สายพันธุ์ละมุด
ละมุด เป็นผลไม้คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย และเขตร้อน ท่านทราบบ้างมั้ยว่า ละมุด ดั้งเดิมมาจากไหน ละมุดมีทั้ง ละมุดป่า ละมุดสีดา ละมุดกลม และรี หรือละมุดยักษ์ ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป เศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ผู้คนตกงาน แต่อาชีพที่ยั่งยืนคือ การทำเกษตร หรือกลับมาสู่ธรรมชาติ หนีทั้งความแออัดในเมือง ถ้าคุณรีบหันหลังกลับสู่ความเป็นธรรมชาติได้เร็ว ก็จะประสบความสำเร็จเร็ว ภาวะวิฤตและการถดถอยของเศรษฐกิจ ทำให้คนมากมายตกงานโดยไม่รู้ตัว การเกษตรเป็นวิถีแห่งทางเลือกอีกทางหนึ่งที่สร้างรายได้ ความเป็นธรรมชาติ และทำให้สุขภาพดี การปลูกละมุด ก็เป็นทางเลือกทางหนึ่ง นอกจากปลูกแล้วการศึกษาเรียนรู้ถึงการแปรรูป เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งจะแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาด ถ้ารู้เท่าทันกลไกต่างๆ ก็จะไม่เสียผลประโยชน์หรือประสบภาวะการขาดทุน จึงอยากจะแนะนำการปลูกละมุด และการแปรรูป สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืน จะกล่าวถึง ละมุดยักษ์ทูอินวัน เป็นผลไม้ที่สร้างรายได้ยั่งยืน รู้จักที่มาของ ละมุด ทางพฤกษศาสตร์ ชื่อสามัญ Sapodilla ละมุด ชื่อวิทยาศาสตร์ Manilkara zapota (L.) P.Royen (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Manilkara achras (Mill.) Fosberg) จัดอย
ละมุด จัดเป็นไม้ผลขนาดกลาง มีเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่ม อยู่ระหว่าง 4-8 เมตร ไม่สลัดใบ ความสูงของต้นจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ อยู่ระหว่าง 9-15 เมตร ต้นแผ่กิ่งก้านสาขาแข็งแรง กิ่งเหนียวไม่หักง่าย ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี กรมส่งเสริมการเกษตร สำรวจพบว่า แหล่งปลูกละมุด ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดราชบุรี รองลงมาคือสุโขทัย และนครราชสีมา ที่เหลือปลูกกระจัดกระจายอยู่ใน 31 จังหวัด ที่ผ่านมา ไทยเคยส่งออกละมุดแช่แข็งและผลละมุดสดไปยังประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บูรไน และยุโรป สำหรับ ละมุด ที่ปลูกในเมืองไทย สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์ผลเล็ก ได้แก่ พันธุ์มะกอก พันธุ์ปราจีน พันธุ์สีดา ส่วนพันธุ์ผลขนาดกลาง ได้แก่ พันธุ์กระสวยมาเล พันธุ์ดำเนิน พันธุ์นมแพะ และกลุ่มผลใหญ่ ได้แก่ พันธุ์กำนัน พันธุ์ ทช01 พันธุ์ CM19 พันธุ์สาลี่เวียดนาม และพันธุ์ตาขวัญ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีจุดเด่น-จุดด้อย ที่แตกต่างกันออกได้ ได้แก่ พันธุ์มะกอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ละมุดกรอบ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี รสหวาน หอม กรอบ แต่มีขนาดผลเล็ก ผลมีลักษณะกลมเมื่อยังเล็กอยู่ เมื่อโตขึ้นก็จะค่อยๆ ยาวเหมือนผลมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มขนาดผลเล็ก ค
“ละมุดท่าทอง” นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของชาวบ้านตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มาตั้งแต่สมัยอดีต ดั่งคำขวัญประจำตำบลท่าทอง ที่ว่า “ถิ่นละมุดสุดหวาน” ละมุดท่าทอง มีจุดเด่นในเรื่อง มีรสชาติหวานอร่อย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภค หากใครต้องการชิมละมุดรสอร่อยที่สุด ต้องรอผลผลิตในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เพราะละมุดพันธุ์มะกอกรุ่นนี้จะมีรสหวานจัด หอม ผลสีแดง เนื้อกรอบ ถูกใจผู้บริโภค การปลูกดูแล ในอดีต ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลท่าทองก็ทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ต่อมามีเกษตรกรบางรายหันมาปลูกละมุดแล้วได้ผลผลิตที่ดี ต่อมา วัดหนองโว้ง ตำบลท่าทอง อำเภอสวรรคโลก ได้จัดประกวดผลผลิตละมุดเป็นประจำทุกปี ทำให้ชาวบ้านตื่นตัวหันมาปลูกละมุดกันมากขึ้น โดยเฉพาะละมุดพันธุ์มะกอก ที่มีลักษณะเด่นคือ ผลรูปร่างกลมใหญ่ ผลสุกมีสีน้ำตาลออกแดง รสหวาน เนื้อผลแข็งและกรอบ แต่ผลผลิตไม่ค่อยดกสักเท่าไร ละมุดสามารถปลูกได้ทั่วไป การปลูกละมุดนั้นไม่ยุ่งยากเลย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เอากิ่งตอนปลูกในระยะห่างประมาณ 4 วา ปลูกได้เฉลี่ยไร่ละ 40 ต้น คอยดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ ต้นละมุดจะออกดอกครั้งแรกเมื่อต้น