หนอนหัวดำมะพร้าว
ศวพ. เพชรบุรี งัดมาตรการเด็ดทดสอบใช้ชีวภัณฑ์ “แตนเบียนโกนิโอซัสและมวลพิฆาต” กำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว สยบปัญหาการระบาดในพื้นที่บ้านแหลม จ.เพชรบุรี มั่นใจมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อคน แมลงศัตรูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี (ศวพ. เพชรบุรี) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เพื่อลดปัญหาการระบาดหนอนหัวดำมะพร้าว ในพื้นที่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี กรณีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและเลี้ยงปลาไม่เห็นด้วยกับแนวทางลดปัญหาการระบาดหนอนหัวดำมะพร้าว โดยใช้สารเคมีกำจัดพ่นทางใบ ซึ่งจากการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า พื้นที่ดังกล่าวเกษตรกรมีอาชีพหลัก คือ เลี้ยงกุ้งและปลา เกษตรกรมีความเชื่อว่า สารเคมีที่ใช้พ่นทางใบเหล่านี้หากเกิดการชะล้างลงแหล่งน้ำจะทำให้กุ้งและปลาตายเกิดความเสียหาย แม้เจ้าหน้าที่จะเข้าไปชี้แจงปัญหาดังกล่าว แต่เกษตรกรก็ยังไม่คลายข้อสงสัยและความกังวล ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงใช้ชีวภัณฑ์กำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรในชุมชนแห่งนี้ ศวพ. เพชรบุรี ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักวิจัยพั
สวพ.7 หวั่นซ้ำรอยสมุย ส่งชุดเฉพาะกิจรุกสร้างการรับรู้เรื่อง “การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว” ชาวเกาะเต่า ลดความเดือดร้อนชาวสวน-ปกป้องแหล่งท่องเที่ยวระดับประเทศ หลังได้รับร้องเรียนศัตรูมะพร้าวระบาดหนัก ต้นล้มตายเป็นจำนวนมาก เร่งใช้ชีวภัณฑ์ปราบ-หนุนทำเกษตรอินทรีย์แก้ปัญหาแบบยั่งยืน นายวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 (สวพ.7) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน เกาะพงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีชื่อเสียงของประเทศระดับโลก และมีมะพร้าวเป็นสินค้าอัตลักษณ์หนุนการท่องเที่ยวเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมะพร้าวเกาะพะงันได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( Geographical Indication) หรือสินค้า GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าเป็นมะพร้าวมีลักษณะเด่นเฉพาะถิ่นดังนี้ “มะพร้าวใหญ่ สะโพกโต เนื้อหนา กะลาแข็ง ก้านใหญ่ ทางใบยาว เนื้อมะพร้าว 2 ชั้น น้ำมันใส ในเปลือกเหนียว เนื้อหวานมัน โดยปัจจุบันอำเภอเกาะพะงันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว จำนวน 22,000 ไร่ ปลูกไร่ละ 20 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 60 ผล/ต้น ให้ผลผลิตมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 26 ล้า
ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม “หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเ
นครราชสีมา – ว่าที่พันตรีณรงค์ชัย ค่ายใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) เผยว่า ศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาทดสอบ ประยุกต์และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช แบบผสมผสานให้เหมาะสมกับพื้นที่ ขณะนี้ศูนย์สามารถผลิตขยายศัตรูธรรมชาติได้ทั้งตัวห้ำ เช่น มวนพิฆาต แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มีส่วนผสมสมุนไพรควบคุมศัตรูพืช เช่น สะเดา ตะไคร้หอม หางไหล หนองตายหายาก ที่ผ่านมาประสบปัญหาด้านงบประมาณในการผลิตแตนเบียนที่มีน้อยและมีห้องผลิตที่จำกัด จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถผลิตแตนเบียนเอง เพื่อควบคุมศัตรูพืชในพื้นที่โดยไม่ต้องลงทุนสูง แทนการรอแตนเบียนที่ผลิตจากศูนย์ส่งเสริมฯ พยายามทดลองและหาวิธีการที่ง่ายให้เกษตรกรทำได้เองในพื้นที่ เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย จึงนำเทคนิคที่ได้นี้ไปใช้จริงในพื้นที่ที่ประสบปัญหา ปัจจุบัน หนอนหัวดำมะพร้าวระบาดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหลายจังหวัด หากไม่รีบดำเนินการป้องกันกำจัดต้นมะพร้าวจะเกิดความเสียหายกระจายวงกว้างออกไปมาก หากปลูกใหม่ต้องใช้เวลา 3-4 ปีจึงจะเ
หนอนหัวดำมะพร้าว ศัตรูตัวร้ายที่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั่วประเทศ แม้ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวจะคลี่คลายลงไปแล้ว แต่ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรยังคงเดินหน้าโครงการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการระบาดต่อไป นายปราโมทย์ เข็มขาว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชดินและปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า อยากให้เกษตรกรเฝ้าระวังติดตามสถานการ์การระบาดของศัตรูพืชอย่างหนอนหัวดำ ที่ระบาดรุนแรงมากในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยการสำรวจตรวจสภาพพื้นที่การเกษตรหรือสวนมะพร้าวของตนเองก่อนว่า มีปัญหาแมลงศัตรูพืชหรือไม่ ก่อนที่จะขยายไปยังแปลงอื่นที่อยู่ใกล้เคียง สำหรับการผลิตแตนเบียนก็เพื่อให้มีความพร้อมในการนำไปกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับทุกคน ส่วนสารเคมีแม้จะเป็นสิ่งที่ทางหน่วยงานราชการไม่แนะนำ เนื่องจากมีเอกชนเข้าไปดำเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่าการกำจัดหนอนหัวดำต้องใช้สารเคมีมาช่วย ซึ่งอยากให้เกษตรกรใช้สารเคมีที่เราแนะนำให้เท่านั้น นางจุตติมา สอนประสม เกษ
นายสามารถ ชื่นวงศา เกษตรจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งสิ้น 46,293 ไร่ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวล่าสุดพบพื้นที่ระบาดรวม 7,071 ไร่ กระจายอยู่เกือบทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ระบาดมากที่สุด ได้แก่ อำเภอบางละมุง อำเภอศรีราชา อำเภอบ้านบึง และอำเภอเมืองชลบุรี ซึ่งในปีนี้จังหวัดชลบุรีมีพื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว ในระดับจังหวัด อำเภอและตำบล เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 เป็นต้นมา โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ดำเนินโครงการผลิตขยายแตนเบียนบราคอนเพื่อใช้ควบคุมและป้องกันการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวมาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวของชลบุรีจะใช้การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มณฑลทหารบกที่ 14 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพ
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวต้องใช้วิธีแบบผสมผสาน ได้แก่ การตัดทางใบมาเผาทำลาย การใช้ศัตรูธรรมชาติ (แตนเบียนบราคอน) ควบคู่กับการใช้สารเคมี ซึ่งวิธีการใช้สารเคมีนั้นต้องดำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทุกขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจและทำเครื่องหมายที่ต้นมะพร้าวแต่ละต้นที่พบการทำลายของหนอนหัวดำ เป็นการชี้เป้าหมายในการใช้สารเคมีเข้าควบคุม โดยแบ่งเป็นมะพร้าวที่มีความสูงมากกว่า 12 เมตร จะจัดการโดยฉีดสารเคมีเข้าต้น ต้องทำเครื่องหมายสีเหลืองไว้ที่ต้น ส่วนมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร จะจัดการโดยตัดทางใบและนำมาเผา ควบคู่กับการฉีดพ่นสารเคมีทางใบ จะทำเครื่องหมายสีแดงไว้ที่ต้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าต้นดังกล่าวต้องดำเนินการด้วยการฉีดหรือพ่นสารเคมีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวต้องดำเนินการอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อประสิทธิภาพที่ยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจและทาสีทำเครื่องหมายในต้นที่พบการระบาดให้ครบทุกต้นในพื
วันที่ 26 เมษายน 2560 นายมงคล จอมพันธ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผลสรุปจากการรายงานผลสำรวจ สวนมะพร้าวทั้ง 8 อำเภอ หลังจากมีการบาดของหนอนหัวดำ มีความรุนแรงเข้าขั้นวิกฤตมากที่สุดในรอบ 10 ปี จากสถานการณ์ภัยแล้งและสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้หนอนหัวดำมีการขยายพันธ์และระบาดอย่างรวดเร็ว ล่าสุดพบว่ามะพร้าวต้นต่ำกว่า 12 เมตร เสียหาย 1.5 ล้านต้น มะพร้าวสูงกว่า 12 เมตรเสียหาย 2.5 ล้านต้น สำหรับอำเภอทับสะแกแหล่งผลิตมะพร้าวคุณดีที่สุดในประเทศมีการระบาดมากที่สุด 2 ล้านต้น ทำให้ผลผลิตมีราคาสูงถึงผลละ 23 บาท และมะพร้าวขาวมีราคา กิโลกรัม(กก.)ละ 42 บาท ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจจะเป็นฐานข้อมูลในการกำจัดหนอนหัวดำด้วยวิธีผสมผสานโดยการมีส่วนอย่างยั่งยืน หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ใช้งบประมาณกว่า 287 ล้านบาท ดำเนินการทั้ง 29 จังหวัดที่มีการระบาด “ ล่าสุดพบว่าบางจังหวัดมีการระบาดของหนอนหัวดำเพิ่มขึ้น ทำให้กระทรวงเกษตรฯต้องวางแผนในการใช้งบประมาณให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สำหรับ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีการระบาดของหนอนหัวดำมากที่สุดในประเทศคาดว่าจะมีสัดส่วนการใช้งบประมาณกว่าร้อยละ 80 ของ
วันที่ 1 มีนาคม 2560 นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม นำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายปกครองท้องที่,ท้องถิ่น, เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงแขกกำจัดหนอนหัวดำ ใน ต.บางนางลี่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อนำร่องการลดพื้นที่การระบาดและควบคุมหนอนหัวดำไม่ให้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวได้เรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ ด้วยวิธีแบบผสมผสาน ตลอดจนชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการระบาดของหนอนหัวดำส่งผลให้การจัดการศัตรูมะพร้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันกำจัดมะพร้าวได้ด้วยตนเอง โดยการกำจัดหนอนหัวดำครั้งนี้มีทั้งการตัดทางใบมะพร้าว ตัดต้นที่ถูกหนอนหัวดำเผาทำลาย เพื่อกำจัดในระยะไข่ ระยะหนอน และระยะดักแด้, การฉีดพ่นเชื้อบีที(บิวเวอร์เรี่ย)ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้และผู้บริโภครวมทั้งพืชผล สามารถทำให้หนอนหัวดำเคลื่อนไหวช้า หยุดกินอาหาร และตายภายใน 3 – 7 วัน, การใช้สารเคมี ฟลูเบนไดเอไมด์ 20 เปอร์เซ็นต์ WG กรณีมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร และการฉีดสารเคมี อีมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92 เปอร์เซ
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับแจ้งรายงานจากสำนักงานเกษตรจังหวัด พบการระบาดหนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสภาพอากาศมีความเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของหนอนหัวดำ โดยเฉพาะสวนปาล์มน้ำมันในภาคใต้และภาคตะวันออก พบการระบาดแล้ว ในพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี พื้นที่เสียหายประมาณ ๑๘๐ ไร่ เกษตรกรได้รับความเสียหายแล้ว ๑๘ ราย และเกรงว่าจะขยายการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ซึ่งสาเหตุการระบาดเกิดจากหนอนหัวดำเข้าทำลายสวนมะพร้าวในบริเวณใกล้จนหมดแล้วจึงลุกลามเข้าไปทำลายต้นปาล์มน้ำมัน กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรป้องกันกำจัดหนอนหัวดำในปาล์มน้ำมัน โดยประยุกต์จากวิธีการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว ดังนี้ 1.ตัดทางใบที่ถูกทำลายแล้วนำไปเผาทันที 2.ใช้เชื้อจุลินทรีย์ (บีที) ที่ได้มาตรฐานฉีดพ่น 3.ใช้แตนเบียนหนอนและแตนเบียนดักแด้ 4.ใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นและฉีดพ่นทางใบ เพื่อทำการควบคุมการระบาดเบื้องต้นจนกว่าจะได้ผลงานวิจัยอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการควบคุมหนอนหัวดำ ดังนี้ มาตรการที่ ๑ เฝ้าระวังสถา