สหกรณ์โคนม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งเดินหน้าพัฒนาสหกรณ์โคนม พร้อมปรับตัวให้ทันเปิดรับการค้าเสรี FTA ไทย-นิวซีแลนด์และออสเตรเลียต้นปี 68 เน้นการลดต้นทุนเลี้ยงโคนมเพื่อสู้ราคานมจากต่างประเทศ กรมส่งเสริมสหกรณ์รับลูกสนองนโยบายส่งเสริมสมาชิกโคนมใช้อาหารหยาบ พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือให้สหกรณ์นำไปพัฒนาการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์นมให้หลากหลายตอบสนองความต้องการผู้บริโภคยุคปัจจุบัน นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงเปิดการค้าเสรี (FTA) ไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งจะมีผลเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 นี้ โดยประเทศไทยจะลดภาษีเป็น 0% สำหรับการนำเข้านมดิบ นมผงขาดมันเนย และเครื่องดื่มประเภทนม/นม UHT จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาจส่งผลทำให้สินค้านมจากต่างประเทศไหลเข้าประเทศไทยจำนวนมาก และส่งผลต่ออุตสาหกรรมนมในประเทศไทย และได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เน้นย้ำให้สหกรณ์โคนมทุ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ คัดเลือกผู้ประกอบการสุดปัง 20 ราย เข้าร่วมกิจกรรมอบรม ครบ จบ ในที่เดียว กิจกรรม Boot Camp ติวเข้มกลยุทธ์การทำตลาดออนไลน์และออฟไลน์ และทุกขั้นตอนการส่งออกไปตลาดจีน พิเศษผู้ที่เข้ารอบ 5 รายสุดท้าย จะได้วางสินค้าบนแฟลตฟอร์ม เถาเป่า (TAOBAO) ของจีน พร้อมการ Live Sale กับ Influencer และการเจรจาจับคู่ธุรกิจแบบออนไลน์และออฟไลน์กับคู่ค้าจีน มายืนหนึ่งเรื่องนมโคไทยไปกับเรา สนใจสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 สิงหาคม 2564 ได้ที่ : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdrYkVigfhaaAuH1US90gGAlFuf5702QiKBCFKFzuLwsoG09Q/viewform สอบถามเพิ่มเติมที่ Line ID : @Knoft Official โทร. 084-648-5999 และ 084-648-6999 ***ผู้สมัครต้องสามารถร่วมกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
การเลี้ยงสัตว์หลายชนิด เช่น การเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด หมู ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเกษตรพันธสัญญาไปเสียเกือบหมด เนื่องจากมีบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่รายที่เข้ามาเป็นคู่พันธสัญญา บริษัทเหล่านี้อำนวยความสะดวกทุกอย่างในการเกิดขึ้นของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดสามารถประสานกับธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินการให้เงินกู้แก่กิจการปศุสัตว์เหล่านี้ได้ เพราะถือว่ามีตลาดรองรับที่แน่นอน แต่นั่นก็มีปัญหาอื่นแอบแฝงอยู่ เนื่องจากเกษตรกรเองไม่มีความรู้และไม่ได้เอาใจใส่อย่างจริงจัง ในรอบแรกที่เลี้ยงมักจะประสบผลสำเร็จ เพราะเป็นพื้นที่ใหม่ หลังจากนั้น การจัดการเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเกษตรกรทั่วไปละเลยจึงประสบผลขาดทุน กิจการวัวเป็นกิจการปศุสัตว์ที่เหมาะสำหรับทำในครอบครัว และหลีกหนีพ้นวงการเกษตรพันธสัญญา แต่มีข้อดีเหมือนกับเกษตรพันธสัญญาตรงที่ว่ามีผู้รับซื้อแน่นอนเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ผู้รับซื้อเป็นสหกรณ์การเกษตรซึ่งเอื้อต่อสมาชิก และหวังผลประโยชน์ให้สมาชิกมากกว่าเอาเข้าสหกรณ์ ส่วนบริษัทเอกชนก็มักจะดำเนินแนวทางคล้ายสหกรณ์ เนื่องจากสหกรณ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญและเป็นผู้นำตลาดมากกว่าเอกชน แต่กิจการเลี้ยง
สวัสดีครับ คอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ฉบับนี้เต็มใจพาท่านไปพบกับชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้นำชุมชนและลูกบ้านก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน ในงานสายพัฒนา ที่ทำได้ดีจนถูกยกให้เป็นตัวอย่างในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน ตามผมไปดูกันครับ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ พาท่านมาพบกับ คุณพิเชษฐ์ เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหนองสามพราน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เริ่มต้นเล่าว่า “ผมเองไม่ใช่คนกาญจนบุรี แต่มาอยู่ที่นี่นานแล้ว ตั้งแต่ผมเรียนจบจากคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็มาอยู่ที่กาญจนบุรีเรื่อยมา เมื่อก่อนที่นี่ร้อน แห้งแล้งมาก ผมก็ทำมาหากินอยู่ที่นี่ค่อยๆ เรียนรู้เรื่องการพัฒนาชุมชนจากผู้หลักผู้ใหญ่ จนถึงวันนี้ที่ต้องรับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำชุมชนที่ต้องช่วยพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของลูกบ้านอีกหลายชีวิต” ผลจากการพัฒนาหมู่บ้านของผู้นำชุมชนรุ่นเก่ารวมทั้งผลงานของผู้ใหญ่พิเชษฐ์ ได้ทยอยออกดอกผลให้คนในชุมชนชื่นใจแล้ววันนี้ พัฒนาแหล่งน้ำ หัวใจสำคัญสำหรับการเ
เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรทั่วประเทศมาโดยตลอดว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ทรงให้ความสนพระทัยในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่ราษฎร เห็นได้จากพระราชภารกิจที่ทรงปฏิบัติมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดโครงการอันเป็นประโยชน์ต่อชาวสวน ชาวนา และชาวไร่มากมาย ซึ่งโครงการต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และมีส่วนส่งเสริมต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมให้มีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง เช่นเดียวกับอาชีพการเลี้ยงโคนม นับเป็นอาชีพด้านการเกษตรที่สำคัญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานให้กับเกษตรกรไทย ภายหลังจากที่รัฐบาลประเทศเดนมาร์กได้น้อมเกล้าฯ ถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม ในประเทศไทยแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2503 และต่อมา ในปี 2505 ทรงเปิดโรงโคนมสวนจิตรลดา เริ่มเลี้ยงโคนม 6 ตัว เป็นโคพันธุ์ “เรดเดน” และทรงเปิดฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมโคนม ไทย-เดนมาร์ค ปี 2512 ทรงเปิดโรงงานนมผงสวนจิตรลดา และในปี 2514 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ก่อนจะพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาความมั
กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมแสดงนิทรรศการในงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ปี 2561 ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 5 ก.พ. นี้ ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จังหวัดสระบุรี นำเสนอความก้าวหน้าธุรกิจสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ พร้อมสานต่ออาชีพการเลี้ยงโคนม พัฒนาห่วงโซ่การผลิตจนถึงการตลาด ตั้งแต่การสนับสนุนปรับปรุงมาตรฐานฟาร์มโคนม สู่ระบบ GAP การพัฒนาศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและโรงงานแปรรูปนมของสหกรณ์ เพิ่มความหลากหลายผลิตภัณฑ์นม เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค เตรียมขยายตลาดนมสหกรณ์สู่ประเทศเพื่อนบ้าน นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 17 มกราคมของทุกปีเป็นวันโคนมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นวันสำคัญยิ่งต่ออาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งชาติ (อสค.) ได้จัดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้พระราชทานและพระผู้สืบสานอาชีพการเลี้ยงโคนมให้แก่ปวงชนชาวไทย ตลอดจนเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านกิจการโคนมระ