สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือเป็นแหล่งปลูกกระเทียมที่สำคัญของประเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะที่อำเภอน้ำปาด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกระเทียมพันธุ์ไทยแท้ที่เกษตรกรเรียกว่า พันธุ์ดอ หรือที่ผู้บริโภคต่างรู้จักในชื่อ กระเทียมน้ำปาด โดยมีคุณสมบัติเด่น คือ หัวกระเทียมเป็นสีชมพูอมม่วง มีค่าสารอินทรีย์กำมะถันสูงถึง 1.543 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประเทศ รวมทั้งมีกลิ่นฉุน เปลือกบาง เมื่อแห้งจะแกะง่าย ขนาดของกลีบจะใหญ่แกร่ง ไม่ฝ่อง่าย กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าไปดำเนินการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกอย่างต่อเนื่อง เช่น การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูก การสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งการผลิตและการตลาด ในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิต เช่น ผ่านเว็บไซต์ www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com เป็นต้น โดยปีการผลิต 2564/65 นี้ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงานว่า มีพื้นที่ปลูกรวม 87 ไร่ จากเกษตรกร 27 ครัวเรือน มีผลผลิตรวม 84 ตัน (วันที่ข้อมูล ณ วันที่ 7 มีนาคม 2565) ด้าน นายพัฒนศักดิ์ พ่วงสมบัติ เกษตรจ
วันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 10.00 น. “นายประโชติ นิลรัตน์” เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วย “นายอดุลย์ศักดิ์ ไชยราช” หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ “นายประสิทธิ์ สว่างมณีเจริญ” หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช เกษตรอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมพบปะสื่อสารทำความเข้าใจแก่เกษตรกร และมอบปัจจัยการผลิต กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชผลตอบแทนสูง ตามโครงการส่งเสริมการเกษตรเขื่อนทดน้ำผาจุก ปี 2563 มีเกษตรกรร่วมกิจกรรม และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ณ วัดพระฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ .
เมื่อเข้าสู่หน้าฝนเป็นช่วงที่ทุเรียนหลง-หลิน ลับแล แห่งเมืองอุตรดิตถ์ สุกพร้อมออกสู่ตลาด นับเป็นช่วงเวลาที่รอคอยของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งผลให้บรรยากาศในตลาดทุเรียน เทศบาลตำบลหัวดง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ในฤดูกาลผลผลิตนี้คึกคัก เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมเลือกซื้อทุเรียนเพื่อไปรับประทาน รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้ามาเลือกซื้อทุเรียนเพื่อนำส่งสู่ผู้บริโภคทั่วไทย ทุเรียน “หลงลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายลม-นางหลง อุประ ชาวบ้านหัวดง ตำบลแม่พูล ซึ่งได้นำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูกจนต้นโตติดผลดก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมา ปี 2520 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม “ทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด” ของจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการประกวดของกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร จึงจดทะเบียนรับรองพันธุ์ ในชื่อ “ทุเรียนหลงลับแล” ในปี 2521 โดยลักษณะเด่น ผลกลม ร่องพูไม่ชัดเจน เมล็ดลีบ เนื้อในสีเหลืองจัด รสชาติหอมมัน กลิ่นอ่อน ทุเรียน “หลินลับแล” ต้นเดิมปลูกโดย นายหลิน บันลาด ชาวบ้านผามูบ ซึ่งนำเอาเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์ไปปลูก ณ บ้านผามูบ ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อมาออกผล เกิดการกลายพันธุ์ มีรูปท
สับปะรดห้วยมุ่น เป็นผลไม้เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองน้ำผึ้ง กลิ่นหอม รสหวานฉ่ำแบบธรรมชาติ กินไม่กัดลิ้นหรือมีกากใยช่วยในระบบการย่อยที่ดีต่อสุขภาพ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ปลูกง่าย กำไรงาม เกษตรกรได้จัดการปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อผลิตให้ได้ผลสับปะรดห้วยมุ่นคุณภาพนำออกสู่ตลาด ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เงินแสนบาทนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง คุณพี่บัวผัน มูลเงิน เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ปลูกสับปะรดห้วยมุ่น 5 ไร่ ได้เริ่มปลูกเมื่อปี 2554 หลังการปลูกได้ดูแลรักษาที่ดีมีผลผลิตคุณภาพออกขาย แต่ด้วยความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น จึงเห็นว่าจะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ จึงเช่าพื้นที่ 20 ไร่ เพื่อปลูกสับปะรดเพิ่ม มีค่าใช้จ่ายในการเช่า 5,000 บาท ต่อปี ต่อไร่ การปลูกครั้งแรก ได้ไปซื้อหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมา 20,000 หน่อ หน่อละ 1.50 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท ด้วยลักษณะภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมพื้นที่ปลูกมีความแตกต่างจากแหล่งปลูกเดิม จึงทำให้ได้ผลสับปะรดคุณภาพที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น จึงเรียกว่า สับปะรดห้วยมุ่น เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ปลูกมีรายได้ มีความมั่น