สวนสะละ
สะละพันธุ์สุมาลี มีลักษณะลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวมีสีเขียวอมเหลือง ใบใหญ่กว้างและมีปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน คานดอกยาว ช่อใหญ่ ติดผลง่าย มีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายสะละเนินวง มีเนื้อหนากว่าระกำ แต่บางกว่าพันธุ์เนินวง มีรสหวาน มีกลิ่นเฉพาะ เจริญเติบโตเร็ว และทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง สะละเป็นพืชที่โตเร็วปลูก 3 ปี ก็ได้เก็บผลผลิตขาย และออกผลตลอดทั้งปี ที่สำคัญสะละสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ได้ อย่างเช่น หมาก ยางพารา ทุเรียน ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน เพราะสะละต้องการแค่แสง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สะละเป็นพืชที่ไม่มีรากแก้ว เมื่อลมพัดแรงๆ จะทำให้เอนล้มได้จึงจำเป็นต้องทำเสาให้ และเสายังให้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ โยงคานลูก ถ้าไม่โยงเมื่อคานหักก็จะทำให้เสียหายได้ และยังสามารถใส่รหัสของต้นนั้นๆ ได้อีกด้วย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล สะละที่ขายผลสดจะอร่อย หอม หวาน และสะละที่เก็บผลผลิตได้นั้น สามารถนำมาแปรรูปได้ ทั้งสะละลอยแก้ว น้ำสะละ สะละกวน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้อีกด้วย คุณจตุพงศ์ สุมา หรือ คุณกิ๊ก อยู่บ้านเลขที่ 154 หมู่บ้านป่าสงวน ตำ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน อย่าแปลกใจที่วันนี้ผมเก็บเรื่องราวรายละเอียดงานกิจกรรมคนปลูกป่ามาตั้งวงเล่าให้ฟัง ใน 3 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนในนามธนาคารต้นไม้ โดยมีการนัดพบพี่น้องสมาชิกจากทั่วประเทศมาพบกัน มีกิจกรรมย่อยในแต่ละครั้ง โดยใช้พื้นที่ของธนาคารต้นไม้สาขาป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นที่นัดหมาย ความคืบหน้าของพี่น้องสมาชิกแต่ละท่านในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา หลายท่านลงมือปลูกแซมสวนยาง ปลูกป่าทั้งแปลง หรือปลูกผสมผสานในสวนไม้ผลที่มีอยู่ ขนาดและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ผ่านการบอกกล่าวในการร่วมเสวนาและการโยงใยในระบบเครือข่ายที่มีต่อกัน ไม้ป่าหลากหลายชนิดตามที่เจ้าของสวนชอบใจ อาทิ ยางนา ตะเคียนทอง จำปาทอง กันเกรา พะยูง เคี่ยม ประดู่ ชิงชัน แดง สาวดำ กระถินเทพา มะฮอกกานี ฯลฯ เมื่อได้ลงดินก็เจริญเติบโตตามเวลาและการดูแล ส่งผลต่อจิตใจของผู้ปลูกเป็นยิ่งนัก สิ่งหนึ่งที่อดยินดีมากขึ้นไปอีกไม่ได้นั่นคือ ผลพลอยได้ที่ได้จากการปลูกป่า เห็ดป่าหลากหลายชนิด ทั้งเห็ดโคน เห็ดไค เห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดระโงก เห็ดถ่าน เห็ดน้ำหมาก ฯลฯ เริ่มเกิดในป่าปลูกเหล่านั้น สร้างแหล่งอาหารและรายได้ให้