“หอมข้าว” (HomKhaw)
อย่างที่ทราบกันดีว่าข้าวหอมมะลิไทย ถือเป็นหนึ่งในข้าวที่ได้รับการยอมรับอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ข้าวไทย ช่วยให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สำหรับการประกาศเดินหน้ายุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่ผ่าน รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า 5 ปีนี้ ประเทศไทยต้องเป็นผู้นำการผลิตตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของโลกให้ได้ แผนยุทธศาสตร์ข้าวไทยจึงได้ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยต้องพัฒนาสินค้าข้าวให้มีความหลากหลาย และตรงกับความต้องการของตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรและภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานจะนำมาซึ่งรายได้ และการเติบโตเชิงเศรษฐกิจรวมไปถึงการส่งออกข้าวอย่างยั่งยืน ซึ่งกลิ่นหอมในข้าวเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของข้าวหอมพันธุ์ต่างๆ และยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดราคาและคุณภาพของข้าว โดยองค์ประกอบหลักของกลิ่นหอมในข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ได้แก่ สาร 2-อะซิติล-1-ไพโรลีน (2-Acetyl-1-Pyrroline หรือ 2AP) (Buttery et al., 1983) โดยที่สาร 2AP จะพบในส่วนต่างๆ ของข้าว เช่น เมล็ดข้า