สารพิษตกค้างในผัก
การผลิตพืชผักของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนมากจะผลิตได้ดีในฤดูหนาว ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ทำให้มีผลผลิตมากเกินความต้องการของตลาด แต่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เกษตรกรไม่สามารถผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดได้ เพราะในช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูง แดดจัด ขาดแคลนน้ำ ซ้ำยังประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชหลายชนิดเข้าทำลาย ขณะที่ฤดูฝน อากาศมีความชื้นสูงมักประสบปัญหาการระบาดของโรคพืชหลายชนิด รสชาติของผักและคุณภาพของผลผลิตที่ได้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คุณนฤทัย วรสถิตย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การผลิตพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรเป็นการผลิตโดยใช้ปุ๋ยเคมีและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ผลผลิตมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เป็นที่พอใจของผู้บริโภคและให้ผลผลิตสูง เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และยังขาดความรู้ในการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชที่ปลอดภัย จากผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนระหว่างปี 2554-2556 จำนวน 36 ชนิด 3,025 ตัวอย่าง คุณนฤทัย บอกว่า พบสารเคมีตกค้างร้อยละ 25.7 และเก็บค่า MRL
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้ดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยของผักสด ผลไม้สด ในประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ส่วนการเฝ้าระวังโดยการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยสถานการณ์การตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ที่ผลิตภายในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศ ระหว่างปี 2556-2559 มีการสุ่มตรวจผักและผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 800 ตัวอย่างต่อปี พบการตกค้างประมาณร้อยละ 10 “ ส่วนปี 2559 ได้มีการสุ่มเก็บผักและผลไม้สดที่คนไทยนิยมบริโภคสูงจากตลาดค้าส่ง จาก 5 ภาคๆละ 2 จังหวัด ผลไม้สด ได้แก่ ส้ม มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย แก้วมังกร ชมพู่ รวม 99 ตัวอย่าง ตรวจพบสารตกค้างร้อยละ 51 จากการตรวจทั้งผลรวมเปลือก ซึ่งมีผลไม้ ที่สารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 7 ทั้งนี้ ชนิดสารเคมีที่มีอัตราตรวจพบสูง คือ คาร์เบนดาซิม และไซ