หลักเศรษฐกิจพอเพียง
นายกฤษณะ สงวนศักดิ์ ผู้จัดการฝ่าย ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ให้ความสำคัญในการสร้างคุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม เป้าหมายหลักของเราคือการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของสังคมโดยรวม พัฒนาชุมชนและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เครือฯ จึงได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ หนึ่งในพื้นที่ที่ดำเนินงานด้านความยั่งยืนในภาคอีสานใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยร่วมกับ มูลนิธิปิดทองหลังพระ และบูรณาการกับหลายภาคส่วนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายช่วยให้ชุมชนมีความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกัน สำหรับพื้นที่ที่ถือว่ามีปัญหาสำคัญ คือ ชุมชนบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่เผชิญปัญหาภัยแล้งในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยคล้ายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้ขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะในภาคการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิต มีรายได้น้อย ส่งผลต่อปัญหาเรื่อ
เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการจัดการ การผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ รวมทั้งไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ดังเช่น คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เกษตรกรที่ผ่านประสบการณ์จากการไปค้าแรงงานต่างประเทศ อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยหันหลังให้กับอาชีพดังกล่าว กลับมาพลิกพื้นดินที่เป็นมรดกของพ่อแม่ ให้เป็นแผ่นดินที่ปลอดภัยจากสารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์หนึ่งเดียวของจังหวัดหนองบัวลำภู คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เดิมทีมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับสร้างบ้าน เกิดปัญหาสภาวะความผันผวนทางด้านการเงิน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงงาน ทำให้อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างมีปัญหามากมาย แต่ไม่คิดย่อท้อต่อชะตาชีวิต สู้ไปเรื่อยๆ เมื่อ ปี พ.ศ. 2556 จึงได้วางแผนมาทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเองต่อจากพ่อและแม่ ในพื้นที่ จำนวน 25 ไร่