สาหร่ายผมนาง
สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheries) บางแห่งเรียกว่า สายสาหร่ายข้อ สาหร่ายเขากวาง สาหร่ายวุ้น พบได้บริเวณป่าชายเลนทั่วโลก ซึ่งเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็ม สำหรับเมืองไทย พบสาหร่ายผมนางจำนวนมาก บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณรอบเกาะยอ จะพบสาหร่ายผมนาง ที่ระดับความลึก 1-2 เมตร โดยเติบโตเป็นพุ่มสูง 15-20 เซนติเมตร แตกแขนงเป็นเส้นกิ่งก้านยาวมีสีน้ำตาล คล้ายเส้นผม จึงเรียกกันว่า “สาหร่ายผมนาง” เป็นสาหร่ายที่อยู่กับชาวเกาะยอ จังหวัดสงขลา มาเป็นเวลานาน จัดเป็นวัตถุดิบอาหารพื้นเมืองของจังหวัดสงขลาที่ได้รับความนิยมมากว่า 100 ปี กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะยอ มักออกไปหาสาหร่ายผมนางในช่วงฤดูร้อน สาหร่ายสดๆ มีสีดำ นำมาล้างน้ำแล้วตากแดด ตากน้ำค้าง นานถึง 7-10 วัน จะเริ่มแห้งและเปลี่ยนเป็นสีขาวมองเผินๆ คล้ายหมี่ขาว “ไปเกาะยอต้องกินยำสาหร่าย” ซึ่งเป็นเมนูอาหารขึ้นชื่อของเกาะยอ ชาวบ้านจะนำสาหร่ายที่ตากแห้งไว้แล้ว ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที จากนั้นนำสาหร่ายไปยำกับน้ำมะขาม กะทิ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ถั่ว ซึ่งเป็นเครื่องยำแบบโบราณ กินกับใบชะพลู ห่อกินเหมือนเมี่ยง สาหร่ายผมนาง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลาย
“สาหร่ายทะเลผมนาง” ทางประมงจังหวัดสงขลา ยืนยันว่ามีหนึ่งเดียวในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กลุ่มประมงลงมือเพาะพันธุ์แปรรูปผลิตภัณฑ์ยำเหมี่ยงและทำข้าวเกียบ ปตท.โออาร์สนใจ ที่มีนโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน สาหร่ายทะเลผมนางสดๆ ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม แห้ง 300 บาทต่อกิโลกรัม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิจัยไม่พบสารพิษ มีแต่คุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการ คุณพรทิพย์ หมัดสุข เลขานุการกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำฟาร์มทะเล หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บอกว่า กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำฟาร์มทะเลหมู่ที่ 2 บ้านท่าเสา ได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนสาหร่ายทะเลฯ ขึ้นมา เนื่องจากทางกลุ่มได้ทำการเรียนรู้เรื่องสาหร่ายทะเลผมนาง และได้ทำการเพาะพันธุ์ในกระชังในทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวของจังหวัดสงขลา ตามคำยืนยันของสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ซึ่งมิให้สูญพันธุ์ไปจากทะเล และปรากฏว่าประสบความสำเร็จในที่สุด สาหร่ายทะเลผมนาง โดยปกติแล้วจะอยู่กับน้ำเค็มจะได้และขยายตัวได้รวดเร็วด้วย แต่หากทะเลพอเป็นน้ำจืดก็จะตายไปในที่สุด โดยกว่าจะพบก็ต้องใช้เวลาถึงประมาณ 4 เดือน ซึ่งในที่สุดทางกลุ่มไม่ได้นิ่ง
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา มุ่งมั่นบริหารงานตามนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเตรียมกำลังคนสู่ศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา มีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ให้มีคุณภาพ ทันสมัย ได้มาตรฐาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในชุมชน สังคม และภาคอุตสาหกรรม ที่ผ่านมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา มีนโยบายการฝึกนักเรียน นักศึกษาในการปฏิบัติงานจริง โดยเน้นทักษะเป็นอาชีพในสาขาวิชา มีความประสงค์จัดสร้างแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นศูนย์ฝึกทักษะวิชาชีพ เช่น ทักษะวิชาชีพซักรีด ทักษะวิชาชีพการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ทักษะวิชาชีพการจัดดอกไม้ ทักษะวิชาชีพการผลิตงานเอกสาร ทักษะวิชาชีพการขายและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นายมนัสฌาน์ ชูเชิด ผู้อำนวยการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ในฐานะประธานคณะกรรมการการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาระดับชาติ ได้สนับสนุนและส่งเสริมนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่มาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลงานสิ่