สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น
บ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่บ้านเป้าหมายสำหรับการดำเนินการผลิตผักปลอดภัยภายใต้การดูแลของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น โดยใช้หลักคิด “การตลาดนำการเกษตร” เน้นให้สมาชิกกลุ่มผลิตผักให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและสร้างฐานตลาดที่มั่นคงต่อยอดเพื่อเป็นการปลูกผักแปลงใหญ่ พร้อมยกระดับมาตรฐานโรงงานคัดแยก GMP และโรงคัดบรรจุพืชผัก (Packing House) จึงนับเป็นต้นแบบการตลาดนำการผลิตหรือโนนเขวาโมเดล เพื่อส่งเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด ที่มีเทสโก้ โลตัส เป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ สร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวบ้าน คุณอภิสิทธิ์ ชุมยางสิม ประธานกลุ่มเกษตรทำสวนบ้านโนนเขวา โทรศัพท์ (084) 516-0085 บอกถึงที่มาของกลุ่มว่า เกิดจากเมื่อครั้งที่มีโครงการพระราชดำริชื่อ “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดยมีสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบได้สำรวจว่าในพื้นที่มีกลุ่มใดที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนี้บ้าง อีกทั้งเพื่อต้องการให้เป็นโครงการเกษตรที่มีกิจกรรมครบวงจรหรือโครงการเสริมสร้างเพิ่มประสิทธิภาพในพื้
“กล้วยน้ำว้า” เป็นหนึ่งในไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสุโขทัย มีเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยน้ำว้าประมาณ 1,721 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกรวม 7,047 ไร่ มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอำเภอศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดถึง 668 ราย เนื้อที่ปลูก 2,905 ไร่ รองลงมาคือ อำเภอกงไกรลาศ เกษตรกรจำนวน 457 ราย เนื้อที่ปลูก 2,115 ไร่ การปลูกดูแล กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน แต่ชอบดินร่วน มีอินทรียวัตถุและความชื้นสูง ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง หลังจากการปลูกกล้วยน้ำว้าแล้วจะให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่อปลูกได้ 8-10 เดือน ซึ่งในจังหวัดสุโขทัย แหล่งปลูกกล้วยน้ำว้าสามารถแตกหน่อเติบโตให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดตลอดปี โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 32 เปอร์เซ็นต์ การเตรียมแปลง ควรไถพรวนดินและตากดินนาน 1-2 สัปดาห์ และกำจัดวัชพืชก่อนปลูก วางแนวและขุดหลุมปลูกในระยะ 4×4 เมตร หรือมากกว่า หากที่ระยะถี่กว่านี้จะทำให้ต้นที่แตกใหม่เบียดกันแน่นในปีที่ 2 ขุดหลุมปลูกกว้างxยาวxลึก ที่ 50x50x50 เซนติเมตร กลบหรือโรยปุ๋ยคอก อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อหลุม ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 50-100 กรัม
“พินิจ ” นำทีมชุมนุมสหกรณ์สวนยางบึงกาฬชี้แจงสื่อ ถึงปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราว่าเกิดจากความบกพร่องของระบบราชการ ไม่ใช่ปมปัญหาทุจริต วันนี้ (11 กันยายน 2563) นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ นำทีมคณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด ประกอบด้วย นายแน่น จำปาศรี ประธานชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัด นายเกษตร สิทธิไกรพงษ์ ที่ปรึกษา และนายชูศักดิ์ สุทธิศรี ผู้จัดการโรงงานแปรรูปหมอนและที่นอนยางพารา รวมทั้งนายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ)ตั้งโต๊ะแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราของจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดบึงกาฬ จำกัดร่วมกันให้ข้อมูลว่า ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จังหวัดบึงกาฬ จำกัด ถูกจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการเกี่ยวกับยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพทุกมิติ ที่ผ่านมา เกษตรกรขายยางก้อนถ้วยในราคาต่ำ เพราะไม่มีการวัดค่าเปอร์เซ็นเนื้อยางแห้งหรือค่า DRC (Dry
จังหวัดเชียงราย กำหนดจัดงาน “มหกรรมสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย” ซึ่งจัดระหว่าง วันที่ 11-15 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เวลา 11.00-21.00 น. นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมเอื้อต่อการเป็นแหล่งพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ สามารถผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่สำคัญ มีพืชเฉพาะถิ่นที่มีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากล เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ชา กาแฟ สับปะรดภูแล/นางแล ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอเวียงแก่น ปลานิล โคเนื้อ และโคนม ปัจจุบัน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรมากเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีพื้นที่ 3,726,667 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 51.5% ของพื้นที่ทั้งหมด (พื้นที่ทั้งหมดจังหวัดเชียงราย 7,240,121 ไร่) เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 1,407,286 ไร่ พืชไร่ 1,111,006 ไร่ พืชสวน 905,40 ไร่ และอื่นๆ 1,208,374 ไร่ (ข้อมูลการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน 2558-2559) และสามารถผ