หนอนเจาะ
สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนั
ในระยะที่มีฝนตกปานกลางถึงหนักมาก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนลำไยเฝ้าสังเกตการเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผล สามารถพบได้ในระยะที่ต้นลำไยเริ่มติดผลอ่อน โดยจะพบหนอนเข้าทำลายลำไยที่เริ่มติดผลอายุประมาณ 1 เดือน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว ขณะที่ผลลำไยมีขนาดเล็ก น้ำหนักช่อน้อย ช่อผลลำไยชูขึ้น ผีเสื้อตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่ส่วนปลายของผลลำไย หากหนอนฟักออกจากไข่ก็จะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในผล และไม่สามารถเห็นรอยทำลายของหนอนจากการมองดูภายนอกได้ เมื่อผ่าผลลำไยดูจึงจะเห็นรอยที่ถูกหนอนเข้าทำลาย ผลที่ถูกทำลายจะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ผลจึงร่วงหล่นหมด และจะพบหนอน 1-3 ตัว ต่อผล การเข้าทำลายของหนอนในระยะที่ผลลำไยเริ่มเปลี่ยนสี มีขนาดผลโตขึ้น น้ำหนักผลเพิ่มขึ้น และช่อผลโค้งลง ผีเสื้อตัวเต็มวัยจะวางไข่อยู่บริเวณใกล้ขั้วผล และจะพบหนอนหรือมูลหนอนอยู่ที่ขั้วผลเสมอ ทำให้ผลลำไยร่วงหล่นได้ง่าย ให้สังเกตดูบริเวณใกล้ขั้วผล จะพบรูเล็กๆ ที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้ภายนอก กรณีที่ผลลำไยไม่ร่วงหล่น เกษตรกรชาวสวนลำไยยังสามารถนำมาขายได้ราคาดีอยู่ เพราะดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทำลายของหนอน สำหรับในสวนลำไยที่พบการระบาดของหนอนเจา