สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่
นายพุฒิพงศ์ ศิริมาศย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 นายชำนาญ นุ่นดำ เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมให้บริการให้คำปรึกษาครบทุกด้าน และมีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ และใกล้เคียงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร โดยการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรไปในคราวเดียวกัน เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรจะได้รับบริการแบบครบวงจรในทุกๆ ด้าน ซึ่งเป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านการเกษตร มาให้บริการแก่พี่น้องเกษตรกรถึงในพื้น
วันที่ 16 มิถุนายน 2564 นายชูศักดิ์ วณิชวัฒนกุล หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดกระบี่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับจังหวัดกระบี่ เพื่อประชุมพิจารณากลั่นกรองคัดเลือกแปลงใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นเป็นตัวแทนจังหวัดไปแข่งขันในระดับเขต ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ นายชูศักดิ์ วณิชวัฒนกุล หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จังหวัดกระบี่ มีแปลงใหญ่ จำนวน 93 แปลง ได้แก่ ด้านพืช มีทั้งหมด 86 แปลง แยกเป็นแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน จำนวน 42 แปลง แปลงใหญ่ยางพารา จำนวน 21 แปลง แปลงใหญ่ผึ้งโพรง จำนวน 11 แปลง แปลงใหญ่ทุเรียน จำนวน 7 แปลง แปลงใหญ่ข้าว จำนวน 2 แปลง แปลงใหญ่ผัก จำนวน 2 แปลง และแปลงใหญ่กาแฟ จำนวน 1 แปลง ด้านปศุสัตว์ มีทั้งหมด 7 แปลง ประกอบด้วย แพะ จำนวน 5 แปลง โคเนื้อ จำนวน 2 แปลง ซึ่งในการประกวดแปลงใหญ่ระดับจังหวัด โดยให้สำนักงานเกษตรอำเภอคัดเลือกแปลงใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น อำเภอละ 1 กลุ่มเป็นตัวแทนเข้าประกวดแปลงใหญ่ดีเด่
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรจัดทำโครงการภายใต้กรอบนโยบายแผนงาน เกษตรอัจฉริยะ (เกษตรแม่นยำ เกษตรแปลงใหญ่ การเกษตรที่มีมูลค่าสูง) เพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งร่วมกันบริหารจัดการเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านอาหารและพลังงาน ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นายอนุชา ยาอีด เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มาตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน (2564) มีแปลงใหญ่ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด และจากข้อมูลแปลงใหญ่ในระบบ co-farm.doae.go.th มีข้อมูลแปลงใหญ่ จำนวน 93 แปลง โดยจำแนกได้ ดังนี้ ด้านพืช มีหน่วยงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่ ศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีทั้งหมด 86 แปลง แยก
หนู เป็นศัตรูพืชสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับสวนปาล์มน้ำมันทุกระยะ โดยหนูพุกใหญ่ และหนูนาใหญ่ มักกัดทำลายต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะชำและต้นปาล์มปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังมีหนูป่ามาเลย์ ที่เข้าทำลายปาล์มน้ำมันในช่วงให้ผลผลิต กัดกินตั้งแต่ช่อดอกอ่อน ผลปาล์มอ่อน ผลดิบ และกินกระทั่งเนื้อเปลือกผลสุก เกษตรกรหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากหนูป่ามาเลย์ ที่กัดกินทะลายปาล์มสดเสียหายสะสมรุนแรง ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคา รวมทั้งยังต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดหนูค่อนข้างสูง แต่ก็ยังไม่สามารถปราบหนูได้ ซึ่งมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำการศึกษาวิจัย การใช้ “นกแสก” กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก นกแสก เป็นนกประจำถิ่นของไทยซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ และเป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้และช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอก ติดต่อกัน จำนวนไข่ รังละ 5-7 ฟอง จำนวนต่ำสุด 2 ฟอง สูงสุด 15 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใ
ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีจำนวน 17 ชนิด ล้วนอยู่ในสกุล Paphiopedilum เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ซึ่งได้รับความสนใจนำมาปลูกเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์ และขยายพันธุ์เพื่อการค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรปและเอเชีย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งส่งออกกล้วยไม้รองเท้านารีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทั้งในรูปแบบของไม้กระถางและไม้ตัดดอก ในอดีต ประเทศไทย ส่งออกกล้วยไม้พันธุ์แท้ในช่วงปี 2535-2540 กว่า 2 ล้านต้น และหยุดไปหลังจากกำหนดให้กล้วยไม้เป็นพันธุ์พืชในกลุ่มพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ (ไซเตส) ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 มีชนิดพืชอนุรักษ์หรือพืชในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตสมากกว่า 28,000 ชนิด กล้วยไม้ เป็นพืชอนุรักษ์กลุ่มใหญ่ที่สุด และมีการทำการค้าระหว่างประเทศเป็นปริมาณสูง อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ ที่เกิดจากฝีมือมน