สะละสุมาลี
สะละพันธุ์สุมาลี มีลักษณะลำต้นคล้ายระกำ ทางใบยาวมีสีเขียวอมเหลือง ใบใหญ่กว้างและมีปลายใบสั้นกว่าพันธุ์เนินวง หนามของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่มีสีส้มอ่อน คานดอกยาว ช่อใหญ่ ติดผลง่าย มีรูปร่างป้อมสั้น สีเนื้อคล้ายสะละเนินวง มีเนื้อหนากว่าระกำ แต่บางกว่าพันธุ์เนินวง มีรสหวาน มีกลิ่นเฉพาะ เจริญเติบโตเร็ว และทนต่อสภาพแสงแดดจัดได้ดีกว่าพันธุ์เนินวง สะละเป็นพืชที่โตเร็วปลูก 3 ปี ก็ได้เก็บผลผลิตขาย และออกผลตลอดทั้งปี ที่สำคัญสะละสามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นๆ ได้ อย่างเช่น หมาก ยางพารา ทุเรียน ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน เพราะสะละต้องการแค่แสง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สะละเป็นพืชที่ไม่มีรากแก้ว เมื่อลมพัดแรงๆ จะทำให้เอนล้มได้จึงจำเป็นต้องทำเสาให้ และเสายังให้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ โยงคานลูก ถ้าไม่โยงเมื่อคานหักก็จะทำให้เสียหายได้ และยังสามารถใส่รหัสของต้นนั้นๆ ได้อีกด้วย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล สะละที่ขายผลสดจะอร่อย หอม หวาน และสะละที่เก็บผลผลิตได้นั้น สามารถนำมาแปรรูปได้ ทั้งสะละลอยแก้ว น้ำสะละ สะละกวน เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้อีกด้วย คุณจตุพงศ์ สุมา หรือ คุณกิ๊ก อยู่บ้านเลขที่ 154 หมู่บ้านป่าสงวน ตำ
“สวนสะละ สามารถดูแลเพียงคนเดียวได้ แต่ไม่ควรปลูกเกิน 50 ต้น ทำเท่านี้ก็แทบไม่ได้หยุด เป็นงานพื้นดินที่ไม่หนัก ไม่เหนื่อย แต่ต้องใส่ใจคอยดูแล อาศัยระวังหนามเพียงอย่างเดียว เมื่อทำจนชำนาญก็ง่ายแล้ว” คุณสุพงษ์ คัมภีรกิจ (คุณแดง) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เจ้าของ “สวนสละคุณเก๋” นับเป็นอีกหนึ่งในเกษตรกรที่เลือกปลูกสะละสุมาลี (พันธุ์ต้นบน) ในเนื้อที่กว่า 16 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว จำนวน 750 ต้น โดยนำองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับสวนตนเอง ผลิตสะละพรีเมี่ยมเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ จนได้รับคำชื่นชมถึงรสชาติอันหอมหวานถูกปาก จนมีลูกค้าทั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาอุดหนุนอย่างไม่ขาดสาย คุณสุพงษ์ เล่าว่า ก่อนปลูกสะละได้ปลูกทุเรียนอยู่ก่อนแล้ว แต่ประสบปัญหาเชื้อราเข้าทำลายต้นทุเรียนต้องตัดทิ้งทั้งหมด ผนวกกับในช่วงเวลานั้น ภรรยา คุณสินีรัตน์ คัมภีรกิจ (คุณเก๋) ได้มีโอกาสไปช่วยเพื่อนบ้านทำสวนสะละแล้วเกิดแรงบันดาลใจว่า เขาปลูกเพียงแค่ 50-100 ต้น ก็สามารถสร้างรายได้ให้วันละไม่ต่ำกว่า 5,000-10,000 บาท นับเป็นการจุดประกายไฟฝันให้เริ่มหันม
คุณครูพนัส ศรีเขาล้าน วัย 62 ปี อยู่บ้านเลขที่ 213 หมู่ที่ 8 ตำบลเขาทะลุ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นครูเกษียณที่มีความสุขกับงานที่ทำ คือปลูกสะละ พร้อมทั้งเก็บผลผลิตอย่างต่อเนื่อง คุณครูพนัส ศรีเขาล้าน บอกว่า “จุดเริ่มต้นในการปลูกสะละมาจากความชื่นชอบทานระกำหวาน ก็เอาระกำมาปลูกก่อน ทีนี้น้องสาวเขาก็ได้แฟนเป็นคนจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ เขาก็เอามาให้ชิม หลังจากได้ชิมในใจก็รู้สึกโอเคเลย ก็เลยไปนำต้นพันธุ์มาปลูกเลยในตอนนั้น ช่วงแรกๆ ต้นพันธุ์แพงมาก ตังค์ก็ไม่ค่อยมี ปลูกเนินวง 100 ต้น เริ่มต้นตั้งแต่นั้น หลังจากนั้นก็ทยอยปลูกมาเรื่อยๆ ปีละ 200-300 ต้น จนในที่สุดก็ประมาณ 1,000 กอ ได้แหละ ประมาณ 5-6 ปี ก็ไปเอาพันธุ์สุมาลีมาจากระยอง อำเภอแกลง เอามาปลูก ปีนั้นต้นพันธุ์ยังแพงมาก 800 บาท เอามา 100 ต้น จ่ายสดหมดเป็นแสนอยู่ตอนนั้น นำรายได้จากเนินวงมาเป็นทุนซื้อพันธุ์สุมาลี จากนั้นก็ขยายพันธุ์สุมาลี” คุณครูพนัส เผย “ช่วงแรกๆ สุมาลีดีมาก แต่ปัจจุบันนี้เนินวงค่อนข้างที่จะกลับมานิยมเนื่องจากผลผลิตมีได้เกือบตลอดทั้งปี ผลผลิตเนินวงกระจายเกือบทั้งปี อย่างสุมาลีนี่หมดก็คือหมด คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์สุมาลีม