สารฆ่าแมลง
หากใครไม่อยากใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน ขอแนะนำให้ลองปลูก “ดอกไพรีทรัม” เป็นพืชทางเลือกใหม่ สำหรับช่วยป้องกันและกำจัดแมลงร้ายแบบวิถีธรรมชาติที่ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม “ไพรีทรัม” ดอกไม้ของพระเจ้า ดอกไพรีทรัม เป็นพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณเด่นในด้านกำจัดแมลงศัตรูพืช และเป็นยากำจัดเชื้อรา ช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและดูแลป้องกันชีวิตมนุษย์มานานกว่า 2,000 ปี วงการพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติจึงยกย่องพืชชนิดนี้ว่าเป็น “ดอกไม้ของพระเจ้า” (Flower of God) การปลูกดูแล ดอกไพรีทรัมนั้น เป็นไม้ดอกทรงพุ่ม มีดอกสีเหลือง/ขาว คล้ายดอกเดซี่ หรือ เบญจมาศ มีการเจริญเติบโตคล้ายต้นผักกาดหอม และเยอร์บีร่า ไพรีทรัมมีลำต้นสั้นติดดิน ใบคล้ายใบผักชีเรียงซ้อนกันแน่นที่โคนต้น มีหัวใต้ดินคล้ายต้นรักแรก และแตกกอเพิ่มจำนวนหัวได้เป็นกลุ่ม ต้นไพรีทัมขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและแยกหัวใต้ดินไปปลูก หลังเพาะเมล็ดประมาณ 7 เดือน ต้นจะออกดอกได้ เมื่อได้รับอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ (หากต้นไพรีทรัมได้รับอุณหภูมิสูงกว่า 24 องศาเซลเซียส นานกว่า 1 เดือน จะไม่ออกดอก) การปลูกไพรีทรัมให้ผ
ระยะนี้เข้าสู่ช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน โดยระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกจะเกิดความเสียหายมากที่สุด เพลี้ยจักจั่นมะม่วงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วง และติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ขณะที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูล เป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบทรงพุ่ม ทำให้ใบเปียก เกิดราดำปกคลุมมาก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ส่วนใบอ่อน (ใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลง ให้สังเกตด้านใต้ใบมีอาการปลายใบแห้งได้ หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วงให้โปร่งอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดที่หลบซ่อนต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้การพ่นสารฆ่าแมลง
ในระยะนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเฝ้าระวังติดตามการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วใน 2 ระยะ คือ ช่วงถั่วเหลืองปลูกใหม่อายุไม่เกิน 14 วัน มักพบหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วเข้าทำลายถั่วเหลืองตั้งแต่ระยะต้นกล้า เมื่อหนอนฟักออกมาจากไข่จะชอนไชตามเส้นใบไปที่ก้านใบ เพื่อเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อที่บริเวณไส้กลางลำต้น ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลงมากกว่า 40% เกษตรกรควรคลุกเมล็ดถั่วเหลืองก่อนปลูกด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิลยูเอส อัตรา 2 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พ่นครั้งแรก เมื่อใบจริงคู่แรกคลี่ออกมาเต็มที่ หรืออายุประมาณ 7-10 วันหลังถั่วเหลืองเริ่มงอก
กลางวันแดดแรงอากาศร้อนและแห้ง ส่วนกลางคืนอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ มักพบเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกและติดผลอ่อน จนถึงระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของเพลี้ยไฟชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนดอกและยอดอ่อน หากพบเพลี้ยไฟจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวต่อ 4 ดอก หรือ 1 ตัวต่อยอด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสา
สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดอบรมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและผู้เกี่ยวข้อง วางแผนรับมือหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ในฤดูกาลปลูกข้าวโพดรอบถัดไปที่จะมาถึง ย้ำการจัดการแบบองค์รวมตามหลักวิชาการที่ใช้ร่วมกันทั้งชีวภัณฑ์ สารเคมีชนิดและอัตราที่แนะนำด้วยหลัก 3 ถูก ถูกชนิด ถูกเวลา ถูกวิธี ร่วมกับการใช้ชีววิธี จะเป็นวิธีที่ได้ผลและควบคุมได้ ดร.วรณิกา นาควัชระ บีดิงเฮาส์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า สมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย โดย ภาคีเครือข่าย 5 บริษัทเอกชนด้านเคมีเกษตร คือ 1. บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด 2. บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด 3. คอเทวา อะกริไซแอนส์ (Corteva Agriscience) 4. BASF (THAI) CO.,LTD.(บริษัท บีเอเอสเอฟ ประเทศไทย) 5. FMC Chemical (Thailand) Ltd. (บริษัท เอฟเอ็มซี เคมิคัล (ประเทศไทย) จำกัด) ร่วมมือกับภาครัฐ มี กรมวิชาการเกษตร และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกร เกี่ยวกับความรู้เรื่อง หนอนกระทู้ลายจุด และวิธีการป้องกันและกำจัด โดยมีการติดอาวธุเกษตกรด้วยองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เ
ระยะนี้ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มเข้าสู่ช่วงต้นแทงช่อดอก กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงหิมพานต์เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง และมีแดดแรงในเวลากลางวัน ให้สังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง สำหรับเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมะม่วงหิมพานต์ในระยะแตกยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอหรือแห้งตาย หากระบาดรุนแรง จะส่งผลให้ช่อดอกไหม้เป็นสีดำ และไม่ติดผล กรณีติดผลแล้วจะทำให้ผลร่วงหล่นได้ เมื่อพบการระบาดในช่วงที่ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนดอกบาน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา–ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก และช่อผล ส่งผลให้ราดำมาเจริญอยู่บริเวณนั้น ทำให้ใบร่วง ช่อดอกไม่ติดผล และผลแคระแกร็น กรณีที่มีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะเป็นกระจุกที่ลำต้น และอยู่ร่วมกันกับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งเคลื
ในช่วงที่มีลมแรง และมีฝนตกร้อยละ 10-20 ของพื้นที่แบบนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน มักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ต้นทุเรียนอยู่ในระยะติดผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบการเข้าทำลายตั้งแต่ผลทุเรียนยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือน จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ทำให้ผลทุเรียนเป็นแผล ผลอาจเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ หากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล จะทำให้บริเวณนั้นเน่าเมื่อผลสุก โดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจนที่บริเวณเปลือกผลทุเรียน เมื่อผลทุเรียนใกล้แก่จะมีน้ำไหลเยิ้ม หนอนจะเข้าทำลายผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะผีเสื้อตัวเต็มวัยชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้ ถ้าผลทุเรียนที่มีรอยแมลงทำลาย จะส่งผลทำให้ผลผลิตทุเรียนขายไม่ได้ราคา เกษตรกรควรหมั่นสังเกตตรวจดูผลทุเรียนภายในสวน หากพบรอยทำลายของหนอนเจาะผลทุเรียน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลายทิ้ง จากนั้น ให้ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกัน เกษตรกรควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกัน