สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) หรือ GISTDA
เมื่อวันที่ 16 มี.ค.2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือ GISTDA ลงพื้นที่ไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. นำโดย ดร.สมชาย ใบม่วง และนักวิจัย GISTDA พร้อมด้วยคณะสื่อมวลชน นำเทคโนโลยีโดรนสำรวจพื้นที่ภัยแล้งภาคการเกษตร ที่บ้านไผ่เขียว หมู่ที่ 20 ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ดร.สมชาย ใบม่วง ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เปิดเผยว่า วช. ได้สนับสนุนการวิจัยให้ GISTDA ดำเนินการทำแพลตฟอร์ม “การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลงจากแบบจำลอง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงภัยแล้งเพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงภัยแล้ง โดยเลือกพื้นที่อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องใช้แพลตฟอร์ม ประเมินความเสี่ยง เนื่องจากมีจำนวนประชากรร้องขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งเป็นจำนวนมาก ด้านนายขวัญชัย วงษ์วิทยา ผู้ใหญ่บ้าน
วันที่ 2 กันยายน 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานสัมมนา “การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” เพื่อนำเสนอแพลตฟอร์มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง อีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับภูมิภาคและส่วนกลาง โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA เป็นประธาน ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานบริการจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการ การผลิตการลดผลกระทบด้านภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารสถานการณ์ต่าง ๆ และโรคอุบัติใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมี รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. และนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมเป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ ถนนรางนา กรุงเทพฯ ในโอกาสนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ได้กล่าวแสดงความยินดีว่า การตัดสินใจบนภาวะวิกฤติของประเทศ ข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลจากอวกาศจะช่วยให้เราเห็นภาพกว้าง ภาพใหญ่ ที่สามารถช่วยบริหารภาวะวิกฤติให้ดียิ่งขึ้นโดยไทยได้ประสบกับภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนามาตลอดสองปี อีกทั้งเหตุระเบิดของโรงงานสารเคมี ที่จังหวัดสมุทรปราการ ยังทำให้เกิดวิกฤติซ้ำซ้อน ภาคแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่จะบูรณากา
ประเทศไทยได้จัดตั้ง “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (DBAR)”ในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง อันเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ Chinese Academy of Sciences (CAS) สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นหนึ่งในจำนวน 8 ศูนย์ทั่วโลก ที่ได้มีการจัดตั้งในประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟินแลนด์ อิตาลี ปากีสถาน โมร็อกโก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และแซมเบีย โดยศูนย์ DBAR ที่ วช. เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศนานาชาติแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้รับเชิญให้กล่าวบรรยาย Keynote Speech ในพิธีเปิดการประชุม “4th Digital Belt and Road Conference” ที่เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสาระสำคัญว่า การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของโลกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป้าหมายของโครงการ ที่มุ่งเน้นเรื่องการพ
“อุตสาหกรรมเกษตร” มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะช่วยสร้างงาน อาชีพ และรายได้ให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ใครๆ ก็รู้ว่า อุตสาหกรรมเกษตร เป็นภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นสูง (high labor intensive) เป็นอาชีพที่ทำงานหนัก แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร เพราะกำลังการผลิตสินค้าเกษตรจะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเกษตรกรเข้าสู่ช่วงสูงวัย ขณะเดียวกัน แรงงานอายุน้อยในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เพราะหนุ่มสาววัยทำงานส่วนใหญ่เลือกทำงานในเมืองเพราะได้ผลตอบแทนที่สูงและทำงานสบายกว่า นอกจากไทยแล้ว หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียก็กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรอย่างหนักเช่นเดียวกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเกษตรกรไทย เล็งเห็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น จึงสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มภายใต้แนวคิด “เกษตรแปลงใหญ่” ในการจ้างแรงงาน ในการใช้เครื่องจักรกลสมัยใหม่ รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับแรงงานที่อายุน้อยเพื่อดึงดูดให้แรงงานเหล่านี้สนใจและหันมาทำการเกษตรมา