สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา
คุณสุทธิพร กาฬสุวรรณ เจ้าของโรงสีข้าวโสภณเจริญพาณิชย์ นายกกิตติมศักดิ์โรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ และอุปนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ให้ข้อมูลว่า นาข้าวทางภาคใต้ โดยภาพรวม 3 จังหวัดภาคใต้ นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง จะปลูกข้าว ประมาณ 500,000-600,000 ไร่/ปี แต่ละปี ปริมาณข้าวที่ออกมาจะใกล้เคียงกัน ในบางปีจังหวัดสงขลาจะมากกว่า และบางปีจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนพัทลุงปริมาณจะน้อยที่สุด ภาพรวมการผลิตจะมากกว่า 300,000 ตัน และบางปี 400,000 ตัน/ปี ภาวะข้าวภาคใต้ขณะนี้ มีผลผลิตต่อการบริโภค เพราะพื้นที่ทำนาลดลง จากเดิมที่มีอยู่ประมาณกว่า 1 ล้านไร่ ใน 3 จังหวัด คือ พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน 500,000-600,000 ไร่ และเป็นสวนยางพารา นอกนั้นยังเป็นนาร้างอีก 20-30 เปอร์เซ็นต์ “ความจริงที่นายังมีอีกมาก แต่เมื่อราคาข้าวไม่ดี ชาวนาก็ทิ้งไป จนกลายมาเป็นนาร้างกัน ทั้งนี้นาข้าวก็จะขยายตัวเติบโตมาก สมัยที่รัฐบาลมีโครงการ เช่น โครงการการรับจำนำข้าว ประกันราคาข้าว ภาคใต้ขณะนั้นจะมีข้าวประมาณ 400,000-500,000 ตัน/ปี” สำหรับประชากรภาคใต้ มีมากกว่านาข้าว ข้าวจึงไม่พอต่อการบริโภค และหาก
นายศิรสิทธิ์ ชลหัตถ์ Young Smart Farmer อำเภอเกาะยาว อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 36/2 หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำงานโรงแรมตั้งแต่พนักงานยกกระเป๋า ด้วยความขยัน และมีความพยายามจนเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมระดับห้าดาวในจังหวัดภูเก็ต เงินเดือนหลักแสน แต่ด้วยใจรักด้านการเกษตร ตอนที่ยังทำงานโรงแรมก็แบ่งเวลาทำการเกษตรและสร้างรีสอร์ตเป็นอาชีพเสริม ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับโรงแรมเกือบ 20 ปี โดยใช้ชื่อว่า “YAO Island Resort & FARM” โดยมีรีสอร์ต จำนวน 3 หลัง เต็นท์ จำนวน 6 หลัง และร้านอาหาร และได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม รวมกับที่มีอยู่เดิม ประมาณ 10 ไร่เศษ ทำกิจกรรมการเกษตร ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน นาข้าว ไม้ผล พืชผัก เลี้ยงไก่อินทรีย์ ปศุสัตว์ การทำปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น กิจกรรมในฟาร์มไม่มีการใช้สารเคมี มีการทำอาหารสัตว์เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต การกำจัดกลิ่นปุ๋ยคอกโดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ ได้สมัครเป็น Young Smart Farmer ของอำเภอเกาะยาว เมื่อปี 2561 และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา เป็นเครือข
คุณสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวแนะนำเกษตรกรว่า ในช่วงหน้าแล้ง ขอให้เฝ้าระวังการเกิดไฟไหม้ในสวนและจากสาเหตุภัยแล้ง อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับพืชได้ ส่งผลทำให้การติดดอกออกผลลดลง ทำให้คุณภาพผลผลิตต่ำ เสียหาย หรืออาจทำให้ต้นพืชตายได้ จึงแนะนำวิธีการป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้น โดยขอให้เกษตรกรหมั่นดูแลรักษาพืชในช่วงหน้าแล้ง ดังนี้ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่รอบโคนต้นพืช แต่ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีช่วงหน้าแล้ง หากมีความจำเป็น ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ต้องให้ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ กรณีในสวนไม้ผล ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เนื่องจากจะทำให้หญ้าตาย ดินแห้ง ขาดความ ชุ่มชื้น ส่งผลให้ระบบรากพืชเสียหาย ไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งเมื่อหญ้าตาย เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้สวนได้อีกด้วย ควรกำจัดวัชพืชในสวนโดยวิธีการตัดหญ้า ถางหญ้า แล้วนำเศษวัชพืชไปคลุมโคนต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ เป็นการรักษาความชื้นและสามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักต่อไป ไม่ควรไถพรวนดินในสวน หรือแปลงพืช เพราะเป็นการทำลายระบบรากพืช ทำลายระบบนิเวศ ทำให้ดินสูญเสียความชื้น และควรทำแนวป้องกันไฟไหม้สวนด้วย &nbs