หนี้ครัวเรือน
ปัญหาหนี้ครัวเรือนส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและเศรษฐกิจที่สะสมมานาน เร่งแก้ช่วยเหลือเดินหน้าลดหนี้พร้อมกับสร้างอาชีพสร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยระบบสหกรณ์ จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประชาชนในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไตรมาส 3 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 0.69 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วน GDP ของประเทศ ร้อยละ 90.9 และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเงิน และการเมืองระหว่างประเทศ “ปัจจุบันพบว่า 90% ของครัวเรือนเกษตรกรไทย มีหนี้สินจำนวนเฉลี่ยมากถึง 450,000 บาทต่อครัวเรือน และพบว่า 30% ของครัวเรือนมีหนี้คงค้างเกิน 500,000 บาท ในส่วนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ระดับหนี้สิน เฉลี่ยของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 203,520 บาทต่อคน ในปี 2564 เพิ่มเป็น 209,865.05 บาทต่อคนในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.12 สมาชิกใช้บริการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในรูปเงินกู้ยืม ลูกหนี้การค้า และลูกหนี้บริการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ ใช้ชำระหนี้สินเดิม ใช้จ่ายในครัวเรือน” นายวิศิษฐ์ กล่าว แนวโน้มที่สถานการณ์หนี้ครัวเรือนจะปรับตัวส
สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบัน เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญ และกังวลถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ ๗๘.๗% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นภาพใหญ่ในระดับประเทศ เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพของลูกหนี้และลูกหนี้ประเภทต่างๆ ข้อมูลทุกสัญญาจากเครดิตบูโรพบว่า ประชาชนเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้กู้ที่อายุระหว่าง ๒๙-๓๐ ปี พบว่า ๑ ใน ๕ ของกลุ่มนี้เป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต หรือหนี้ภาคการเกษตรที่เป็นการกู้ไปทำธุรกิจ ส่วนหนึ่งเป็นหนี้เกษตรกร ซึ่งพบว่า อายุ ๖๐ ปีไปแล้วภาระหนี้ยังไม่ลด ดังนั้น เรื่องหนี้ครัวเรือนจึงเป็นปัญหาที่น่ากังวลมากสำหรับสังคมไทย ยังไม่รวมหนี้จากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และหนี้นอกระบบ เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ จะพบว่าสูงถึง ๑๓๐-๑๔๐% เพราะตัวเลขหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้ภาคครัวเรือน จากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องหนี้น้อยลง เพราะมีการกระตุ้นการซื้อแบบผ่อนส่งและไม่มีดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังม
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. เผยผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนเกษตร ครึ่งหลังปี 2561 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 1.3 แต่เมื่อเทียบสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.13 โดยครัวเรือนเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 ด้านหนี้นอกระบบพบลดลงกว่าปีก่อน ร้อยละ 18.5 แต่ยังต้องจับตาพฤติกรรมการก่อหนี้ใหม่ของผู้มีรายได้น้อย ชี้การจ้างงาน การปรับเพิ่มของราคาสินค้าเกษตรหลายชนิด รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐและของ ธ.ก.ส. ส่งผลสำคัญในการลดภาระหนี้ครัวเรือน นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ภาวะหนี้สินครัวเรือนเกษตร ในช่วงครึ่งหลังปี (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม) 2561 มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเกษตรไทยต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 18.12 ปรับตัวลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.13 เนื่องจากอัตราการขยายตัวของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจประจำปี (Nominal GDP) ยังคงสูงกว่าการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนเกษตรกร โดยประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2561 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 เป็นผลจากกำลังซื้อของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นตามแน