หม่อนผลสด
จากการที่หม่อนผลสด (Mulberry Fruit) พันธุ์เชียงใหม่ ซึ่งได้รับการยืนยันว่ามีปริมาณสารแอนโทไซยานินสูงกว่าสายพันธุ์หม่อนอื่นในประเทศไทย และมีสารแอนโทไซยานินสูงเทียบเท่ากับผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อื่นๆ จากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่ไม่มีการใช้เคมีเกษตรในแปลงปลูกอีกด้วย แต่เนื่องจากผลหม่อนหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะเก็บรักษาได้เพียง 2 วันเท่านั้น จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ กรมหม่อนไหมจึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิจัยการนำผลหม่อนไปผ่านการอบแห้งด้วยตู้อบแบบสุญญากาศพบว่า สามารถทำให้ยังคงเหลือสารแอนโทไซยานินในผลหม่อนไหมได้ถึง 87.21 เปอร์เซ็นต์ของหม่อนผลสด แอนโทไซยานินผงที่ได้มีสารแอนโทไซยานินสูง 20.91 มิลลิกรัม ต่อกรัมแห้ง และจากการขยายกำลังผลิตดังกล่าวพบว่า หม่อนผลสดจำนวน 10 กิโลกรัม สามารถนำไปผลิตแอนโทไซยานินผงได้ 1 กิโลกรัม แอนโทไซยานินผงนี้สามารถนำไปบริโภคโดยตรง หรือใส่ลงไปในอาหารที่ไม่มีการผ่านความร้อน เช่น ไอศกรีม นมพร้อมดื่ม น้ำผลไม้พร้อมดื่ม เป็นต้น เนื่องจากความร้อนทำให้แอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระลดต่ำลง วิธีหนึ่งที่เหมาะสมคือการนำไปบรรจุในแคปซูล สำห
กรมหม่อนไหม เดินหน้าสืบสาน รักษา ต่อยอด “ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี” เมืองตรัง อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เร่งปั้นเด็กรุ่นใหม่เป็น “ทายาท” เพื่อสืบทอดการทอผ้านาหมื่นศรี รวมทั้งเร่งตรวจสอบรับรองยกระดับมาตรฐานเป็นตรานกยูงพระราชทานในปีนี้ หวังผลักดันให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมวางเป้าชู 21 พื้นที่ ยกระดับงานโครงการพระราชดำริด้านหม่อนไหมทั่วประเทศ นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรีมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านมาตรฐานในตลาดอย่างกว้างขวางและเป็นผ้าทอที่มีการอนุรักษ์สืบทอดลวดลายผ้ามาตั้งแต่โบราณกว่า 400 ปี อยู่อย่างยาวนานและยั่งยืน ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรี ได้มีการอนุรักษ์ พัฒนา และยกระดับคุณภาพ จนได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) 2 ประเภท คือตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน (Thai Silk) ประเภทผ้าถุง ชนิดผ้ายก ประเภทลายประยุกต์ และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว (Thai Silk Blend ) ประเภทผ้าคลุมไหล่ ชนิดผ้า ผ้ายก ประเภทลาย ลายประยุกต์ ชื่อลาย แก้วชิงดวง นอกจากนี้ กลุ่มยังอยู่ระหว่างการขอรับการรับรองตรานกยูงพระราชทานสีเ
ปัจจุบันกระแสความนิยมรับประทาน “มัลเบอร์รี่” หรือ “ ผลหม่อน ” หรือ “ลูกหม่อน” ยังเติบโตต่อเนื่องเพราะเป็นผลไม้สีม่วงแดง ที่มีประโยชน์สูงต่อสุขภาพ เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนสามารถจำหน่ายผลผลิตได้หลายรูปแบบ ทั้งในรูป หม่อนผลสด รวมทั้งแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะน้ำหม่อน แยม และไวน์ สร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนได้ตลอดทั้งปี แม้ต้นหม่อนจะเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย แต่หลายคนกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะต้นหม่อนพันธุ์ดีที่ปลูกไว้รอบบ้านหรือในสวน กลับได้ผลผลิตน้อยกว่าที่พบเห็นทั่วไป เนื่องจากพวกเขายังไม่รู้จักเทคนิคการปลูกดูแลต้นหม่อนอย่างเหมาะสม และวิธีโน้มกิ่งบังคับให้ออกผลนอกฤดู จึงขอนำเสนอเคล็ดลับเพิ่มผลผลิตต้นหม่อนผลสดด้วยหลักการง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำตามได้สบายๆ หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ “ หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ ” หรือที่หลายคนนิยมเรียกว่า “หม่อนผลสด” นับเป็นหม่อนพันธุ์ดีที่ได้รับความนิยมสูง จะให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยไร่ละประมาณ 800-1,000 กิโลกรัม เกษตรกรนิยมนำผลหม่อนมาใช้ทำแยม น้ำผลหม่อน และไวน์ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีผู้นำมาปลูกในจังหวัดเชียงใหม่นา
นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า จากนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรช่วยลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้เพิ่ม ในส่วนของกรมหม่อนไหมได้ให้ความสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว โดยในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมด้วยระบบแปลงใหญ่ ในพื้นที่ 9 แห่ง 7 จังหวัด ประกอบด้วย อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร อำเภอบ้านแท่น และอำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,244 ไร่ จำนวนเกษตรกร 1,316 ราย ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการแปลงใหญ่ทั้ง 9 แปลง ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “แปลงใหญ่หม่อนผลสด จังหวัดน่าน” ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำรี หมู่ 12 ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนผลสดได้รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกหม่อนผลสดภูพยัคฆ์ และขอรับรอ
นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ขณะนี้มีการชักชวนเกษตรกรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศให้ร่วมลงทุนกับบริษัทในการปลูกหม่อนผลสด เพื่อจำหน่ายกิ่งพันธุ์และผลหม่อน โดยอ้างว่าได้ผลตอบแทนสูงไร่ละ 100,000-270,000 บาท /ปี แต่ผู้สนใจต้องลงทุนไร่ละ 25,000 – 32,000 บาท และจะได้ต้นหม่อนไปปลูกเพียง 400 ต้น ซึ่งถือว่าราคาเฉลี่ยต่อต้นสูงมาก และที่อ้างว่าจะสามารถเก็บผลผลิตได้วันละ 10 กิโลกรัมนั้น ในทางวิชาการนั้นถือว่าเป็นไปได้ยากที่จะเก็บผลหม่อนให้ได้จำนวนดังกล่าวในทุกวัน ส่วนการขยายพื้นที่ปลูกให้เป็น 10,000 ไร่ โดยไม่มีแผนการตลาดในการจำหน่ายสินค้ายิ่งไม่มีความเป็นไปได้ที่จะได้ผลตอบแทนสูงตามที่กล่าวอ้าง ดังนั้น กรมหม่อนไหมจึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรที่สนใจจะปลูกหม่อนผลสดเพื่อจำหน่ายให้ระวังการถูกชักชวนในลักษณะดังกล่าว โดยหากท่านใดสนใจจะปลูกหม่อนผลสดควรขอคำแนะนำหรือปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของกรมหม่อนไหมก่อนเสมอเพื่อจะทราบทิศทางการตลาด รวมถึงวิธีการปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก และมีบริการจำหน่ายต้นหม่อนปักชำในรา