หมูป่า
หมูป่า สัตว์กีบคู่ มีลักษณะตัวใหญ่ สีดำ ท่าทางดูฉุนเฉียว ดูน่าเกรงขามต่อผู้พบเห็น แต่ใครล่ะจะรู้ว่าจริงๆ แล้วหมูป่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด หากเข้าใจธรรมชาติของเขาแล้ว จากสัตว์ที่ตัวใหญ่ หน้าตาดุดัน จะกลายเป็นสัตว์ที่น่ารัก สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามได้ หรือจะเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ก็นับเป็นทางเลือกที่ดีมากในขณะนี้ เนื่องจากหมูป่ายังไม่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย และสามารถนำมาขายได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบของขายส่งร้านทำหมูหัน จำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ หรือจำหน่ายเป็นเนื้อสด ทำให้เกษตรกรหลายรายหันมาสนใจอาชีพการเลี้ยงหมูป่ากันมากขึ้น บวกกับวิธีการเลี้ยงง่าย ทนโรค และต้นทุนต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรบางรายขายดิบขายดีจนผลิตไม่ทันขาย คุณวีระ วงบำหราบ หรือ พี่เบิ้ม เจ้าของสำลีฟาร์ม อยู่ที่บ้านศรีสว่าง ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เกษตรกรเจ้าของฟาร์มหมูป่าที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เริ่มต้นความรู้จากศูนย์ สู่การพัฒนาวางแผนระบบการเลี้ยงหมูป่าแบบแปลกใหม่ ต้นทุนต่ำ แต่สร้างกำไรมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น พี่เบิ้มเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงหมูป่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาลงหลักปักฐ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 9 นำโดย. นายสรยุทธ สีขาว หัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 9 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารวัตร ด่านกักกันสัตว์สงขลา ด่านกักกันสัตว์สตูล ด่านกักกันสัตว์นราธิวาส เจ้าหน้าที่ ส.รฟ. หาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่ บก.สส.ภ.9 ร่วมกันตรวจยึดซากสัตว์(หมูป่า) จำนวน 550 กิโลกรัม ด้วยรับแจ้งจากสายข่าวจะมีการลักลอบเคลื่อนย้ายซากสัตว์ โดยรถไฟขบวน รถเร็วที่ 172(สุไหงโกลก – กรุงเทพมหานคร) หัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 9 พร้อมเจ้าหน้าที่ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบ ณ สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ผลการตรวจสอบ พบซากสัตว์(หมูป่า) วางอยู่บริเวณตู้สัมภาระ สอบถามไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของ ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 34 พรบ.โรคระบาดสัตว์ 2558 บทกำหนดโทษมาตรา 71 จึงทำการตรวจยึด พร้อมทำบันทึกตรวจยึด ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ธนาคารน้ำใต้ดิน อีกหนึ่งเบื้องหลังที่ช่วยทำให้ระดับน้ำในถ้ำหลวงลดลงอย่างรวดเร็ว จนเจ้าหน้าที่สามารถช่วยกันนำ 13 หมูป่า ออกจากถ้ำ เผยช่วยพร่องน้ำได้ในรัศมี 50 กิโลเมตร เผยเทคนิคการขุด จากกรณีภารกิจช่วยชีวิต 13 ชีวิต ทีมหมูป่า ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา กระทั่ง เจ้าหน้าที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) หรือ หน่วยซีล ได้ค้นหาจนพบตัวทั้งหมดอยู่บริเวณเนินนมสาว ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีต ผวจ.เชียงราย ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ได้แถลงเริ่มต้นภารกิจสำคัญ คือการนำตัวทั้ง 13 ชีวิต ออกจากถ้ำ ธนาคารน้ำ / หลังจากหลายหน่วยงานระดมสรรพกำลังช่วยกันสูบน้ำ เบี่ยงทางน้ำ และหาแนวทางเพื่อให้ระดับน้ำในถ้ำหลวงลดลง จนช่วง 3 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถวางแผนนำตัวน้องๆ ทีมหมูป่า พร้อมโค้ช ออกมาจากถ้ำได้สำเร็จ และยังคงทยอยนำตัวน้องๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องนั้น เบื้องหลังส่วนหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำในถ้ำลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากวิธีการสร้างช่องลมขนาดใหญ่ 9 หลุม โดยใช้หลั
มิตรสหายกำนัลเนื้อหมูป่าจากปักษ์ใต้มาให้ เป็นเนื้อส่วนที่มีมันน้อยและหนังหนาแข็ง เลยชวนให้นึกถึงกาพย์เห่เรือของรัชกาลที่ 2 บทนี้ขึ้นมา “เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงขั้วส้มใส่ระกำ ชะรอยแจ้งแห่งความขำ ซ้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอมฯ” หมูป่าเดี๋ยวนี้เกือบทั้งหมดเป็นหมูเลี้ยง ส่วนสมัยก่อนตอนที่ยังเป็นหมูจากป่าจริงๆ คงเป็นของดีที่ไม่ได้กินบ่อยนัก ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เขียนหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ (พ.ศ.2452) บอกไว้ในสูตร “แกงหมูป่าขั้วส้ม” ว่า “..เมื่อยิงได้แล้ว พวกพรานมักเผาเสียทั้งตัว ขูดขนจนหมดหนังขาว แล้วจึงเอาเข้ามาตัดขายเปนขาๆ” และเวลาแกงนั้น “ต้องเคี่ยวน้ำหางกะทิให้นานสักหน่อย เมื่อเห็นว่านุ่มดีแล้วจึงเอาขึ้นรวนผัดแกง..” ในสูตรของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ท่านใส่น้ำมะขามเปียก ลูกมะอึก และระกำ เพื่อปรุงรสเปรี้ยวตามปกติของแม่ครัวไทยโบราณ ที่มักตัดรสมันเลี่ยนของแกงกะทิด้วยรสเปรี้ยวของผักหรือผลไม้หอมๆ บางชนิด แต่ผมไม่มีลูกมะอึก แถมระกำเปรี้ยวๆ นั้นก็แสนหายาก แทบจะหายไปจากตลาดสดนานแล้ว (ถ้าจะมีบ้าง ก็คงเป็นตลาดแถบภาคตะวันออก) แต่เผอิญมีใบมะกอกอยู่หนึ่งถุงใหญ่ ก็เลยนึกถึงการรวมสูตรแกงคั่วกะทิหมูป่าเข้
นายจำลอง เจริญสุข รักษาราชการแทนนายก อบต.คลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ทาง อบต.คลองสระบัว กำลังเร่งแก้ไขปัญหาหมูป่าจำนวนกว่า 600 ตัว ที่อยู่อาศัยในป่าข้างวัดกลางคลองสระบัว และมีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเพียง 7 ปีเท่านั้น จากหมูป่า 2 คู่ กลายเป็นหมูป่าจำนวนมาก ซึ่งออกมาสร้างความเดือนร้อน กัดกินพืชสวน พืชไร่ สร้างความสกปรกและกลิ่นเหม็น อีกทั้งยังสร้างอันตรายแก่คนและยานพาหนะ เพราะว่าหมูป่าเดินไปทั่วชุมชน โดยชาวบ้านต้องการให้เร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ขอร้องว่าห้ามฆ่าหมูป่าด้วยรักและสงสาร ล่าสุดทาง อบต.ได้จัดสร้างกรงดักหมูป่าแล้ว และหากประชาชนทั่วประเทศประสงค์นำหมูป่าไปเลี้ยง สามารถติดต่อขอรับได้ โดยจะมอบให้เพียงรายละ 3 ตัวเท่านั้น ย้ำว่าห้ามนำไปฆ่ากิน สำหรับกระแสข่าวคนถิ่นอื่น เข้ามาลักลอบจับหมูป่าไปฆ่ากินนั้น ยอมรับว่ามีมูลความจริง แต่ขอเตือนว่าหมูป่าเหล่านี้ ไม่ได้เลี้ยงในระบบฟาร์ม ไม่มีการฉีดวัคซีน อีกทั้งไม่ได้เป็นหมูป่าที่อาศัยในป่า ซึ่งจะกินอาหารธรรมชาติ แต่เป็นหมูป่าในชุมชนเมือง นอกจากกินเศษพืชผักแล้ว ยังกินอาหารจากถังขยะด้วย ดังนั้นเชื่อว่าเนื้อหมูป่า อาจมี
วันที่ 3 มีนาคม นางอรณี สุขุมาลจันทร์ ชาวบ้านจาก ต.คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ปัญหาหมูป่าในชุมชนเมือง ทางทิศเหนือฝั่งตรงของเกาะเมืองกรุงเก่า ซึ่งอยู่ในเขตตำบลคลองสระบัวนั้น กำลังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนอกจากหมูป่าซึ่งไม่มีเจ้าของ จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังสร้างความเดือนร้อนออกกัดกินพืชสวน ต้นไม้ ที่ปลูกไว้ริมบ้านและในพื้นที่เกษตรจนเสียหาย อีกทั้งสร้างอันตรายต่อคนในชุมชน เพราะว่าเริ่มดุร้าย และเดินกร่างเต็มท้องถนน ล่าสุดพืชผักและต้นไม้ที่กินได้เริ่มหมดลง จึงเริ่มหันล้มถังขยะในชุมชนเพื่อหาเศษอาหารกิน สร้างความสกปรกและกลิ่นเหม็นไปทั่ว ทั้งนี้ยืนยันว่าชาวบ้าน ไม่ต้องการให้ฆ่าหมูป่า เพราะสงสาร แต่ต้องการลดจำนวนหมูป่าลง ด้วยการโยกย้ายไปในพื้นที่เหมาะสม นายจำลอง เจริญสุข นายก อบต.คลองสระบัว เปิดเผยว่า หมูป่าจำนวนมากซ่องสุมกำลัง อยู่ในป่าสะแกขนาดเนื้อที่ 50 ไร่ ข้างวัดกลางคลองสระบัว และกระจายกำลังออกไปสร้างความเดือดร้อนทั่ว ต.คลองสระบัว และช่วงนี้เริ่มเดิมออกไปถึง ต.หัวรอ ฝั่งทิศเหนือ “เดิมที่เราคาดว่ามีหมูป่า 300 ตัว แต่ล่าสุดมีการตรวจนับจำนวนหมูป่าใหม่ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งแก้ไขปัญหาหมูป่าจำนวนมากกว่า 300 ตัว ซึ่งไม่มีเจ้าของ อาศัยอยู่ในป่าสะแกและที่ดินสาธารณะรอบชุมชน รวมถึงในวัดกลางคลองสระบัว โรงเรียน โดยในบางครั้งออกมาเดินเต็มท้องถนนทั้งกลางวันและกลางคืนเสี่ยงอันตรายที่จะถูกรถชน หรือเสี่ยงที่หมูป่าจะเข้าทำร้ายคน นอกจากนี้ยังมีปัญหาหมูป่าบุกเข้าไปกัดกินพืชผักตามบ้านเรือนและสวนของชาวบ้านจนเกิดความเสียหาย สร้างความน่ารำคาญและเดือดร้อนไปทั้งชุมชน โดยประชาคมทั้งตำบลลงมติไม่ต้องการหมูป่า แต่ไม่ต้องการฆ่า เพียงต้องการหาที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสมให้ หรือทำโครงการลดจำนวนประชากรอีกครั้ง โดยทางอำเภอเสนอให้ 1.จับหมูป่าทำหมันทั้งตัวผู้และตัวเมีย 2.แจกจ่ายแก่เกษตรกรในถิ่นอื่นเพื่อนำไปเลี้ยง 3.หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อโยกย้ายหมูป่าออกไปจากชุมชน อย่างไรก็ตามมีรายงานด้วยว่าเดิมหมู่ป่านี้มีเพียง 2 คู่เท่านั้น โดยมีคนนำมาถวายวัดกลางคลองสระบัว จากนั้นขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน แม้จะเคยมีการทำโครงการลดจำนวนไปแล้ว 1 ครั้งเมื่อ 2 ปีก่อน
คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เล่าย้อนความหลังให้ฟังว่า เดิมเขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งช่วงนั้นได้ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จึงทำให้เวลาต่อมาเขาได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น “ช่วงที่เราเรียนช่วงนั้น ก็ถือว่าโชคดี ที่ได้โควต้าไปทำงานที่ญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์ที่สอนเราเขาก็ทำหน้าที่เกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตรด้วย ท่านก็จะพาเราไปดูงานที่เกี่ยวกับเกษตร ทั่วประเทศญี่ปุ่น เราก็ได้มาเกิดแนวคิดว่า เกษตรบ้านเรานี่นับว่าโชคดีกว่าที่นั่น เพราะที่เขามีฤดูหนาวด้วย ผักที่เขาปลูกนี่จะตายหมดเลย หลังจากกลับมาอยู่บ้านที่โคราช ก็เลยมาทดลองเลี้ยงสัตว์บ้าง ปลูกผักแบบผสมผสานตั้งแต่นั้นมา” คุณอภิศักดิ์ กล่าว สัตว์ที่เขาเลี้ยงเริ่มแรกจะเป็นเป็ดไข่นับหมื่นตัว แต่ต้องมีเหตุให้เลิกเลี้ยงไป เพราะอาหารที่จะให้เป็ดไข่กินนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ต่อมาก็เริ่มทำสวนผักแบบผสนผสานไปด้วย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง “แรกๆ ที่ผมทำสวนใหม่ๆ ปลูกแต่ถั่วฝักยาว พอผลผลิตออกมามาก สรุปมันขายไม่ได้เท่าที่ควร ต่อมาก็เลยปรับเปลี่ยนมาปลูกแตงกวาบ้าง ผักชี พริก ชะอม สรุปว่า