สังคมคาร์บอนต่ำ
ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการธุรกิจแก๊สปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ภายใต้ แบรนด์ เวิลด์แก๊ส เดินหน้าจัดกิจกรรม “Green way WP Energy CSR Day” นำคณะผู้บริหารและพนักงานของบริษัทร่วมปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสมดุลให้กับสภาพภูมิอากาศของไทย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ “Net Zero” พร้อมทั้งส่งมอบแก้วพลาสติกที่ใช้แล้วให้กับองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อส่งมอบต่อให้กรมป่าไม้นำไปใช้ปลูกพันธุ์กล้าไม้เพื่อลดการใช้ถุงดำ ในโครงการ “แก้วกล้า เพื่อเธอ” (Kaeokla for you) สัญจร ณ สวนสัตว์เปิดเขา คุณชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ เชื่อในความเป็นไปได้ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นอย่างยั่งยืน เรามุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจด้วยพลังของการคิดบวก (Positive Progress) โดยดำเนินงานภายใต้แนวคิด “We Promise” ที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้เกิดขึ้นจริงต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวด
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick off ชมรม “วว. ไลก์ (ไร้) ขยะ” ภายใต้การดำเนิน โครงการพัฒนาองค์กรต้นแบบบริหารจัดการขยะลดโลกร้อน Sustainable Park วว. ประจำปี 2567 ในวันที่ 15 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 อาคาร Admin วว. เทคโนธานี โดยมุ่งเน้นให้ วว. เป็นต้นแบบการจัดการขยะชุมชนครบวงจรสำหรับการศึกษาดูงานของหน่วยงานอื่นๆ และเป็นการต่อยอดผลสำเร็จจากโครงการตาลเดี่ยวโมเดล จังหวัดสระบุรี ซึ่ง วว. นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการขยะสู่พลังงานและสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม “…กิจกรรมในวันนี้มุ่งหวังให้ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี เป็นต้นแบบการจัดการขยะให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้มาศึกษาดูงาน เพื่อเป็นแนวทางนำเทคโนโลยีการจัดการขยะที่เหมาะสมของ วว. ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ให้ยั่งยืน เป็น Sustainable ที่เป็นต้นแบบของประเทศ ซึ่ง วว. ประสบผลสำเร็จมาแล้วจากการขับเคลื่อนตาลเดี่ยว
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ร่วมกับ บริษัท เอสซีจี บิลดิ้ง แอนด์ ลีฟวิ่งแคร์คอนซัลติ้ง จำกัด (ฺฺฺBLC) บริษัทที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการก่อสร้าง ภายใต้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาอาคารเขียว นวัตกรรมการก่อสร้าง อาคารและฟาร์มประหยัดพลังงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน” นำร่อง 3 โครงการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พิธีลงนามความร่วมมือในวันนี้ (22 มีนาคม 2566) เป็นความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยร่วมกันกำหนดแนวทางพัฒนาโครงการอาคารเขียวและการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการก่อสร้างอาคารและโรงงานในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียวให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด และพัฒนาการก่อสร้างโครงสร้างต่าง ๆ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมี นายพี
องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย จัดพิธีปิดโครงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบน้ำและน้ำเสีย (WaCCliM) ประเทศไทย โดยโครงการฯ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนน้ำและน้ำเสียให้แก่พื้นที่นำร่อง 4 พื้นที่ของประเทศ ขณะที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวลกับการควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิโลกให้ได้ 1.5 องศาเซลเซียส ทุกภาคส่วนได้เริ่มวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ระบุว่าการบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลคิดเป็นร้อยละ 47.5 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนของเสียในประเทศไทย หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งประเทศ จากแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยปีพ.ศ. 2564-2573 ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากภาคการจัดการน้ำเสียไว้ที่ 700,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในปีพ.ศ. 2573 โครงการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบน้ำและน้ำเสีย หรือโครงการ WaCCliM ภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ได้รับการสนับสนุนงบปร