สาหร่ายน้ำจืด
ผู้เขียนมีโอกาสรู้จัก ลุงทองดี ทะฤษี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ลุงทองดีอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ผู้เขียนได้ไปซื้อที่ดินที่ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพราะเห็นว่าเป็นที่ดินที่มีลำห้วยไหลผ่านถึง 2 ลำห้วย เรียกว่า ห้วยแม่แคมบก และห้วยแม่ชอด ที่ดินที่มีลำห้วยไหลผ่านจะหายาก ตอนนั้นผู้เขียนยังทำงานเป็นนักเขียนอยู่กรุงเทพฯ แต่มีจิตใจพิสมัยป่าเขา ลำเนาไพร ได้เข้าป่าแล้วมีความสุข ที่ดินแปลงนี้มีทั้งหมดประมาณ 20 ไร่ เจ้าของเดิมเขามีอายุมากแล้ว แต่เดิมเขาปลูกข้าวก่ำบ้าง ปลูกถั่วลิสงบ้าง ที่ดินแปลงนี้สวยมาก อยู่ตามลำห้วย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ เพียง 7 กิโลเมตร เท่านั้น เจ้าของที่ดินเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่ง แต่มาอยู่เมืองแพร่สมัยดึกดำบรรพ์ มาแจ้งเจ้าของที่ดินแปลงนี้ ชื่อ พ่อใหญ่ทา อายุเกือบ 100 ปี ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ เมื่อได้ไปซื้อที่ดินอยู่ใกล้ที่ลุงทองดีก็เลยได้รู้จักกัน แกเป็นช่างต่อเติมบ้าน ผู้เขียนเลยไปขอให้แกช่วยมาปลูกกระท่อมในไร่ให้ ก็เลยได้รู้จักกัน ลุงทองดี แกมีความสามารถหลายอย่าง แม้แต่การปลูกต้นไม้ แกมีอาชีพเป็นเกษตรกรโดยกำเนิด พ่อ แม
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นองค์กรที่มีพันธกิจหลักในการเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างองค์ความรู้ อาจารย์ นักวิจัย เพื่อผลักดันให้เกิดศักยภาพต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีเริ่มต้น ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มอบหมายให้นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทำการศึกษาวิจัยในด้านผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพ พืชหนึ่งที่น่าสนใจคือสาหร่ายน้ำจืด ด้วยเหตุผลที่ว่า สาหร่ายน้ำจืดในภาคเหนือมีหลายชนิด ประชาชนนิยมนำมาประกอบอาหารที่เอร็ดอร่อยและมีราคาถูก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายนี้เอง ทำการศึกษาวิจัยเรื่องสาหร่าย ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามด้วยเหตุผลที่ว่า ตลอดจนทำอย่างไรจะให้นวัตกรรมที่วิจัยออกมาได้นี้ขายได้
“สาหร่ายไก” สาหร่ายน้ำจืดเลิศรส โอท็อป 9 วัน ทำยอดขาย 79,000 บาท การันตีงานวิจัยสาหร่ายชนเผ่าไทลื้อ จากลำน้ำน่าน เดือนธันวาคม เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผู้เขียนไม่พลาดโอกาสที่จะไปเดินชมผลิตภัณฑ์งานแสดงสินค้าโอท็อป บนพื้นที่กว้างใหญ่อลังการ คืองาน Otop city 2018 ที่เมืองทองธานี ได้ไปจ๊ะเอ๋กับหนึ่งผลิตภัณฑ์โอท็อป ท่องเที่ยวนวัตวิถี อย่าง “สาหร่ายไก” ชื่อนี้ได้ยินแล้วแปลกๆ คันๆ หู ดูน่าสนใจยิ่งนัก คำว่า สาหร่าย หลายๆ ท่านคงจะคุ้นชินได้ยินกันว่าสาหร่ายส่วนใหญ่น่าจะมาจากใต้ท้องทะเลน้ำลึก หรือนำเข้าจากต่างประเทศ โน่น…นี่…นั่น…ประโยชน์สรรพคุณมีมากล้นมากมาย แตกต่างกันไป… แต่กับ “สาหร่ายไก” ที่ว่านี้เป็น สาหร่ายน้ำจืดเมืองไทย ผู้เขียนเองก็ไม่คุ้นชินหูเช่นเดียวกัน จึงนำเรื่องราวมาบอกเล่า ผ่าน คุณป้าศิริพร คำหว่าง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสาหร่ายน้ำจืดบ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน คุณป้าศิริพร อธิบายว่า “สาหร่ายไก” เป็นสาหร่ายน้ำจืดมีขึ้นอยู่มากมายในสายน้ำน่าน หรือต้นแม่น้ำน่าน มีพบเห็นตามโขดหิน เจริญเติบโตอยู่ใต้ท้องน้ำใสๆ ที่กระแสน้ำไหลเอ