ส่งออกมะม่วง
วช.หนุนนักวิจัย ม.นเรศวร ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปต่างประเทศสู้ศึกโควิด-19 ค้นพบวิธียืดอายุการเก็บรักษามะม่วงได้นานถึง 33 วัน จากเดิมได้แค่ 15 วัน ด้วยตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมสภาพบรรยากาศ เผย “รัสเซีย ดูไบ ญี่ปุ่น เกาหลี” ฮิต ปี 63 ทำรายได้มากกว่า 1.9 พันล้านบาทให้ประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2564 ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า ได้ขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่อง “การจัดการห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองครบวงจรสู้วิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด -19”เนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในผลไม้ส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ที่ผ่านมา มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีผลผลิตเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศและไม่สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ จากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2563 ประเทศไทยส่งออกมะม่วงสดทั้งหมด 87,260 ตัน มูลค่าการส่งออก 1,953.2 ล้านบาท โดยผลผล
จริงอยู่การปลูกมะม่วงของชาวสวนมะม่วงไทยในเชิงพาณิชย์ปัจจุบันนี้ แทบทั้งหมดจะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากผลิตเพื่อการส่งออกเกือบทั้งหมด พื้นที่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก หลักๆ จะอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, อุดรธานี, พิจิตร, สระแก้ว, สุพรรณบุรี, เชียงใหม่ ฯลฯ เช่นเดียวกันกับที่ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. (081) 886-7398, (081) 901-3760 ก็ปลูกมะม่วงไทยหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่ปลูกเป็นจำนวนมาก สุดท้ายได้ตัดสินใจเปลี่ยนยอดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นมะม่วงพันธุ์อาร์ทูอีทูทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงราคามะม่วงน้ำดอกไม้ที่ราคาตกต่ำในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อผลิตในเชิงการค้า สร้างปริมาณสินค้าที่มากพอ เพราะมีพ่อค้ามารับซื้อเพื่อการส่งออกทั้งหมด และได้ราคาดีไม่แพ้มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง อีกทั้งมีราคาดีตลอดฤดูกาล แม้จะเป็นช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีราคาตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากๆ ซึ่งมะม่วงอาร์ทูอีทู ก็จำหน่ายได้กิโลกรัมละประมาณ 30-80 บาท (ซึ่งราคาจะปรับตัวขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในภาพรวมราคาก็ถือว่าดีมากพอสมควร) โดยราคาซื้อข
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จับมือหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าขับเคลื่อนโมเดล “ตลาดนำการผลิต”ของ “จุรินทร์” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เห็นผลโดยเร็วในปี 2564 โดยได้บูรณาการหน่วยงานภาครัฐ (กระทรวงพาณิชย์.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) และภาคเอกชน (ผู้ส่งออก บริษัทค้าปลีก ค้าส่งของไทย) ลงพื้นที่พบปะสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร เร่งติดอาวุธสินค้าเกษตรไทยด้วยการพัฒนาให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน พร้อมหาตลาดกระจายสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นำร่องกับมะม่วง ส้มโอ และพริกซอส ในจังหวัดพิจิตร แนะใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพิ่มแต้มต่อทางการค้าขยายการส่งออก หวังสร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืน นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ นำคณะผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการค้าภายใน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิจิตร และหน่วยงานภาคเอกชน อาทิ สถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย (สถาบัน Thai GAP) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัทเซ็นทรัลฟู้ดรีเทล จำกัด
อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จัดเป็นแหล่งผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกอันดับต้นๆ ของจังหวัด มะม่วงที่สร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้ คือ มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 คุณกำพล กายสิทธิ์ รองประธานกลุ่มแม่บ้านทับประดู่ ตำบลท่าเกวียน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เล่าถึงการทำงานของกลุ่มแม่บ้านทับประดู่ ว่า เน้นให้สมาชิกของทุกรายดำเนินการผลิต บำรุงรักษาภายใต้มาตรฐานของ GAP หรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการตอกย้ำให้ผู้ส่งออกมะม่วงมีความเชื่อมั่นมากขึ้น เปิดทางให้ผลผลิตทางการเกษตรประเภทนี้สามารถเดินทางสู่ตลาดทั่วโลกได้ ในแต่ละปี สมาชิกกลุ่มนี้สามารถผลิตได้ปีละ 1,000 ตัน และมีมูลค่าการตลาด ปีละ 20 ล้านบาท โดยสมาชิกจะมีรายได้ต่อฤดูกาลผลิต ต่อไร่ รายละ 40,000 บาท มีการปลูกต่ำสุดบนเนื้อที่ 15 ไร่และสูงสุด 50 ไร่ มีสมาชิกทั้งสิ้น 53 ราย โดยตลาดส่งออกมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทรับประทานดิบ มะม่วงฟ้าลั่น ส่งออกไปยังประเทศเวียดนามและกัมพูชา ส่วนประเภทรับประทานสุก ส่งออกไปยังเกาหลีและจีน สำหรับตลาดภายในประเทศมีจำหน่ายในร้าน
“ มะม่วง ” เป็นไม้ผลที่มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ ปี 2559 มีพื้นที่ปลูกมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว 2,145,211 ล้านไร่ จำนวนผลผลิต 3,243,559 ตัน กรมส่งเสริมการเกษตรได้สรุปมูลค่าผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ ปี 2558 มะม่วงน้ำดอกไม้ มูลค่าประมาณ 59,556 ล้านบาท มะม่วงเขียวเสวยประมาณ 88,300 ล้านบาท และกลุ่มมะม่วงคละชนิดอีกประมาณ 70,515 ล้านบาท (ที่มา :ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2559) จึงกล่าวได้ว่า มะม่วง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยอย่างมหาศาล และมีอัตราการเติบโตถึงปีละ 10-15% หากอยากรู้ว่า ตลาดส่งออกมะม่วงของไทยในอนาคตจะดำเนินไปในทิศทางใดนั้น ต้องฟังคำตอบจากบทสัมภาษณ์ “คุณวุฒิชัย ดอนทองแอ ” ประธานคณะบริหารการจัดซื้อฝ่ายเกษตร บริษัท สวิฟท์ จํากัด ดังต่อไปนี้ จุดเริ่มต้นกิจการ บริษัท สวิฟท์ จำกัด เป็นกิจการคนไทยที่ดำเนินธุรกิจด้านส่งออกพืชผัก และผลไม้สด ระยะแรกบริหารงานในลักษณะซื้อมาขายไป แต่ควบคุมคุณภาพผลผลิตไม่ได้ จึงเปลี่ยนนโยบายหันมาสร้างเกษตรกรเครือข่ายโดยทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ( Contract farming ) โดยให้การช่วยเหลือด้านเงินทุน องค์ความรู้แก่เกษ
“ อยากกินส้มรสอร่อย ต้องเลือกซื้อ “ส้มฝาง” หากอยากได้มะม่วงคุณภาพดีเกรดส่งออก ต้องนึกถึง “ มะม่วงอำเภอพร้าว “ ก่อนเป็นที่แรก ” นี่เป็นคำบอกเล่าของคุณวิสูตร์ เจริญเมืองมูล อดีตเกษตรอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเอ่ยถามถึงตลาดผลไม้ในท้องถิ่น ธุรกิจมะม่วงพันล้าน ของจังหวัดเชียงใหม่ คุณวิสูตร์ บอกว่า อำเภอพร้าว เป็นแหล่งแรกที่เริ่มต้นปลูกมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออกในจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่า การทำสวนมะม่วงช่วยสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรในอำเภอพร้าวจำนวนมาก สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ หันมาสนใจปลูกมะม่วงเชิงการค้ากันมากขึ้น ทำให้มะม่วง กลายเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สวนมะม่วงจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง โชคอนันต์ มหาชนก นวลคำ เขียวมรกต มันขุนศรี ฯลฯจำหน่ายสินค้าใน 2 รูปแบบ คือ ประเภทผลดิบ และ ผลสุก ส่งขายตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน สิงค์โปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ สินค้าเกรดรองถูกส่งขายตลาดในประเทศ เช่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ฯลฯ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงในจังหวัดเชียงให