หน้าแล้ง
เข้าหน้าแล้ง ปลูกอะไรที่ใช้น้ำน้อย ดูแลไม่ต้องเยอะแต่สร้างรายได้ดี เกษตรกรนครราชสีมา เจ้าของไร่แตงโม ใช้ช่วงว่างเว้นจากการทำนาปลูกข้าว ปรับเปลี่ยนมาปลูกแตงโม พันธุ์กรีนซันเลส ปลูกเพียง 2 เดือนก็ได้ผลผลิตจำหน่ายขายได้ราคาดี คุณสมพร อุดมบุญ เจ้าของไร่แตงโม ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เดิมพื้นที่ตรงนี้ 7 ไร่ เป็นที่ทำนาปลูกข้าว ซึ่งช่วงหน้าแล้งว่างเว้นจากทำนา จึงหันไปปลูกแตงโมพันธุ์กรีนซันเลส จุดเด่นของสายพันธุ์นี้ ลูกโต เนื้อแดง หวานฉ่ำ ซึ่งขายได้ราคาดีมาก มีลูกค้าบางคนเดินทางมาซื้อถึงที่สวน ทำให้มีรายได้เสริมที่ดีมากในช่วงหน้าแล้ง อีกทั้งยังให้ผลผลิตภายใน 2 เดือน กวาดเงินสด 120,000 บาทต่อรอบ มีพ่อค้าแม่ค้ามาแห่ซื้อแตงโมกันอย่างคึกคัก แม่ค้าคนกลางรายหนึ่ง ชาวจังหวัดนครราชสีมา ที่มาเหมาซื้อแตงโมทั้ง 7 ไร่ ก่อนนำส่งขายให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาด เล่าว่า “ได้มีการตกลงราคาเหมาแปลง ประมาณ 120,000 บาท” นำรถมารอรับเพื่อนำไปขายในตลาดต่างๆ ทั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดต่างๆ แตงโมที่สวนแห่งนี้ถึงขายดีเป็นพิเศษ เนื่องจากแตงโมลูกใหญ่มีน้ำหนักตั้งแต่ 4-8 กิโลกรัม โดยคนงานคัดแตงโม บ
สวนผลไม้พัทลุง-ตรัง เผชิญวิกฤตร้อน-แล้งจัด ลากยาวติดต่อกัน 4 เดือน กระทบ “ทุเรียน-มังคุด-ยาง-กล้วย” ยืนต้นตาย ชาวสวนรายเล็ก รายกลาง ไม่มีเงินลงทุนขุดสระทำระบบน้ำ จี้หน่วยงานในจังหวัดเร่งช่วยเหลือด่วนก่อนลามเสียหายทั้งจังหวัด นายอุดมพร กาญจน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางจังหวัดตรังได้ลงพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือ และฟื้นฟูสวนทุเรียนซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ตายยกสวน เพื่อหาแนวทางการให้ความช่วยเหลือ เช่น พื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จากสภาวะฝนแล้งที่ต่อเนื่องมานานหลายเดือน ประกอบกับอากาศที่ร้อนจัด ได้ส่งผลต่อพื้นที่การเกษตรหลายแห่งของจังหวัดตรัง รวมทั้งสวนทุเรียน พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ซึ่งกำลังประสบปัญหาแห้งตายเพราะขาดน้ำ “เช่น สวนทุเรียนของ นางปณิตา กระแสร์สาร อายุ 59 ปี ที่ได้ปลูกทุเรียนลงไปในพื้นที่ข้างบ้าน 7 ไร่ จำนวน 193 ต้น ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์หมอนทอง และมีสายพันธุ์มูซังคิง ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เม็ดเงินลงทุนไปแล้วหลายแสนบาท” นายอุดมพร กล่าวว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรให้ความสนใจหันมาปลูกทุเรียนกันมาก
วันที่ 10 มกราคม ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท พบระดับน้ำบริเวณท้ายเขื่อนลดต่ำลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2560 ทำให้ปรากฏเนินทรายลาดลงจากตลิ่งมีระยะทางกว่า100เมตร ทอดไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาหลายกิโลเมตร และยังพบว่าปริมาณน้ำเหลือพื้นที่ทำการประมงเพียงเล็กน้อย ชาวบ้านน้องนำเรือลงไปจับปลากลางแม่น้ำ เพราะพื้นที่ริมตลิ่งเหลือเพียงทราย ตอไม้ และซากวัชพืช และหลายๆ คนตัดสินใจที่จะนำเรือขึ้นฝั่งเพราะไม่คุ้มค่าน้ำมันที่จะนำเรือล่องไปจับปลาในขณะที่น้ำแห้งขอด เพราะจะจับปลาได้น้อยลงกว่าปกติมาก นายวันชัย ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่า ปีนี้น้ำท้ายเขื่อนลดเร็วมาก จนชาวบ้านตั้งตัวไม่ทัน ชาวประมงเองหาปลาได้แต่พอกินเท่านั้น ไม่เหลือขายเหมือนช่วงมีน้ำ ซึ่งเมื่อสถานการณ์น้ำต้นฤดูแล้งเป็นแบบนี้ ชาวบ้านหวั่นใจว่า ในปีนี้อาจจะเกิดสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงและยาวนานได้ ที่มา มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน นายทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ภัยแล้ง 2559/60 ที่มี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานว่าในที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 59/60 ในเขตพื้นที่ชลประทาน ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำทุนเพื่อใช้บริหารจัดการ 31,245 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แบ่งเป็นจัดสรรน้ำเพื่อใช้ฤดูแล้ง 17,673 ล้านลูกบาศก์เมตร และสำรองน้ำไว้ใช้ช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ปี 60 จำนวน 13,205 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณน้ำที่จัดสรรไว้ในฤดูแล้ง ปี 60 จำนวน 17,673 นี้ แบ่งเป็นอุปโภคและบริโภค 2,339 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 13% รักษาระบบนิเวศ 5,440 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 31% การเกษตร 9,579 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 54% และอุตสาหกรรม 315 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 2% นายทองเปลว กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ 5 อ่างเก็บน้ำ ยกเลิกการส่งน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ทั้งการปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคเท่