สาคู
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ นำโดย ผศ.ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผศ.ผกามาส ปุรินทราภิบาล พร้อมด้วยทีมบุคลากร ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตขนมขบเคี้ยวและสารสีแดง (อังคัก) จากแป้งสาคู ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปสาคู อำเภอควนขนุน และอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง การจัดอบรมดังกล่าวอยู่ภายใต้การดำเนินงาน “โครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแป้งสาคูในจังหวัดพัทลุง เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์” จัดขึ้นที่ห้องนวัตกรรมอาหาร และอาคารเรียนรวม มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ข้าวแดง หรืออังคัก หรือสารสีแดง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักของราโมเนสคัส โดยใช้วัตถุดิบหรือธัญพืช โดยราโมเนสคัสจะเจริญบนข้าวนึ่งและสร้างสารที่ทำให้ข้าวเปลี่ยนเป็นสีแดง นิยมนำอังคักไปเป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งสีและกลิ่นของอาหารและเครื่องสำอาง ถือเป็นสีจากธรรมชาติที่ปลอดภัยใช้ทดแทนการใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณช่วยให้ระบบย่อยและไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้อีกด้วย สำห
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นำโดย ผศ.สุธรรม ชุมพร้อมญาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ผศ.ดร.สายใจ แก้วอ่อน ผศ.ผกามาส ปุรินทราภิบาล อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร และทีมนักวิจัยโครงการ “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สาคูจังหวัดพัทลุงสู่เชิงพาณิชย์” เข้าพบ นายฉัตรชัย อุสาหะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และหัวหน้าส่วนราชการ ในการปรึกษาหารือการดำเนินโครงการวิจัย ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง และได้มีการลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนพบปะผู้ประกอบการแปรรูปแป้งสาคู ในจังหวัดพัทลุง เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าว แป้งสาคูแท้ทำมาจากต้นสาคู ซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นของจังหวัดพัทลุง มีสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมจากธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสาคูเม็ดขาวใสตามท้องตลาดซึ่งทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง โดยแป้งสาคูแท้จะมีประโยชน์ที่ดีต่อร่างกาย และจังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่หนึ่งในภาคใต้ ที่พบว่ายังมีการใช้ประโยชน์จากต้นสาคู ทั้งในระดับครัวเรือนและผลิตเป็นสินค้าภายในท้องถิ่น โดยเฉพาะการทำแป้งสาคูต้นซึ่งเป็นผลผลิตสำคัญที่ได้จากต้นสาคูโดยตรง และมีกระบวนการผลิ
สมัยเด็กๆ ผมชอบกินสาคูเม็ดเล็กเปียกกะทิมาก เรียกว่ากินได้ทีละหลายๆ ถ้วย ส่วนสาคูเม็ดใหญ่ที่มักแทรกตัวอยู่ในถ้วยรวมมิตร หรือวุ้นน้ำแข็งไสเย็นๆ นั้นผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ รู้สึกว่ามันเป็นแป้งๆ มากไปหน่อย ผมเพิ่งมารู้ว่าเม็ดสาคูที่เราซื้อจากตลาดเป็นถุงๆ มาต้มกินนั้นทำจากแป้งมันสำปะหลังก็เมื่อไม่นานมานี้เอง แถมหลังจากนั้นอีกพักใหญ่ๆ ถึงรู้ว่า ยังมีต้น “สาคู” ที่เอามาใช้ทำแป้งสาคูแท้ๆ ในเขตภาคใต้ด้วย แต่ถึงรู้แล้วก็ยังไม่ได้กินอีก ต้องรอจนถึงเมื่อสองปีก่อนนี้เองแหละครับ ที่มีโอกาสได้ลิ้มชิมรสสาคูแท้ๆ เปียกกะทิสด หลังจากนั้นก็คิดว่า คงยากที่จะกลับไปกินเม็ดสาคูเทียมจากมันสำปะหลังให้รู้สึกอร่อยได้อีก ในเมื่อมีแป้งสาคูแท้ติดครัวที่บ้านไว้ตลอดอย่างทุกวันนี้ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผมโชคดีได้ไปดู “ป่าสาคู” คือพื้นที่กว่า 80 ไร่ ในอาณาบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา เขตบ้านหัวพรุ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งปลูกต้นสาคู (Metroxylon sagus Rottb.) สืบเนื่องมายาวนานไม่ต่ำกว่าสามชั่วอายุคน ท่ามกลางดงต้นสาคูหลายขนาดในพื้นที่ลุ่มน้ำชุ่มชื้น คุณบอย – พิชัย ทิพย์มาก หนึ่งในเกษตรกรคนสำคัญที่ร่วมทำ