หมอยาพื้นบ้าน
เปิดใจ“หลวงสน” ที่พึ่งคนยาก นับหมื่นชีวิตหายจากโรคร้าย ยืนยันห่วงเยาวชน เพราะทำงานด้านเด็กมานับสิบปี ย้ำ ไม่ได้เรียกร้องกัญชาเสรี แต่ควรมีกฎหมายควบคุม หมอยาพื้นบ้านหนุน ชาวบ้านมีสิทธิใช้กัญชาดูแลสุขภาพ ด้านเครือข่ายประชาชนขู่ 14 ธ.ค. สภาคว่ำกฎหมาย นักการเมืองจะได้รับบทเรียนจากประชาชน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 นายสนธยา แซ่โย้ หรือ หลวงสน หมอยาเกาะพะงัน ที่รักษาคนไข้ด้วยกัญชาให้หายนับหมื่นราย กล่าวว่า ตนใช้กัญชารักษาคนไข้มานาน 3 ปี กว่า มีหลักฐานและผลการรักษาอย่างแน่ชัด ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยกัญชา ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์หายเป็นปกติ ส่วนที่รักษาไม่หายมีหลายสาเหตุ 1. เพราะอาการหนักมามากแล้ว 2. ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ และ 3. คนไข้บางรายร่างกายไม่รับ ซึ่งมีเป็นจำนวนน้อย นอกจากนี้ ตนยังได้ร่วมทำวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อนำกัญชาไปใช้ในทางการแพทย์ด้วย นายสนธยา กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่ได้เห็นด้วยกับกัญชาเสรี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายมาควบคุม แต่สิ่งที่กังวลเวลานี้คือ การตีรวนของฝ่ายคัดค้านที่จะคว่ำ พ.ร.บ.กัญชา มีการเบี่ยงเบนประเด็นเลือกใช
หลายท่านที่ให้ความสนใจพืชผักสมุนไพรไทย ซึ่งที่จริงควรจะเรียกว่า พืชผัก และพืชสมุนไพร แต่ที่เรียกรวมกันอย่างนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า พืชของไทยที่เอามาเป็นอาหาร และเรียกว่าผักนั้น เกือบทุกชนิดจะมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และบำรุงร่างกาย เสริมพลังธาตุให้ร่างกาย ที่เรียกกันว่าสมุนไพร หรือ ยาป่า เช่นเดียวกับผักชนิดนี้ที่หลายคนไม่รู้จัก อยากรู้จัก อีกหลายคนรู้จัก และหลงรักแล้ว เขาคือ “ผักสาบ” ผักป่า มากคุณค่าของไทย ผักสาบ เป็นพืชผักในวงศ์เสาวรส หรือ กะทกรก PASSIFLORACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Adenia viridiflora craib ชื่อเรียกในท้องถิ่นต่างๆ ของไทย เช่น ภาคกลาง เรียก ผักอีนูน ผักอะนูน คนเมืองกาญจน์ เรียก นางนูน ทางภาคเหนือ อีสาน เรียก ผักสาบ เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยืนหลายปี เป็นไม้ป่าที่ชาวบ้านป่า หรือพรานป่ารู้จักในชื่อ “เครือน้ำ” เมื่อเวลาเดินป่า ขาดน้ำกิน หาน้ำจากห้วยหนองไม่มี ก็อาศัยตัดเถา หรือเครือผักสาบรองกินน้ำที่หยดออกมาจากเถานั้นได้ เป็นเถาไม้ที่ดูดอมน้ำไว้ในเถา คนที่รู้จักจะอนุรักษ์ไม้เถาชนิดนี้ไว้ ไม่ให้ตัดฟันให้เกิดแผลโดยไม่จำเป็น ต้นผักสาบจะตายได้ เพราะถ้าเกิดแผลตัด น้ำ
เดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นฐานที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่า คุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่งนาน790 ปี ต่อมาถึง สมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชย์ต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่หรือหนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน เมืองสิบสองปันนา (ที่มาของคำว่า สิบสองพันนา อ่านออกเสียงเป็น “สิบสองปันนา”) ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่างๆ เช่น ฝั่งตะวันต