สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี
วันนี้เดินทางเข้าพื้นที่ดงแม่เผด บ้านสายป่าแดง ตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่องรอยของป่าเขาลำเนาไพร ไม่มีให้เห็น เป็นพื้นที่ภาคการเกษตร อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ไม้ผล ไม้ยืนต้น การพัฒนาการเกษตร ข้าว พืช สัตว์ ประมง “ที่นี่เราคือศูนย์กลางการเลี้ยงโคนมแห่งแรกของเมืองน้ำดำ” คุณอชวี ชานนท์ อายุ 34 ปี อยู่หมู่ที่ 4 บ้านสายป่าแดง ตำบลสะอาดไชยศรี ฟาร์มโคนมโฮลสไตน์ฟรีเซี่ยนหรือขาวดำ 40 ตัว รีดนม 23 ตัว ลูกน้อย 4 ตัว ตัวเมีย 3 ตัว ตัวผู้ 1 ตัว สถานที่ตั้งฟาร์มนอกหมู่บ้าน มีเรือนโรงโล่ง อากาศดี ติดกับบ้าน กำนันกิตติภณ ไชยนามน แห่งบ้านสายป่าแดง มีคนดูแลฟาร์ม 3 คน คุณอ้อเอนกโคนมสายป่าแดง บ้านเลขที่ 94 หมู่ที่ 4 ทำหน้าที่หมอประจำฟาร์ม โทร. 084-551-6863 คอยดูแลเรื่องการสัตวบาล อาหาร โรคภัยต่างๆ การจัดการการรีดนม เช้า บ่าย 2 เวลา ตัวละ 15 กิโลกรัม ต่อวัน ศูนย์กลางจำหน่ายสหกรณ์โคนมตำบลอัคคะคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด คุณอ้อเอนก เล่าให้ฟังว่า ลูกโคนมตัวผู้ขุนไว้ขายเป็นวัวเนื้อตัวละ 10,000 บาทขึ้นไปตามขนาด ส่วนวัวนมราคา 50,000 บาทขึ้น เป็นวัวนมคุณภาพน้ำนมดีมาก รี
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ซึ่ง สศท.4 ได้ติดตามการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ โดยทางกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการระหว่างปี 2559-2561 และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จากการติดตามสถานการณ์การผลิตและผลการดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวของจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565 รอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2564-มิถุนายน 2565) โดยติดตามแปลงใหญ่ข้าว 6 แปลง ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด อำเภอนาคู อำเภอเมือง อำเภอเขาวง อำเภอฆ้องชัย และอำเภอนามน พบว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกรวม 711 ราย พื้นที่เพาะปลูกข้าวรวมทั้งสิ้น 5,100 ไร่ (เฉลี่ย 7.17 ไร่/ราย) โดยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการ สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดย ปีเพาะปลูก 2564/65 มีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีเฉลี
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร. ตันติมา กำลัง นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในฐานะผู้แทน วว. มอบ “สารชีวภัณฑ์” รูปแบบหัวเชื้อสด 1,500 ถุง หัวเชื้อเหลว 200 ลิตร จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมตาไรเซียม และแบคทีเรีย BS ซึ่งมีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม ไม่มีสารพิษตกค้าง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการนำเข้าสารเคมีให้แก่ นาย ธงชัย จันทร์จู นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อแก้ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง อ้อย และพืชผัก ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอไทรโยค อำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ณ วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบัน วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วิจัยและพัฒนา “สารชีวภัณฑ์” ได้แก่ – BS (Bacillus Subtilis) แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus ป้องกันกำจั
หากพูดถึง เงาะ ที่นิยมบริโภคในปัจจุบัน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู เงาะสีทอง ฯลฯ แต่หากพูดถึงเงาะที่คนเมืองกาญจน์นิยมบริโภค ณ เวลานี้ คงหนีไม่พ้น “เงาะทองผาภูมิ” สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี รายงานว่า “เงาะทองผาภูมิ” (Thong Pha Phum Rambutan) หมายถึง เงาะพันธุ์โรงเรียน เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ มีลักษณะโดดเด่นคือ ผลค่อนข้างกลมเล็ก ขนสวย เปลือกบาง เมล็ดเล็ก เนื้อหนา หวาน ล่อน กรอบ ไม่ฉ่ำน้ำ พบพื้นที่ปลูกในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี และอำเภอศรีสวัสดิ์ พื้นที่ปลูกเงาะทองผาภูมิ จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ดอน ดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนดินเหนียว และเป็นป่ามีฝนตกบ่อยครั้ง ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว เงาะที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีรสชาติ และมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่น ในส่วนของอำเภอทองผาภูมิ มีพื้นที่ปลูกเงาะ จำนวน 1,054 ไร่ ให้ผลผลิต จำนวน 519 ไร่ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 620 กิโลกรัม ต่อไร่ ปัจจุบัน สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในขั้นตอนดำเนินการจดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographi