หมูดำ
ระหว่างรอการแก้ปัญหาราคาหมูจากหลายภาคส่วนที่ยังหาข้อยุติอย่างยั่งยืนไม่ได้ ก็ยิ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงหมูต้องแบกรับภาระต้นทุนต่อไป ด้วยเหตุนี้ทางกรมปศุสัตว์จึงต้องเร่งหาทางออกเพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์ได้นำแผนส่งเสริมเลี้ยงหมูดำ โดยชักชวนชาวบ้านในพื้นที่เลี้ยงในรูปแบบหมูอินทรีย์ พร้อมร่วมมือกับทางวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสร้างตลาดรองรับหวังดึงผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสร้างแบรนด์ชูความโดดเด่น ในชื่อ “หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน” “หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน” เป็นพันธุ์หมูที่มาจากการสร้างสายพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยมีสายพันธุ์ตั้งต้น จาก 1. หมูดำเชียงใหม่ 2. หมูพันธุ์เบิร์กเชียร์ และ 3. หมูพื้นเมืองเพชรบูรณ์ (หมูกระโดน) ด้วยคุณลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ที่มารวมกันจึงทำให้หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน เป็นสุกรที่ให้เนื้อคุณภาพสูง มีเนื้อนุ่ม เส้นใยเนื้อมีความละเอียด อุ้มน้ำ มีวิตามินบีสูง คอเลสเตอรอลต่ำ ไขมันดีสูง เนื้อมีความหอมแตกต่างจากสุกรทั่วไป เพราะมีวิธีเลี้ยงแบบปล่อยในสถานที่กว้าง ช่วยให้ห
ระหว่างรอการแก้ปัญหาราคาหมูจากหลายภาคส่วนที่ยังหาข้อยุติอย่างยั่งยืนไม่ได้ ก็ยิ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงหมูต้องแบกรับภาระต้นทุนต่อไป ด้วยเหตุนี้ทางกรมปศุสัตว์จึงต้องเร่งหาทางออกเพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน ด้านสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์ไม่รอช้านำแผนส่งเสริมเลี้ยงหมูดำมานำร่อง ชวนชาวบ้านในพื้นที่เลี้ยงในรูปแบบหมูอินทรีย์ พร้อมร่วมมือกับทางวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสร้างตลาดรองรับหวังดึงผู้บริโภคกลุ่มรักสุขภาพช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสร้างแบรนด์ชูความโดดเด่นในชื่อ “หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน” “หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน” เป็นพันธุ์หมูที่มาจากการสร้างสายพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยมีสายพันธุ์ตั้งต้น จาก 1. หมูดำเชียงใหม่ 2. หมูพันธุ์เบิร์กเชียร์ และ 3. หมูพื้นเมืองเพชรบูรณ์ (หมูกระโดน) ดังนั้น ด้วยคุณลักษณะเด่นของแต่ละสายพันธุ์ที่มารวมกันจึงทำให้หมูดำ เพ็ด-ซะ-บูน เป็นสุกรที่ให้เนื้อคุณภาพสูง มีเนื้อนุ่ม เส้นใยเนื้อมีความละเอียด อุ้มน้ำ มีวิตามินบีสูง คอเลสเตอรอลต่ำ ไขมันดีสูง เนื้อมีความหอมแตกต่างจากสุกรทั่วไป มีวิธีเลี้ยงแบบปล่อยในสถานที่กว้าง ช่วยให้หมูดำได้ออก
นายสมพร เจิมพงศ์ (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พร้อมด้วย ดร.สัจจา ระหว่างสุข (ที่ 2 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สุกร สายธุรกิจสุกร และนางสาวอังคณา ลิขิตจรรยากุล (ที่ 3 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการ ด้านการตลาด เชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท และร้านอาหารในเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ร่วมงาน “SENSE MORE TASTE THE PERFECT by CP-KUROBUTA” มุ่งสร้างการรับรู้และเปิดประสบการณ์ดีๆ ผ่าน 4 สัมผัส เพื่อให้เข้าถึงความสมบูรณ์แบบของเนื้อหมูระดับพรีเมี่ยม “เนื้อหมูดำ ซีพี-คูโรบูตะ” ที่อร่อย นุ่ม และมีความหอมฉ่ำ โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และโชว์การตัดแต่งพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างความแตกต่าง และสร้างเอกลักษณ์ให้กับธุรกิจร้านอาหาร พร้อมเสิร์ฟสุดยอดเมนูจากเชฟซีพี ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มผู้ประกอบการ ณ สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อเร็วๆนี้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้าวิจัยทดลองงานพัฒนาการเกษตรที่เหมาะสมแก่ท้องถิ่น และนำออกเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของปวงชนชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2527 “กรมปศุสัตว์” เป็นอีกหนึ่งในหลายหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานศึกษาและทดลองการเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ การจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ และวิธีแก้ปัญหา ทั้งนี้ผลการศึกษาวิจัยที่มีความโดดเด่นในงานรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ของศูนย์การศึกษาการพัฒนาภูพานฯ แห่งนี้คือ สิ่งที่เรียกว่า “ดินแดนแห่ง 3 ดำ มหัศจรรย์” อันได้แก่ วัวเนื้อทาจิมะภูพาน ไก่ดำภูพาน และหมูดำภูพาน ในปัจจุบัน สัตว์ทั้ง 3 ชนิด จัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ พร้อมกับขยายผลสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกษตรกรทั่วประเทศนำไปเลี้ยงประกอบอาชีพกันมากมาย นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน