สำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช)
เลขาฯ มกอช. คณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ป่าละอู GI วางมาตรการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยระบบตามสอบสินค้าเกษตร QR Trace on Cloud นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) นำคณะผู้บริหาร พร้อมสื่อมวลชน ลงพื้นที่ สวนทุเรียนป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดูพื้นที่การปลูกทุเรียน ในพื้นที่ป่าละอู ซึ่งมีปริมาณผลผลิตไม่มาก ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย นายพิศาล กล่าวว่า ปัจจุบัน ประชาชนมีความสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยหันมาเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และผ่านการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ สินค้าที่มีเครื่องหมาย “Q” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกรับรองให้กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรนำไปใช้แสดงกับ สินค้าเกษตรที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีคุณภาพเทียบเท่า มาตรฐานสากล หากผู้บริโภคพบเห็นเครื่องหมาย Q
“ประภัตร” เดินหน้าขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ ชูกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย ผลิตทุเรียนมาตรฐาน GAP ด้าน มกอช.วางเป้าขยายพื้นที่แปลงใหญ่ทุเรียน จ.ตราด พัฒนาต่อยอดการตลาด ผ่าน DGTFarm.com หนุนใช้เครื่องหมาย Q และติด QR Trace ตรวจสอบย้อนกลับ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค วันนี้ (12 มิ.ย.63) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีมอบใบรับรองให้กับเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2556) แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ ณ ศูนย์เรียนรู้กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด นายประภัตรกล่าวว่า การดำเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เป้าหมายลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยมีคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ร่วมกับภาครัฐขับเคลื่อนการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องการพัฒนาเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการร่วมกัน ทั้งนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ม
วันที่ 1 มีนาคม 2561 ที่ข่วงเมืองน่าน จ.น่าน เลมอนฟาร์ม ร่วมกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ สสส. จัดพิธีให้คำปฏิญญา (Pledge) ของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์PGSน่าน ที่มุ่งแสดงเจตจำนงทำการผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์อย่างซื่อตรงต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาในการใช้ห่วงโซ่เกษตรอินทรีย์ทั้งระบบเพื่อสร้างอาหารที่สะอาดแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในการเลี้ยงชีพให้สามารถหยุดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ใช้เคมีเข้มข้นไปสู่เกษตรอินทรีย์ มีรายได้ ลดหนี้ และจะเป็นรูปแบบหนึ่งในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนสารเคมีของ จ. น่าน และร่วมแก้ปัญหาป่าน่านที่มีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 40% และแก้ปัญหาสุขภาพของคนเมืองน่าน นางสุวรรณา หลั่งน้ำสังข์ กรรมการผู้จัดการ เลมอนฟาร์ม ให้รายละเอียดงานว่า การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ PGS ที่จังหวัดน่านดำเนินการโดยเลมอนฟาร์ม ร่วมกับสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. โดยดำเนินการพัฒนารูปแบบกรณีศึกษาการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ Lemon F