาที่บ้านของ คุณอดุลย์ และ คุณเสรี กลิ่นสังข์ คู่สามี ภรรยา เจ้าของไร่แนนแนน ที่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 7 ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ คุณอดุลย์ เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ 6 ปีที่แล้วผมค้าผลไม้เป็นพ่อค้าคนกลางส่งผลไม้ตามตลาดใหญ่ในกรุงเทพฯ และทำสวนมะม่วงของตัวเองในพื้นที่ 14 ไร่ ในช่วงนั้นเป็นช่วงพอดีที่มะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้นทะลักเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ผมโดนแก้วขมิ้นเข้ามาตีตลาดจึงทำให้ธุรกิจสวนมะม่วงของผมไปไม่รอด ผมมองดูแล้วว่าผลไม้มีผลเป็นฤดูกาลทำให้เราทำตลาดได้
ระยะนี้อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้าอาจส่งผลกระทบต่อการปลูกกุหลาบ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบ โดยจะพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช บนใบอ่อน หรือดอกตูม เริ่มแรกจะพบแสดงอาการบนผิวใบเกิดรอยแผลจุดสีชมพูเข้ม ต่อมาจะพบเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ หากรุนแรง จะพบผงสีขาวบนก้านใบ กิ่ง ดอก ก้านดอก ใบอ่อน กลีบเลี้ยง กลีบดอก และลำต้น หรือพบผงสีขาวทั่วทั้งต้น ทำให้ใบและดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งกรอบ และร่วงในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืช ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไพราโซฟอส 29.4% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน หลีกเลี่ยง การพ่นสารกลุ่มซัลเฟอร์ เพราะอาจทำให
สวนกุหลาบในฝัน เป็นความทรงจำในวัยเยาว์ ช่วงนั้นฉันได้อ่านนิตยสาร อสท.นำเสนอเรื่องสวนกุหลาบ นับจากวันนั้นฉันก็ฝันที่จะมีสวนกุหลาบ และได้ปลูกกุหลาบต้นแรกเมื่อครั้งเรียนประถมปลาย เป็นกุหลาบหนูสีชมพู เป็นกุหลาบที่แข็งแรงมาก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มใหญ่ให้ดอกหอมอ่อนๆ ทั้งปี แล้ววันหนึ่งมีการขยายถนน พี่ชายยอมให้เขาขยายถนนเข้ามา และต้นกุหลาบก็ถูกตัดทิ้งในวันที่ฉันไม่อยู่บ้าน นับจากวันนั้นฉันก็ไม่มีกุหลาบหนู และดูเหมือนกุหลาบกี่ต้นก็ชดเชยไม่ได้ ทุกวันนี้ฉันก็ยังคิดถึงกุหลาบหนูต้นนั้นอยู่แม้ว่าจะผ่านมาสามสิบปีแล้ว แล้วความฝันเรื่องสวนกุหลาบก็กลับมา คล้ายยักษ์ที่ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาจากการหลับไหล ที่สวนเหยิมเหยิม กุหลาบเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของสวนเหยิมเหยิม เช่นเดียวกับ หน่อไม้ กล้วย และทุ่งนาข้าว เมื่อมาอยู่ที่นี่ มีสวนกุหลาบอยู่แล้ว ทุกเช้าฉันจะตัดกุหลาบมาปักแจกัน และอาหารของครัวเหยิมเหยิมก็มีอาหารจานกุหลาบ เช่น ไข่ม้วนกุหลาบ ไข่คอนโดกุหลาบ หรือยำกุหลาบ และน้ำกุหลาบ ชากุหลาบ อีกทั้งสวนกุหลาบเป็นสวนแห่งความรักความหลัง เมื่อครั้งมาอยู่ทุ่งเสี้ยวใหม่ๆ คนรักของฉันบอกว่า สันป่าตองก็มีสวนกุหลาบด้วย แรกฟังก็เฉ