สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี
ประเทศไทยในยุคโลกรวน เสี่ยงเจอภาวะอาการแปรปรวนได้ตลอดเวลา หากในช่วงเช้าฟ้าครึ้มผิดปกติ เมฆหนา ไม่มีแดด แม้จะเป็นช่วงเวลา 06.00-09.00 น. ซึ่งตามปกติต้องมีแสงแดดที่เป็นตัวกลางสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะพบว่า ปลาว่ายน้ำรวมตัวเป็นฝูง ลอยหัวเหนือผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปลาขาดอากาศ ส่งผลให้สุขภาพปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตช้า หากปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำเกินค่ามาตรฐาน ปลาที่เลี้ยงในบ่อ อาจลอยตายได้ หากเกิดกรณีดังกล่าว สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี ให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น ใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องมือที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ ให้ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศละลายผสมกับน้ำ เพื่อให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของปลา ทั้งนี้ อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมีผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของปลา เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโรคจะเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วงเดียวกับอุณหภูมิทางสรีระ (physiological range) ปลาจะมีอัตราการเผาผลาญของร่างกาย (metabolic rates) เพิ่มขึ้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลาส่วนใหญ่ถ้าอุณหภูมิข
กุ้งฝอยเป็นสัตว์น้ำที่รสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน แคลเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ จึงทำให้มีความนิยมบริโภคกันมาก สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ที่นิยมมากที่สุดคือ “กุ้งเต้น” รองลงมาคือกุ้งชุบแป้งทอด ตำกุ้ง เป็นต้น และนอกจากเป็นอาหารมนุษย์แล้ว กุ้งฝอยยังมีความสำคัญในระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เนื่องจากกุ้งฝอยเป็นอาหารของปลากินเนื้อทุกชนิด กุ้งฝอยยังสามารถผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 60 วัน และแม่พันธุ์กุ้งฝอยสามารถให้ไข่ได้มากถึง 200-250 ฟองต่อตัว จึงเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่มีความน่าใจ เพราะนอกจากจะบริโภคในครัวเรือนแล้ว ยังสามารถจับจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 200-350 บาท หากเป็นกุ้งพ่อ-แม่พันธุ์ ก็มีราคาสูงถึงตัวละ 2 บาท สำหรับผู้สนใจเลี้ยงกุ้งฝอย สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานีมีคำแนะการเลี้ยงกุ้งฝอย โดยจับรวบรวมกุ้งฝอยตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีที่นิยมใช้มี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การใช้ไซดักกุ้ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ดักจับกุ้งโดยเฉพาะ วิธีนี้จะดักได้เฉพาะกุ้งอย่างเดียว และเป็นกุ้งที่มีขนาดตัวเต็มวัยแล้ว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยกกุ้ง 2. การใช้ผ้าช้อนกุ้ง ผ้าช้อนกุ้ง เป็นอุปกรณ์จับกุ้งห
การเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นอีกรูปแบบของการเลี้ยงปลา นอกเหนือจากการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ ซึ่งการเลี้ยงปลาด้วยรูปแบบนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมเลี้ยงในแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี หรือทะเล เป็นต้น ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยงในกระชัง เช่น คุณภาพน้ำ อุณหภูมิ ความหนาแน่นของปลาที่เลี้ยงในกระชัง โรคสัตว์น้ำ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ดังนั้น ก่อนที่เกษตรกรจะเริ่มเลี้ยงปลากระชัง ต้องคำนึงถึงอัตราการปล่อยปลา ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่หนาแน่นจนเกินไป เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม และการบริหารจัดการ เช่น กรณีปลาเป็นโรค หากปล่อยในอัตราที่หนาแน่น โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคก็จะง่าย เสี่ยงต่อการสูญเสีย การเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมบริเวณกระชังได้ ซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนี่แหละที่จะทำให้การเจริญเติบโตของปลาช้าลง การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการเลี้ยงปลา ด้วยการติดตั้งเครื่องให้อากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในกระชัง เพิ่มการไหลเวียนของน้ำในกระชัง จึงเป็
บ่อปลาที่ขุดใหม่ มักประสบปัญหาน้ำขุ่น ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ปลาเจริญเติบโตช้า เพราะอาหารธรรมชาติมีไม่เพียงพอ น้ำที่ขุ่นมากจะทำอันตรายต่อปลาได้ เพราะตะกอนดินจะไปทำให้ช่องเหงือกปลาอุดตัน ปลามีอาการหายใจติดขัด นอกจากนี้ น้ำขุ่นมากส่งผลให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำสูงกว่าระดับปกติอีกด้วย หากใครเจอปัญหาแบบนี้ สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำขุ่นในบ่อปลา ดังนี้ 1. การใช้สารส้ม เพื่อให้เกิดการตกตะกอนแต่วิธีการนี้จะเป็นการแก้ไขชั่วคราวเท่านั้น และมักจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำตามมา เช่น น้ำมีสภาพความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น 2. การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตในอัตราประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน โดยใส่ติดต่อกันอัตราประมาณ 3-4 ครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้เกิดแพลงก์ตอนพืชซึ่งจะทำให้สารแขวนลอยจับตัวและตกตะกอน 3. การใช้ปุ๋ยพืชสด ในอัตราประมาณ 1,200-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน โดยกองไว้บริเวณมุมบ่อหรือบริเวณที่น้ำท่วมถึง การสลายตัวของปุ๋ยพืชสดจะช่วยทำให้เกิดการตกตะกอนมากขึ้น หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี โทร. 045-474-056