สสส.
อีกหนึ่งพื้นที่สุขภาวะต้นแบบเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ได้นำซอฟต์ พาวเวอร์ ด้านศิลปะการแสดงมาใช้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงสำหรับเยาวชน และคนทั่วไป ผ่านกิจกรรมค่ายลำตัดมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ-แม่ศรีนวล อ.ดอนตูม จ.นครปฐม โดยเมื่อเร็วๆ นี้ อิมเมจิน ไทยแลนด์ฯ โดยการสนับสนุนจาก สสส.ร่วมกับ แม่ศรีนวล ขำอาจ ศิลปินแห่งชาติ จัดค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ผ่านวิถีเพลงพื้นบ้าน” ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำหรับค่ายลำตัดสุขภาวะฯ มีผู้เข้าร่วม กว่า 40 คน ทั้ง นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์และคนทั่วไป ที่ต่างมาด้วยความหลงรักในมนต์เสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของลำตัด ซึ่งบรรยากาศในค่ายตลอด 3 วัน2 คืน อบอวลไปด้วยความอบอุ่น และเต็มอิ่มกับความสุข และวิชาความรู้ ที่ คุณแม่ศรีนวล ขำอาจ “พี่ปุ๊ก” นิรามัย นิมา (ลูกสาว) และชาวคณะ รวมถึงลูกศิษย์ ได้ทุ่มเทถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ทั้งการร้อง การรำ การเขียนเพลงโดยนอกจากทุกคนจะได้เรียนรู้ประวัติและผลงานภูมิปัญญาอันทรง
เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง Imagine Thailand Movement องค์กรขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ ร่วมกับผู้นำชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ และผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ สุขภาวะชุมชนคลองมหาสวัสดิ์” ภายใต้ โครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยการสนับสนุนของ สสส. เป้าหมายสำคัญ เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน รู้เท่าทันอันตราย จากปัจจัยเสี่ยง พร้อมเสริมทักษะภาวะความเป็นผู้นำ ร่วมพัฒนาคลองมหาสวัสดิ์ให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ ดร.อุดม หงส์ชาติกุล ผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทางสังคม (ประเทศไทย)และ Imagine Thailand Movement กล่าวว่า หนึ่งในความท้าทายของเด็กและเยาวชนในสมัยนี้คงหนีไม่พ้นปัจจัยเสี่ยงรอบตัวทั้งด้านกายภาพ สิ่งเสพติดและด้านจิตใจ รวมถึงสื่อออนไลน์ที่ทุกวันนี้ทำให้สภาพสังคมทุกอย่างดูเร่งรีบ รวดเร็วไปหมด เยาวชนมีความเสี่ยงที่จะเสพสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา โอกาสการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นน้อยลง และทักษะการอยู่ร่วมกันก็น้อยลงไปด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ มันคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป้าหมายที่ท้าทายคือจะทำอย่างไรให้เด็กมีความพร
สสส. จับมือสภากายภาพบำบัด เสริมศักยภาพนักกายภาพทั่วประเทศ พร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ-สู้ NCDs แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานในพื้นที่-ต่อยอดกายภาพสู่สร้างเสริมสุขภาพ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สภากายภาพบำบัด สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย และสภาสถาบันการศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมอบรมวิชาการเรื่องบทบาทนักกายภาพบำบัดสร้างเสริมสุขภาพในสังคมผู้สูงอายุ โดยมีนักกายภาพบำบัดและอาจารย์กายภาพบำบัดจากทั่วประเทศ เข้าร่วมการอบรมกว่า 450 คน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพในสังคมผู้สูงอายุ ระหว่างเครือข่ายนักกายภาพบำบัดกับผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักกายภาพบำบัดได้รับแนวคิด ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุมากขึ้น “นักกายภาพบำบัด นอกจากจะมีบทบาทหน้าที่ในการบำบัดร่างกายของผู้ป่วยแล้ว ยังสามารถสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย และจิตใจรวมถึงการป้องกันโรค ให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย สสส. สภากายภาพบำบัดและภาคีเครือข่าย เห็นถึงความสำคัญนี้ จ
สสส. จับมือภาคีเครือข่ายสุขภาพพระสงฆ์ ดันมติมหาเถรสมาคม ให้วัดดูแลผู้ป่วยโควิด-19 “1 วัด 1 จังหวัด” ชู รพ.สนามวัดสุทธิวราราม เป็นต้นแบบ พร้อมพัฒนานวัตกรรมสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ ช่วยพระ-บุคลากรทางการแพทย์-ญาติ สร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยติดเชื้อ ลดเสี่ยงจากสัมผัส ตั้งเป้าส่งต่อ รพ.สต. 10,000 แห่งทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ที่วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ โดย พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และผู้จัดการโครงการการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน แต่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลสนามและมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยระบบอื่นๆ เช่น ระบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ระบบชุมชน (Community Isolation) ในแต่ละวันยังคงมีอัตราที่สูง จากข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โค
เวทีหารือสาธารณะอิ่ม…ดี… มีสุข : “ผักจะเป็นวาระแห่งชาติได้อย่างไร?” วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.30 – 13.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ผ่านทางออนไลน์ระบบ ZOOM 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.15 น. กล่าวเปิด โดย (1) นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ประสานงานของประเทศไทยสำหรับ UNFSS (Thai National Convenor) (2) ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. (3) ดร. เดลฟีน ลาลูส ผู้อำนวยการศูนย์พืชผักโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Vegetable Center: WorldVeg) 09.15 – 09.30 น. การบรรยาย หัวข้อ “การประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก” โดย ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 09.30 – 10.00 น. การบรรยาย หัวข้อ “Vegetable Food Systems for Healthy Diets” โดย ดร. โจดี้ ฮาร์ริส ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอาหารโลก ศูนย์พืชผักโลก (WorldVeg) 10.00 – 10.15 น
ด้วยภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนไป ทุกชีวิตในเมืองต้องใช้ชีวิตเร่งรีบมากขึ้นเพื่อทำสิ่งต่างๆ ทำให้ปัจจุบันประชาชนแทบทุกคนในเมืองใหญ่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง และแม้กระทั่งดูแลอาหารการกินของตัวเองและคนในครอบครัว หลายคนนั้นจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปที่ปรุงเสร็จแล้วกิน ลดภาระเวลาต่างๆ ซึ่งเหตุนี้เองทำให้ได้สารอาหารที่ไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เล็งเห็นความสำคัญในเรื่อง ดังกล่าวจึงจัดกิจกรรม “กินผัก สร้างสุข กับบุคคล ต้นแบบ” ในโครงการกินผักผลไม้ดี 400 กรัม โดย ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะขึ้น ทาง สสส.มอบรางวัลให้กับบุคคลต้นแบบในองค์กรต้นแบบ 6 แห่ง ได้แก่ กลุ่มบริษัท พรีเมียร์ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด และสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนหันมาใส่ใจอาหารการกินและบริโภคผักให้ได้ตามปริมาณที่เหมาะสม ดร.นพ. ไพโรจน์ กล่าวว่า สสส. สนับสนุนการดำเนินการรณรงค์สร้างความรู
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประกาศให้ จังหวัดพะเยา เป็นต้นแบบจัดการ-แก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผวจ.เผยสำเร็จเพราะใช้ 5 ยุทธศาสตร์เร่งด่วน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 นายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดกิจกรรม “วันงดสุราแห่งชาติ จังหวัดพะเยาประจำปี 2560” ว่า จากรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด ปี 2554 ระบุว่า จังหวัดพะเยา มีประชากรดื่มสุรามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ทำให้เกิดกระแสความตื่นตัว มีการขับเคลื่อนกิจกรรมลดการดื่มสุราในพื้นที่ โดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดพะเยา ในปี 2557 และกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วน มีเป้าหมายหลักว่าพะเยาไม่เป็นจังหวัดที่มีผู้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับ 1 โดยกำหนดยุทธศาสตร์การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. สร้างคณะทำงานและเครือข่ายทุกระดับ เชื่อมต่อคณะกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัด 2. สร้างทีมวิทยากรกระบวนการแก้ไขปัญหา 3. พัฒนาทีมสื่อมวลชน นักจัดรายการวิทยุเชิงสร้างสรรค์สังคม 4. ควบคุมการผลิตจำหน่ายสุราชุมชน สุ