หนูพุก
คุณมนตรี ชูกำลัง วัย 41 ปี จากอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อดีตผู้รับเหมาก่อสร้างที่กรุงเทพฯ ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมางานน้อย จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดและทดลองเลี้ยงหนูพุกใหญ่ จนปัจจุบันหันมาทำอาชีพนี้เต็มตัว และขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ปัจจุบันคุณมนตรีเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงหนูพุกใหญ่อำเภอพรหมพิราม “ที่ฟาร์มได้ปรับรูปแบบโดยการเลี้ยงเป็นส่วนของทีมงาน ส่วนผมเน้นเรื่องการตลาดและแปรรูป ทางผมจะไปรับหนูเป็นจากลูกฟาร์ม นำมาแปรรูปที่ฟาร์มหลักของผมหรือเรียกว่าฟาร์มส่วนกลาง และเป็นส่วนหาองค์ความรู้เพื่อที่จะมาพัฒนาในองค์กรที่รวมกลุ่มกันเลี้ยงโดยมีผู้ร่วมโครงการวิสาหกิจชุมชนมีทั้งหมด 20 ฟาร์ม มีผู้ร่วม 5 จังหวัด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่เกษียณอายุ โดยตอนนี้มีผู้ร่วมจากจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิจิตร” คุณมนตรี กล่าว การพัฒนาพันธุ์ ปัจจุบันการเกษตรก้าวหน้า พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถเลี้ยงให้มีน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม หนูที่จะอบโอ่งจะต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ 1-3 ตัวต่อกิโลกรัม ถ้าขนาดมากกว่านั้น อัตราการเปลี่ยนเป็นเนื้อจะน้อย จะไม่ได้คุณภาพ (หนู 1 กิโลกรัม ชำแหละแล้วจะเหลือ 7-8 ขีด
ปัจจุบันธุรกิจเพาะเลี้ยงหนูกำลังได้รับความนิยม เนื่องจากหนูในแหล่งธรรมชาติเริ่มมีจำนวนลดลง แต่ความต้องการบริโภคนั้นยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในหลายพื้นที่มีผู้ทำรายได้จากการเลี้ยงหนูต่อเดือนไม่ธรรมดาทีเดียว อย่างเช่น คุณประมาย วงหาริมาตร หรือ คุณเป็ด ที่ชื่นชอบการจับหนูมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เขารู้สึกชื่นชอบและอยากจะเลี้ยง จึงได้เรียนรู้และทดลองเลี้ยงหนูพุกใหญ่ เพราะหนูชนิดนี้ เลี้ยงง่าย และใช้ระยะเวลาเลี้ยงไม่นาน สามารถให้อัตราการแลกเนื้อได้เร็ว มองว่าการเลี้ยงหนู สามารถเสริมรายได้ดี คุณเป็ด เล่าให้ฟังว่า นิสัยเขาตั้งแต่สมัยเด็กชอบหาหนูจับหนูตามทุ่งนา เมื่อมีโอกาสได้ย้ายงานมาอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด จึงทำให้ความชอบนี้ก็ยังไม่หายไป เมื่อว่างจากงานประจำที่ทำอยู่ก็จะหาจับหนูมาทดลองเลี้ยง เพราะได้มองถึงอนาคตว่าน่าจะทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับเขาได้ ทำให้ได้ศึกษาการเลี้ยงจากสื่อโซเชียลต่างๆ รวมไปถึงการเข้าไปดูการเลี้ยงจากฟาร์มอื่นๆ ที่เลี้ยงประสบผลสำเร็จด้วย “ช่วงแรกๆ ดักหาสายพันธุ์จากธรรมชาติมาก่อน พอมาเพาะพันธุ์แล้วลูกหนูที่ได้ก็จะค่อยๆ ไม่มีความดุร้าย เพราะเราจะเลี้ยงแบบเชิงให้เป็นหน
หนูพุก คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆ คน ซึ่งในปัจจุบันหายาก ในขณะเดียวกัน ได้มีพ่อค้าแม่ค้าหัวใสพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หันมาเพาะพันธุ์หนูพุกขายสร้างรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ เพราะบางคนบอกว่าเนื้อของหนูพุกอร่อยนำมาย่างหรือผัดเผ็ดรสเลิศ ชนิดที่ว่า “เอาหมูมาแรกหนูก็ไม่ยอม” คุณชฎาพร เบ็ญมาศ หรือ ครูเวย์ อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 6 ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ครูสอนดนตรีผู้มีอาชีพเสริมคือการเพาะเลี้ยงหนูพุกขาย ครูเวย์เรียนจบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะครุศาสตร์ เอกดนตรีศึกษา ปัจจุบัน เป็นครูสอนดนตรีอยู่ที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี เริ่มต้นเลี้ยงหนูพุกได้อย่างไร ครูเวย์ เล่าว่า ที่บ้านพ่อและแม่ทำไร่ทำสวน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อยอยู่แล้ว ตนจึงได้คลุกคลีอยู่กับไร่กับนามาตั้งแต่เด็ก หนูก็กินบ่อย อีกทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็บริโภคหนูกันเป็นประจำ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบรสชาติของหนู คิดว่าอร่อยเนื้อนุ่ม หากจะเพาะเลี้ยงหนูขายเองได้จะดีแค่ไหน เพราะในปัจจุบันหากินได้ยาก ราคากิโลกรัมหรือตัวละ 100-200 บาท จึงมองเห็นช่องทางสร้างอาชีพจากตรงนี้ เมื่อมองเ
หนูพุกปัจจุบันได้มีการเลี้ยงเพื่อเป็นการค้ามากขึ้น เพราะในธรรมชาตินับวันเริ่มมีน้อยเต็มที อันเกิดมาจากการขยายของเมืองใหญ่ และการทำเกษตรที่พึ่งสารเคมี ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงทำให้จำนวนหนูพุกในธรรมชาติ เริ่มมีปริมาณที่น้อยลงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้นิยมกิน ส่งผลให้มีเกษตรกรหลายรายเริ่มเห็นช่องทางการทำตลาดเพาะพันธุ์หนูนาสร้างรายได้ โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านผู้ใหญ่โทน ตั้งอยู่ที่ตำบลหนามแดง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา คุณเดชา ศรีโกศักดิ์ เป็นเจ้าของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ ในผืนดินพระราชทานพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน โดย ส.ป.ก. ได้รับพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรเช่าทำกิน ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 และ 3 เนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,251 ไร่ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการจัดที่ดินให้เกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นผู้ครอบครองเดิมทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตรและอยู่อาศัย ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 267 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2,123 ไร่ โดยศูนย์เรียนรู้ฯ ได้มีการเพาะเลี้ยงหนูพุก เพื่อจำหน่ายในป
คุณชฎาพร เบ็ญมาศ หรือ ครูเวย์ อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 6 ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ครูสอนดนตรีผู้มีอาชีพเสริมคือการเพาะเลี้ยงหนูพุกขาย ครูเวย์เรียนจบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี คณะครุศาสตร์ เอกดนตรีศึกษา ปัจจุบัน เป็นครูสอนดนตรีอยู่ที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี คุณชฎาพร เบ็ญมาศ หรือ ครูเวย์ ครูเวย์ เล่าว่า ที่บ้านพ่อและแม่ทำไร่ทำสวน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อยอยู่แล้ว ตนจึงได้คลุกคลีอยู่กับไร่กับนามาตั้งแต่เด็ก หนูก็กินบ่อย อีกทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็บริโภคหนูกันเป็นประจำ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเป็นคนชอบรสชาติของหนู คิดว่าอร่อยเนื้อนุ่ม หากจะเพาะเลี้ยงหนูขายเองได้จะดีแค่ไหน เพราะในปัจจุบันหากินได้ยาก ราคากิโลกรัมหรือตัวละ 100-200 บาท จึงมองเห็นช่องทางสร้างอาชีพจากตรงนี้ เมื่อมองเห็นโอกาส หลังจากนั้น ครูเวย์จึงเริ่มศึกษาใช้เวลาหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและปรึกษาพี่ที่รู้จักเป็นเวลา 3 เดือน ศึกษาวิธีการเลี้ยง พฤติกรรม อาหาร รวมถึงสถานที่เหมาะกับการเลี้ยง เงินทุนเท่ากับศูนย์ และพอดีกับที่บ้านมีบ่อเลี้ยงปลาเก่าก่ออิฐบล็อกเพิ่มก็สามารถเลี้ยงได้แล้ว วิธีเตรียมตัวในการเ
ชาวบ้านที่ว่างจากการทำงาน รวมกลุ่มออกหาหนูพุก ตามคันคูริมแหล่งน้ำสาธารณะและตามทุ่งนา เพื่อนำไปทำอาหาร ที่เหลือยังนำไปขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในขณะที่ราคาหนูปีนี้ราคาดี เนื่องจากหาได้ยากขึ้น สวนทางกับความต้องการที่มีมากขึ้น โดยชาวบ้านในเขต ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงาน รวมตัวกันพร้อมนำสุนัขที่เลี้ยงออกหาหนูพุกหรือหนูนา ตามคันคูแหล่งน้ำสาธารณะ และตามทุ่งนา โดยเฉพาะคันคูของอ่างเก็บน้ำห้วยบังพวน ที่หนูมาอาศัยทำรังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ทั้งปูและหอย เมื่อพบรังของหนูแล้ว จะช่วยกันปิดทางเข้า-ออกทุกทาง แล้วใช้จอบ-เสียมขุด โดยจะมีสุนัขช่วยดมกลิ่นและช่วยตามล่าหนูที่วิ่งออกจากรัง หนูที่ได้จะนำไปประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัว หากได้จำนวนมากก็จะขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัววันละหลายร้อยบาท ซึ่งปีนี้หนูราคาดีมากเนื่องจากหายาก และมีความต้องการซื้อมากขึ้น ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับขนาดตัวของหนู ตัวใหญ่จะขายกันสูงถึงตัวละ 150 – 180 บาท
ชาวบ้านที่ว่างจากการทำงาน รวมกลุ่มออกหาหนูพุก ตามคันคูริมแหล่งน้ำสาธารณะและตามทุ่งนา เพื่อนำไปทำอาหาร ที่เหลือยังนำไปขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในขณะที่ราคาหนูปีนี้ราคาดี เนื่องจากหาได้ยากขึ้น สวนทางกับความต้องการที่มีมากขึ้น โดยชาวบ้านในเขต ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้ใช้เวลาที่ว่างจากการทำงาน รวมตัวกันพร้อมนำสุนัขที่เลี้ยงออกหาหนูพุกหรือหนูนา ตามคันคูแหล่งน้ำสาธารณะ และตามทุ่งนา โดยเฉพาะคันคูของอ่างเก็บน้ำห้วยบังพวน ที่หนูมาอาศัยทำรังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ทั้งปูและหอย เมื่อพบรังของหนูแล้ว จะช่วยกันปิดทางเข้า-ออกทุกทาง แล้วใช้จอบ-เสียมขุด โดยจะมีสุนัขช่วยดมกลิ่นและช่วยตามล่าหนูที่วิ่งออกจากรัง หนูที่ได้จะนำไปประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัว หากได้จำนวนมากก็จะขายให้กับคนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้กับครอบครัววันละหลายร้อยบาท ซึ่งปีนี้หนูราคาดีมากเนื่องจากหายาก และมีความต้องการซื้อมากขึ้น ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับขนาดตัวของหนู ตัวใหญ่จะขายกันสูงถึงตัวละ 150 – 180 บาท
“หนู” เป็นสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญ เพราะสามารถกัดแทะทำลายพืชผลทางการเกษตรให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันหนูนั้นเป็นอาหารโปรตีนชั้นดี จึงมีเกษตรกรหัวใสได้ใช้ภูมิปัญญาในการจับหนูและเลี้ยงหนู ทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย อย่างเช่น คุณเชาวฤทธิ์ แสนปรางค์ อายุ 46 ปี ชื่อเล่นว่า “ฤทธิ์” อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 2 บ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทร. (063) 016-1969 คุณฤทธิ์ แสนปรางค์ มีอาชีพหลักทำนา ได้ใช้เวลาว่างออกจับหนูขาย และเลี้ยงหนูขาย สามารถทำรายได้เลี้ยงครอบครัวมาเป็นเวลานับ 10 ปี เดือนละกว่า 15,000 บาท คุณฤทธิ์ เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพหลักทำนา 6 ไร่ ได้ใช้เวลาว่างออกดักจับหนูในทุ่งนาในพื้นที่หมู่บ้านของตนเองและหมู่บ้านใกล้เคียง โดยใช้ลวดดักหนู ทำเป็นวง นำมาผูกติดกับหลักที่ทำด้วยไม้ไผ่ แล้วนำไปวางไว้ตามทางเดินของหนู โดยช่วงบ่าย ประมาณ 3-6 โมงเย็น จะนำกับดักไปปัก จากนั้นช่วงเช้าตรู่จะไปเก็บกู้ แต่ละวันใช้กับดักประมาณ 100 อัน จะได้หนูพุกวันละประมาณ 10-30 ตัว ชำแหละขายตามตลาดนัดในหมู่บ้าน ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำมาประมาณ 10 ปีแล้ว ก่อนนั้นราคาไม่จูงใจ