สวนมะม่วง
ช่วงนี้เข้าสู่การผลิตฤดูกาลใหม่ เกษตรกรหลายๆ รายอาจจะพลาดในการผลิตมะม่วงออกสู่ตลาด ซึ่งอาจจะด้วยหลายๆ ปัจจัย ซึ่งก่อนจะเข้าสู่การผลิตฤดูกาลใหม่ จึงนำประสบการณ์จริงของเกษตรกรชาวสวนมะม่วง จังหวัดพิจิตร ที่สามารถทำให้มะม่วงออกดอกติดผลดกทุกๆ ปี แม้จะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ตาม โดยเคล็ดลับและวิธีการดังกล่าวอาจจะนำไปใช้เป็นแนวทางให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกมะม่วงของแต่ละสวนนำไปปรับใช้ การออกดอกของมะม่วง ที่พบส่วนมากในสวนของเกษตรกร มีการออกดอกใน 3 รูปแบบ คือ 1. ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น 2. ออกดอกครั้งละครึ่งต้น 3. ทยอยออกดอกหลายรุ่น การดูแลช่อดอกนั้นจะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกดอก ต้นมะม่วงที่มีออกดอกพร้อมกันทั้งต้นจะดูแลง่ายกว่ามะม่วงที่ทยอยออกดอก เพราะมีช่วงระยะเวลาในการดูแลดอกสั้น ถ้าต้นที่ทยอยออกดอกจะต้องดูแลนาน กว่าจะติดผลหมดทุกรุ่น ดังนั้น เกษตรกรมืออาชีพส่วนใหญ่ จะนิยมทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน เพื่อความสะดวกในการจัดการและประหยัดต้นทุน การทำให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน ถ้าถามว่า “จะทำอย่างไรให้มะม่วงออกดอกพร้อมกัน?” เกษตรกรมืออาชีพ หรือที่เรียกกันว่า “เซียน” จะตอบเหมือนกันว่า “ต้องดูแลมะม่วงตั้
การปลูกมะม่วงแบบประสบการณ์จริง เป็นการรวบรวมเอาเทคนิคและวิธีการจากชาวสวนมะม่วงที่ประสบความสำเร็จ นำมาเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านง่าย และนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติได้จริง มะม่วง เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ แต่หากจะปลูกมะม่วงในเชิงพาณิชย์และเพื่อการส่งออกจะต้องเลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างดอน น้ำไม่ท่วมขัง กรณีพื้นที่เป็นที่ลุ่มจะต้องยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เพราะนิสัยของมะม่วงแม้จะทนต่อสภาพน้ำท่วมขังแต่หากน้ำท่วมนานๆ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต อีกประการที่สำคัญคือแปลงมะม่วงที่มีน้ำท่วมขังมักเกิดปัญหาโรคเข้าทำลายได้ง่ายกว่าแปลงปลูกที่มีการระบายน้ำดี การเตรียมพื้นที่ปลูก “พื้นที่ดอน” การปลูกมะม่วงในพื้นที่ดอนจะต้องปรับพื้นที่ให้ค่อนข้างเรียบเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เก็บเศษไม้และก้อนหินออกให้หมด จากนั้นให้ไถดินตากไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ การวัดระยะปลูก ก่อนอื่นจะต้องดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก นักวิชาการหลายท่านต่างแนะนำให้วัดระยะแถวในแนวเหนือ-ใต้ หรือปลูกมะม่วงแบบขวางตะวันเพื่อให้ต้นมะม่วงได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึงทุกต้น แต่บางครั้งสภาพพื้นที่ของเราไม
สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of small scale farmers” กับผม ดร.ธนากร เที่ยงน้อย เคยได้ยินไหมครับกับคำพูดที่ว่า ทำการเกษตรมันรวยยาก ผมเองก็เคยได้ยินประโยคนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่จนแล้วจนรอดผมก็ต้องเข้ามาอยู่ในวังวนแวดวงของคนในอาชีพเกษตรจนได้ ก็เป็นจริงอย่างที่เขาว่าเลยครับผมทำด้านเกษตรมาก็หลายอย่างยังไม่รวยสักที แต่มีคนที่ทำได้ รวยได้จากอาชีพเกษตร เขามีวิธีอย่างไร ทำอะไรจึงหนีความจนในอาชีพเกษตรได้ ตามผมมาที่ลาดยาว นครสวรรค์ครับ เริ่มจากพ่อค้าคนกลางส่งผลไม้ พาท่านมาที่บ้านของ คุณอดุลย์ และ คุณเสรี กลิ่นสังข์ คู่สามี ภรรยา เจ้าของไร่แนนแนน ที่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 7 ตำบลเนินขี้เหล็ก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ คุณอดุลย์ เล่าให้ฟังว่า “เมื่อ 6 ปีที่แล้วผมค้าผลไม้เป็นพ่อค้าคนกลางส่งผลไม้ตามตลาดใหญ่ในกรุงเทพฯ และทำสวนมะม่วงของตัวเองในพื้นที่ 14 ไร่ ในช่วงนั้นเป็นช่วงพอดีที่มะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้นทะลักเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ผมโดนแก้วขมิ้นเข้ามาตีตลาดจึงทำให้ธุรกิจสวนมะม่วงของผมไปไม่รอด ผมมองดูแล้วว่าผลไม้มีผลเป็นฤดูกาลทำให้เราทำตลาดได้
ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างต่อเนื่อง ในปี 2563-2564 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทย รวมทั้งตลาดสินค้าเกษตรของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกษตรกรทั่วประเทศต้องปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน ในรูปแบบ New Normal ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งในวันนี้และในอนาคต “มะม่วง” หนึ่งในไม้ผลส่งออกสำคัญของประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เช่นเดียวกัน คุณสายันต์ บุญยิ่ง นายกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย (โทร. 081-887-1964) กล่าวว่า ชาวสวนมะม่วงยังรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ เพราะเครือข่ายชาวสวนมะม่วงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการผลิต-ตลาด สามารถบริหารจัดผลผลิตให้เข้าสู่ตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสมได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม หากชาวสวนมะม่วงได้รับการสนับสนุนด้านระบบโลจิสติกส์และสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากหน่วยงานภาครัฐ ก็เชื่อว่ามะม่วงไทยยังสามารถเติบโตในเวทีตลาดโลกได้อย่างสบาย ภาพรวมมะม่วงไทย ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงโดยรวมประมาณ 2 ล้านไร่ โดยพื้นที่รอยต่อจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร และนครสวรรค์ คือแหล่งปลูกมะม่วงผืนใหญ่
ระยะนี้เข้าสู่ช่วงที่ต้นมะม่วงพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังช่วงที่อากาศร้อน และมีฝนตกเล็กน้อย บางพื้นที่ ให้สังเกตการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ มักพบแมลงวันผลไม้เพศเมียใช้อวัยวะแทงเข้าไปวางไข่ในผลมะม่วง พบรอยช้ำใต้ผิวเปลือก ตัวหนอนจะฟักจากไข่และอาศัยชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะเจาะรูออกมาจากผลมะม่วงเพื่อเข้าดักแด้ในดิน และกลายเป็นแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัย ส่วนผลที่หนอนเจาะเป็นรูจะมีน้ำไหลเยิ้ม ผลเละ เน่าเสีย และร่วงหล่น ผลที่ถูกทำลายมักมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ เกษตรกรควรหมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเก็บผลที่เน่าเสียออกจากแปลงและนำไปฝังกลบให้หน้าดินหนา อย่างน้อย 15 เซนติเมตร จากนั้น ให้ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลหรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้ประมาณ 60 วัน และใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทิลยูจินอลผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4 :1 นำไปแขวนไว้ในทรงพุ่มที่ระดับความสูง 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกษตรกรหมั่นสังเกตปริมาณแมลงวั
ในระยะนี้เป็นช่วงที่มะม่วงเริ่มออกดอก กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่น ซึ่งระยะที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือระยะที่มะม่วงกำลังออกดอก โดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อย หรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบๆ ทรงพุ่ม ทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของมะม่วงได้ กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วง โดยช่วงที่มะม่วงกำลังออกดอก ให้หมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบแมลงขนาดเล็กคล้ายจักจั่น กระโดดไป-มา เวลาเดินเข้าใกล้ต้นมะม่วง หรือพบน้ำเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานติดตามใบ ช่อดอก ผล และมีราดำขึ้นปกคลุม สามารถจัดการเบื้องต้น โดยในระยะที่ดอกมะม่วงกำลังบาน การฉีดพ่นน้ำเปล่าในตอนเช้าจะช่วยให้การติดมะม่วงดีขึ้น และยังช่วยลดปัญหาช่อดอกและใบดำจากราดำด้วย ใช้กับดักแสงไฟดัก จับตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นมะม่วงที่บินมาเล่นไฟ เพื่อช่วยลดความความเสียหาย นอกจากนี้ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วง
“บ้านหมากม่วง เป็นฟาร์มช้อป (farm shop) ที่ขายผลผลิตที่มาจากสวนเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังทำผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มาจากมะม่วงในสวนของเรา หลายๆ ผลิตภัณฑ์ เรามีพวกฟาร์มทัวร์ (farm tour) ที่ให้ลูกค้ามานั่งทานที่สวนของเรา” ความตั้งใจของ คุณแนน หรือ คุณวราภรณ์ มงคลแพทย์ สาวน้อยที่จบการศึกษาจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายมาเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพลิกโฉมสวนมะม่วง พื้นที่กว่า 250 ไร่ ในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นอาชีพของครอบครัว จุดเริ่มต้นของการกลับมาพัฒนาสวนมะม่วงของครอบครัว คุณแนน เล่าให้ฟังว่า เกิดจากครอบครัวของตนเอง เธอเห็นพ่อกับแม่ทำสวนมะม่วงมาตลอดกว่า 30 ปี โตมากับสวนมะม่วง ตั้งแต่วันที่ครอบครัวไม่มีอะไร จากชีวิตที่ติดลบ แต่ ณ วันนี้ ครอบครัวและเธอโตมาได้ มีทุกวันนี้ได้ เพราะอาชีพที่เกิดจากการทำสวนมะม่วงของพ่อและแม่ ด้วยเหตุผลนี้จึงกลายเป็นโจทย์ “ว่าจะทำอย่างไร ที่จะสามารถพัฒนาและยกระดับ เก็บรักษาอาชีพนี้ไว้ให้อยู่กับครอบครัวไปตลอด” จากโจทย์ที่เธอตั้งให้กับตัวเอง การตัดสินใจไปศึกษาในสาขาวิชาที่สามารถจะนำมาพัฒนาต่อยอดอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นตัวเลือกแรกที่เธอตัดส
กาลเวลาจะไม่สามารถรักษาได้ทุกสิ่ง แต่สำหรับการยอมรับความจริงจะสามารถรักษาได้ทุกอย่าง หากเราลองย้อนไปมองดูรอยเท้าตามเส้นทางที่ได้เคยเดินมา เชื่อไหมว่าทุกรอยเท้าจะช่วยเก็บความทรงจำทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นไว้ให้กับเราเสมอ แม้ทุกวันนี้เราจะคงอยู่กับสิ่งเดิมๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกัน คือระยะการก้าวเดินกับระยะเวลาที่เราได้สัมผัสระหว่างการเดินในเวลาที่เหลืออยู่ จะท้อได้เช่นไรถ้ายังมีลมหายใจดีอยู่ คนที่ไม่ยอมแพ้พร้อมสู้ และสู้จะสามารถพยุงตัวเองให้ยืนพร้อมก้าวออกเดินไปบนเส้นทางชีวิตกับเวลาที่อยู่ แม้ว่าการก้าวเดินจะช้าไปบ้าง ในเมื่อเขามีความขยันและอดทนติดตัวไปทุกเส้นทาง แน่นอนว่าต้องไปถึงจุดหมายได้สักวันหนึ่ง เพราะเขาไม่ยอมหยุดเดินและยอมแพ้กับชีวิตตัวเอง ก่อนอื่นขอ สวัสดี และขอบพระคุณอย่างมากมายกับกับแฟนๆ จากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียน ที่เป็นแฟนประจำพร้อมให้กำลังใจกันมาตลอดเวลา ทั้งที่ส่งเสียงไปหา โทร. (081) 846-0652 และทางเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อ สมยศ ศรีสุโร หรือ ID Line. Janyos ผมเป็นปลื้มอย่างมากมายขึ้นไปอีก เพราะบอกว่าชอบทุกเรื่องที่นำมาเสนอ ที่ย้ำมากคือขอให้สุข
ช่วงนี้มีอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง มีหมอกในตอนเช้า และมีแดดแรงในตอนกลางวัน กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของด้วงงวงกัดใบมะม่วง มักพบการระบาดในระยะที่มะม่วงแตกใบอ่อน โดยจะพบตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก ก่อนการวางไข่ ด้วงงวงตัวเต็มวัยเพศเมียจะใช้อวัยวะที่อยู่ปลายงวงเจาะที่ด้านข้างของเส้นกลางใบมะม่วง จากนั้นจะวางไข่ตามแกนกลางใบอ่อนประมาณ 2-14 ฟองต่อใบ เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว ด้วงงวงกัดใบมะม่วงจะกัดใบอ่อนห่างจากขั้วใบประมาณ 1-2 เซนติเมตรจนเหลือแต่โคนใบไว้บนต้น ภายในระยะเวลา 2-3 วัน ทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไข่ติดอยู่ร่วงหล่นลงบนพื้นดิน ลักษณะรอยกัดจะเป็นเส้นตรงเหมือนใช้กรรไกรตัด เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะเจาะเส้นกลางใบและแทรกตัวเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ หนอนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในใบมะม่วงที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน จากนั้นจะเข้าดักแด้ตามพื้นดินที่มีความชื้นโดยใช้ดินสร้างเป็นรังดักแด้ เกษตรกรควรเก็บใบอ่อนมะม่วงที่ถูกกัดร่วงตามโคนต้นนำไปเผาหรือฝังทำลายทิ้งทันที เพื่อทำลายไข่และหนอนด้วงงวงกัดใบมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรไถพรวนดินเพื่อจะช่วยลดความเสียหายลงได้ สำหรั
“ไร่ชวนฝัน” แหล่งปลูกพืชผักผลไม้ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ตั้งอยู่จังหวัดลำปาง ถิ่นเมืองรถม้าที่ลือชื่อมานาน ความจริง ไร่ชวนฝัน ได้ผ่านสายตาท่านผู้อ่านอย่างละเอียดมาแล้ว ว่าความเป็นมาของสวนที่เจ้าของได้เปิดเผยรายละเอียดทั้งประวัติ การศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรางวัลที่เขาได้รับอย่างมากมาย จนจำไม่ไหว ลงในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 พืชพันธุ์หลากหลายที่เขาเริ่มบุกเบิกปลูกมา ทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวในด้านราคาขายก็เคยประสบมาแล้ว จนเป็นที่เลื่องลือของวงการเกษตร ทั้งภาคเอกชน สถานที่ราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่างกล่าวขานและยกย่องในความสามารถของตัวเขาจนรับรางวัลมากมาย ต่างสดุดีในตัวเขาอย่างเลิศเลอ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจแก่วงศ์ตระกูล เขากล่าวถึงชีวิตในวัยเรียนที่มุ่งเน้นอยากเรียนเกษตรที่แม่โจ้ ทั้งที่ทางครอบครัวมีฐานะค่อนข้างจะมีกิน จากย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ไม่อยากให้มาเรียนเพราะร่างกายเขาบอบบาง ร่างเล็ก จนเพื่อนแม่โจ้ร่วมรุ่นตั้งชื่อไว้ว่า “เปี๊ยก” เป็นชื่อใหม่แทนชื่อเก่าที่พ่อแม่ตั้งไว้ว่า “ตุ๋ย” เขาเล่าให้ฟังว่า การมาเรียนแม่โจ้ต้องผ่านการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรี