สาหร่ายผักกาดทะเล
ในยุคที่การทำเกษตรไม่จำกัดแค่บนบก การเลี้ยง สาหร่ายผักกาดทะเล กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้ ด้วยระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นเพียง 3 สัปดาห์ ก็สามารถเก็บเกี่ยวและขายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท จากปลานวลจันทร์สู่สาหร่ายผักกาดทะเล ต่อยอดทรัพยากรท้องถิ่นด้วย Zero Waste Model คุณตุ๋ม-สุภิดา ลิ้นทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ เล่าว่า ก่อนที่ชุมชนจะหันมาศึกษาและพัฒนา การเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเล พื้นที่ของเราติดทะเล อาชีพหลักจึงเกี่ยวข้องกับสัตว์ทะเล หนึ่งในนั้นคือ ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและมีราคาสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดที่มีมูลค่าต่ำ ทางกลุ่มของเราจึงนำทรัพยากรเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอด ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น ภายใต้แนวคิด Zero Waste Model หรือ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดของเหลือทิ้งให้เป็นศูนย์ การเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเล เป็นการต่อยอดจากแนวคิด Zero Waste Model ที่ใช้กับ ปลานวลจันทร์ทะเล โดยเรายึดหลัก “ปลาหนึ่งตัว ตั้งแต่เกล็ดยันขี้ปลา เราไม่ทิ้งอะไ
ในยุคที่การทำเกษตรไม่จำกัดแค่บนบก การเลี้ยง “สาหร่ายผักกาดทะเล” กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้ ด้วยระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นเพียง 3 สัปดาห์ ก็สามารถเก็บเกี่ยวและขายได้ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 500 บาท คุณตุ๋ม-สุภิดา ลิ้นทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ เล่าว่า “ตั้งแต่ตัดสินใจเลี้ยงครั้งแรก เราเห็นถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่ มันไม่ใช่แค่การเลี้ยงเพื่อขาย แต่คือการลงทุนเพื่ออนาคต การมองเห็นก่อน ทำให้เราสามารถวางแผน พัฒนา และต่อยอดจนเกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม และยังช่วยยกระดับชุมชนของเราได้อีกด้วย” #ซุปเปอร์ฟู้ด #วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี #สาหร่ายผักกาดทะเล #technologychaoban #เทคโนโลยีชาวบ้าน
สาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva spp.) เป็นสาหร่ายสีเขียวที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยโปรตีน ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ไอโอดีน แคลเซียม และแมกนีเซียม นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ในปัจจุบัน สาหร่ายผักกาดทะเลได้รับความสนใจมากขึ้นในฐานะวัตถุดิบสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพ สามารถนำไปใช้ในเมนูอาหารต่างๆ เช่น สลัด ซุป อาหารทะเล และยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารสัตว์ได้ ด้วยศักยภาพที่หลากหลายและคุณประโยชน์ที่โดดเด่น สาหร่ายชนิดนี้จึงมีโอกาสเติบโตในตลาดอาหารเพื่อสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลในเชิงพาณิชย์ คุณโอ – วรรภา อ่อนจันทร ผู้จัดการฟาร์มสาหร่ายพวงองุ่น Family Farm เปิดเผยว่า ฟาร์มแห่งนี้เน้นผลิตสาหร่ายพวงองุ่นเป็นหลัก แต่เพื่อขยายขอบเขตความรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางทะเล ทางฟาร์มจึงได้ทดลองเพาะเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลควบคู่ไปด้วย หลังจากประสบความสำเร็จ ทางฟาร์มจึงเข้าร่วมโครงการของ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) เพื่
สาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva spp.) มีรูปลักษณะที่โดดเด่นด้วยทัลลัสที่เป็นแผ่นบางขนาดใหญ่ พร้อมรอยจีบตามขอบใบ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “สาหร่ายผักกาดทะเล” สาหร่ายชนิดนี้ยังมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ดี และสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วทั้งในแนวกว้างและแนวยาว ด้วยการแบ่งเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง ถิ่นอาศัยของสาหร่ายผักกาดทะเล พบได้ในพื้นที่ชายฝั่งโดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ต มักพบลอยน้ำในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลหรือหลุดลอยมาตามผิวหาด นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพสำหรับการเพาะเลี้ยงและแปรรูปเชิงพาณิชย์ในอนาคต สาหร่ายผักกาดทะเลมีคุณค่าทางโภชนาการและการใช้ประโยชน์ เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารหลากหลายประเภท เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทอด และคุณค่าทางโภชนาการที่โดดเด่น ได้แก่ โปรตีนสูงถึง 25-30 กรัมต่อ 100 กรัม พร้อมใยอาหารถึง 9.79% แต่มีไขมันและพลังงานต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อุดมไปด้วยเกลือแร่ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดอะมิโนจำเป็นในสัดส่วนสูง (37-39% ของกรดอะมิโนรวม) เช่น Glutamic Acid และ Aspartic Acid มีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3,
สาหร่ายผักกาดทะเล อาหารแห่งอนาคต แหล่งโปรตีน คุณค่าทางอาหารสูง สามารถขยายพันธุ์สู่การเพาะเลี้ยง ลงทุนน้อย ให้ผลผลิตไว ดูแลง่าย นับเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าได้ สำหรับสาหร่ายผักกาดทะเล หรือ Sea Lettuce นั้นเป็นสาหร่ายที่มีศักยภาพด้านโภชนาการสูงเพราะมีโปรตีนถึง 25-30 กรัม และใยอาหาร 9.79 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันและพลังงานที่ต่ำ อุดมด้วยเกลือแร่ วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และ โอเมก้า 9 โดยเฉพาะ EPA และ DHA ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ ทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด และยำ โดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ปัจจุบันมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเตรียมบ่อ บ่อที่ใช้เลี้ยงสาหร่ายมี 2 รูปแบบ ได้แก่ บ่อปูนและบ่อผ้าใบ ล้างขัดฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ล้างด้วยน้ำสะอาด ตากบ่อให้แห้ง การเตรียมน้ำ ใช้น้ำทะเลความเค็ม 25-30 ส่วนในพันส่วน ที่สูบจากทะเลหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ นำมาพักให้ตกตะกอน หลังจากนั้นสูบน้ำส่วนใสผ่านถุงกรองสักหลาดความละเอียด 10 ไมครอน นำน้ำเข้าบ่อเลี้ยงสาหร่ายผักกาดทะเลต่อไป ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่าย