หมู่บ้านเกษตรกรรม
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เผยความสำเร็จ “หมู่บ้านเกษตรกรรม” 3 แห่ง ตลอด 46 ปี สร้างความมั่นคงในอาชีพแก่เกษตรกร ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน สร้างรายได้แน่นอน ปีละกว่า 1 ล้านบาทต่อครอบครัว มุ่งยกระดับภาคเกษตรไทยต่อเนื่องทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลักดันสู่ ‘เกษตรยั่งยืน’ นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และซีพีเอฟมุ่งสนับสนุน อาชีพเกษตรกรรมแก่เกษตรกรรายย่อย ผ่านการส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบ “หมู่บ้านเกษตรกรรม” มาตั้งแต่ปี 2520 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการแก่เกษตรกร ด้วยการนำขีดความสามารถของบริษัทมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ ผสานกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกร เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ และพัฒนาสู่สังคมพึ่งพาตนเอง ตลอดระยะเวลา 46 ปี ที่บริษัทร่วมกับเกษตรกรไทยพัฒนาอาชีพ ไปพร้อมกับการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน นับจากโครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร และต่อย
โรงเรียนระดับประถมศึกษา เกือบทุกแห่ง เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีแปลงสำหรับปลูกผักสวนครัว เพราะเกษตร เป็นหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ สำหรับโรงเรียนบ้านหนองสะแก หมู่ที่ 5 ตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แล้ว ก็มีพื้นที่สำหรับการเกษตรเช่นกัน แต่ไม่ได้มีการเรียนการสอนเฉพาะระดับประถมศึกษา แต่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย นักเรียนทั้งหมด 155 คน มีบุคลากรผู้สอน รวม 19 คน ตั้งอยู่บนพื้นที่ 37 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดกว่า 40 ไร่ แต่แบ่งให้กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ใช้ประโยชน์ อาจารย์อาติม เค้าฉิม รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองสะแก บอกว่า จำนวนบุคลากรของโรงเรียนมี 19 คน แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการเรียนการสอน เพราะอาจารย์หลายท่านไม่ได้อยู่ในตำแหน่งผู้สอน และต้องดูแลงานด้านอื่นของโรงเรียน แต่อาจารย์ที่มีก็ช่วยกันดูแลการเรียนการสอนให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพไม่น้อยหน้าโรงเรียนในระดับเดียวกันแห่งอื่น แม้จะเป็นโรงเรียนขยายโอกาส แต่ก็ไม่มีงบประมาณมากพอจะจัดสรรกิจกรรมทางการเกษตรได้มากพอ หากไม่ให้ความสำคัญ พื้นที่ทำการเกษตรอาจมีเพียงเล