หอมแบ่ง
คนไทยมักนิยมชมชอบการล้อมวงกินข้าว สำรับกับข้าวที่ผสมผสานปนเป ทั้งอาหารไทย อาหารจีน ลาว ฝรั่ง เป็นค่านิยมของคนบ้านเรา กินข้าวร่วมกันไป พูดคุย สรวลเสเฮฮาบ้าง ตลกขบขันบ้าง นินทาบุคคลที่สามบ้าง เพิ่มรสชาติให้อาหารมื้อนั้น ให้ถ่ายเทความอร่อยจากปลายลิ้นสู่ท้อง เข้าถึงก้นบึ้งกลางใจทุกคน และมีค่านิยมหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รับกันได้ทั่วไป คือกินข้าวต้องมีของเคียงกับข้าว หรือมีของแกล้ม ที่ชัดที่สุดคือ “ผัก” ซึ่งมีนับกว่าร้อยอย่าง และหนึ่งในนั้น ต้องรู้จักกันทั่วไป คือ “หอมแบ่ง” เรารู้จัก “หอมแบ่ง” กันมานาน ปลูกกิน ปลูกขาย ทั่วทุกภาคของไทยเรา แต่เราไม่ค่อยเรียกหอมแบ่ง ซึ่งเป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ เรานักบริโภคส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ต้นหอม” เวลาไปตลาดเรามักจะถามแม่ค้าว่า ต้นหอมขายอย่างไร กำละกี่บาท ต้นหอมที่แม่ค้ามัดกำขาย เพราะเขาต้องเอาไปรวมกับ “ผักชี” เรียกกันรวมว่า “ต้นหอมผักชี” ก็ขอให้ทุกท่านได้เข้าใจตามนี้ก็แล้วกันว่า คือ “หอมแบ่ง” ที่กำลังจะพูดถึง อาจจะมีการเรียกสับสลับกัน เป็นหอมแบ่งบ้าง ต้นหอมบ้าง หรือบางทีว่า “ต้นหอมแบ่ง” เลยก็มี คงเข้าใจและอภัยกันได้ เพราะเขาจะเป็นแค่ผักแกล้ม ผักเคียง หรือผัก
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากการที่ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรเร่งตรวจสอบสารตกค้างสีฟ้าในตัวอย่างต้นหอมที่จำหน่ายในตลาดสี่มุมเมืองและรายงานให้ทราบโดยเร็วเพื่อคลายข้อกังวลต่อผู้บริโภคนั้น ในวันนี้ (18 มกราคม 2566) ได้รับรายงานจากนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ว่าผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในห้องปฏิบัติการด้วยเครื่อง GC-MS และเครื่อง Atomic Absorption Spectrometer (AAS) ของกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร พบว่าเป็นสารแมนโคเซบ (mancozeb) ตกค้างประมาณ 2 mg/kg ซึ่งอยู่ในระดับที่ปลอดภัยไม่เกินค่ามาตรฐาน (EU MRL 3 mg/kg in leeks) รวมทั้งสารแมนโคเซบเป็นยาชนิดสัมผัสบริเวณผิว ไม่ใช่สารที่ดูดซึมเข้าในต้นหอม ดังนั้นการล้างให้สะอาดโดยให้สารที่เคลือบออกหมดก่อนจำหน่ายหรือบริโภคจะทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับอันตราย “แม้ผลการตรวจวิเคราะห์จะยืนยันออกมาแล้วว่าปริมาณสารตกค้างดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแต่ก็ขอเน้นย้ำให้ทั้งผู้ค้าและผู้บริโภคล้างทำความสะอาดต้นหอม หรือพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด เพื่อไม่ให้มีสารตกค้างปนเปื้อนก่อนนำไปจำ
รักษ์ มนัญญา สมเทพ แห่งตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นักเขียน นักกวี และอดีตบรรณาธิการหนังสือหลายเล่ม ทิ้งชีวิตเมืองหลวงกลับสู่บ้านเกิดที่ต่างจังหวัด แต่ก็ยังมีเขียน งานกวีอยู่บ้างประปราย ทั้งยังรับจ้างเป็นบรรณาธิการหนังสือ คือหลังกลับไปอยู่บ้านต่างจังหวัด ก็ไม่ทิ้งงานหนังสือไปเสียเลยทีเดียว ทุกวันนี้ รักษ์ มนัญญา สมเทพ หรือที่เรียกกันสนิทปากว่า พี่รักษ์ พี่รักษ์ นอกจากจะรับทำงานหนังสือ ยังทำเกษตรแบบพอเพียงด้วย เมื่อกลับมาอยู่บ้านเกิดที่ต่างจังหวัดแล้ว วิถีเกษตรซึ่งทำมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เขาก็ไม่อาจทิ้งหรือละเลยได้ ในตอนกลับมาใหม่ๆ ก็ทำนาปลูกข้าว ตอนนี้นาที่เคยทำก็ปล่อยให้เขาเช่า ซึ่งคิดค่าเช่าโดยแบ่งข้าวกับคนที่เช่า ก็พอจะได้มีข้าวกิน ไม่ต้องซื้อ พี่รักษ์ กล่าว ชีวิตในตอนนี้ของ รักษ์ มนัญญา สมเทพ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลร้านค้าชุมชน ให้บริการกับผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเวลาในแต่ละวัน ส่วนใหญ่ก็หมดไปกับร้านค้าแห่งนี้ แต่ก็ยังมีเวลาพอให้กับตัวเอง ที่ทำแล้วก่อให้เกิดความสุข อย่างเช่นทำเกษตรอินทรีย์ แบบว่าปลูกง่ายๆ ปลูกอะไรก็ตามที่กินได้ ส่วนจะปลูกเพื่อขาย อีก
“ต้นหอม” หรือ “หอมแบ่ง” ผักกินใบและใช้ลำต้นปลูกไม่นาน ติดอันดับผักขายดีที่ทุกแผงผักต้องมีติดไว้ เพราะถือเป็นผักที่มีส่วนสำคัญในการปรุงอาหารทั้งคาวและหวาน ทำให้ความต้องการใช้ในแต่ละวันสูงมาก แต่ยังไงก็ตามสำหรับเกษตรกรท่านใดที่อยากปลูกหอมแบ่งเพื่อสร้างรายได้ ควรมีการศึกษาการตลาดและวางแผนจัดการปลูกให้ดี เพราะหอมแบ่งเป็นพืชที่มีราคาผันผวนสูง ในวันที่ราคาดีราคาก็พุ่งสูงไปถึงกิโลกรัมละร้อย แต่หากช่วงไหนราคาตกก็ตกลงมาอย่างน่าใจหาย เพราะฉะนั้นการวางแผนและเทคนิคการปลูกถือเป็นเรื่องสำคัญ คุณสุรางค์ นรเอี่ยม หรือ พี่ก้อย อยู่บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกร่าง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์คนเก่ง สร้างตัวจากอาชีพเกษตร ปลูกพืชผสมผสาน เด่นที่การจัดสรรพื้นที่และเทคนิคการปลูกการดูแล รวมถึงการวางแผนการตลาดก่อนปลูกให้มีกำไรตลอดทุกช่วงการผลิต พี่ก้อย เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรว่า เมื่อก่อนตนเองและสามีประกอบอาชีพเปิดร้านซ่อมรถเป็นหลัก การทำเกษตรเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น แต่เมื่อได้ทำมาสักพัก งานเกษตรได้กลายเป็นงานสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวแบบไม่ได้ตั้งใจ เริ่มทำจากพื้นฐานค
ในช่วงนี้มีอากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกระเทียม ให้เฝ้าระวังโรคใบจุดสีม่วง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช อาการเริ่มแรกจะพบแผลจุดเล็กฉ่ำน้ำ กลมหรือรี หากแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาว ต่อมาแผลขยายออกตามความยาวของใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ เนื้อเยื่อยุบตัว แผลมีสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางแผลซีดจางกว่าเล็กน้อย มีแถบสีขาวหรือสีเหลืองส้มล้อมรอบแผล กรณีอากาศชื้นจะพบบนแผลมีผงสปอร์สีดำของเชื้อราสาเหตุโรค เมื่อมีหลายแผลขยายต่อกัน จะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ผลผลิตลดลง หากโรคระบาดรุนแรง ใบจะแห้งตายหมด ทำให้ไม่ได้ผลผลิต กรณีเชื้อราเข้าทำลายที่ส่วนหัว จะทำให้หัวเน่าและเก็บไว้ได้ไม่นาน ทั้งนี้ ก่อนการปลูกหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกระเทียม เกษตรกรควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูก โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน และเลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค จากนั้นให้แช่หัวพันธุ์หรือต้นกล้าพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สูงจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบัน พี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา 3 ปี ถือว่าราคาดีมาตลอด ปลูกเพียง 2 ไร่ แบ่งปลูกหอมเป็น 2 พันธุ์ ด้วยกัน คือ พันธุ์ขาไก่ 1 ไร่ และพันธุ์อุตรดิตถ์ 1 ไร่ หอมทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป อย่างพันธุ์ขาไก่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สายพันธุ์นี้ต้องดูแลนานก็จริงแต่คุ้ม เพราะสามารถเก็บไว้รอราคาขึ้นได้ ส่วนสายพันธุ์อุตรดิตถ์ให้ผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 35-40 วัน เก็บขายได้เร็ว ไม่ต้องดูแลมาก ยกร่องให้สูง หากอยู่ในช่วงฤดูฝนใช้วิธีนี้ ปัญหาหอมเน่ารากเน่าจะไม่เกิด ขั้นแรกไถพรวนผาล 3 ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วยกร่อง ครั้งที่ 2 ไถพรวนผาล 4 ตากดินทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ และยกร่องขึ้นมาใหม่ให้ร่องสูงประมาณหัวเข่า เพื่อแก้ปัญหาในช่วงฤดูฝนกันรากเน่า ความยาวของแปลงตามสะดวก เมื่อทำเสร็จให้รดน้ำ 2 วัน แล้วใช้เครื่องตีดินแบบเดินตาม เพื่อให้ดิน
คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สูงจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบัน พี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา 3 ปี ถือว่าราคาดีมาตลอด ปลูกเพียง 2 ไร่ แบ่งปลูกหอมเป็น 2 พันธุ์ ด้วยกัน คือ พันธุ์ขาไก่ 1 ไร่ และพันธุ์อุตรดิตถ์ 1 ไร่ หอมทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป อย่างพันธุ์ขาไก่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สายพันธุ์นี้ต้องดูแลนานก็จริงแต่คุ้ม เพราะสามารถเก็บไว้รอราคาขึ้นได้ ส่วนสายพันธุ์อุตรดิตถ์ให้ผลผลิตดี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เพียง 35-40 วัน เก็บขายได้เร็ว ไม่ต้องดูแลมาก หอม เป็นพืชที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี ถ้าหน้าฝนราคาจะสูงถึงกิโลกรัม 150 บาท พูดง่ายๆ ว่า ผลผลิตยังคาแปลงพ่อค้าแม่ค้าก็มาแย่งจองกันแล้ว อย่างที่นี่ทำได้ตลอด เพราะรู้แล้วว่าช่วงฤดูฝนมาต้องทำอย่างไร ยกร่องแปลงสูงขนาดไหน หน้าฝนทีไรเรายิ้มออก เพราะมีการจัดการที่ดี เทนนิคการปลูก ยกร่องหนีฝน การปลูกหอมแบ่งของพี่อุ้ม จะไถดิน 2 ครั้ง และยกร่องให้สูง ห
หลายปีมานี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต้องทนกับราคาพืชไร่ที่ผกผันขึ้นลงไม่แน่นอน ไม่รู้ว่าจะทนทำได้อีกนานเท่าไร จนตอนนี้เกษตรกรหลายรายเริ่มทนไม่ไหวกับราคาที่ตกต่ำจนอยู่แทบไม่ได้ ต้องเป็นหนี้ หนีมาปลูกพืชชนิดอื่นกันแล้วหลายราย คุณทองสุข ชำนาญผลิต หรือ พี่อุ้ม อยู่บ้านเลขที่ 856/1 ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเกษตรกรอีกรายที่จากเดิมปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ แต่ช่วงหลังๆ มานี้พี่อุ้มบอกว่าอยู่แทบไม่ได้ ไหนจะราคาต่ำ แต่ต้องลงทุนต่อไร่สูง ต้องเป็นหนี้เป็นสิน จึงมีแนวคิดหาทางออกมาปลูกอย่างอื่น ได้ไปลองเดินดูตลาดว่าพ่อค้าแม่ค้าเขาขายพืชผักชนิดไหนดี และพืชผักที่ขายดีส่วนใหญ่จะเป็นผักชนิดที่บริโภคกันทุกวันหรือเป็นผักที่เป็นส่วนสำคัญในการทำอาหาร พอรู้แล้ว จึงปิ๊งไอเดียคิดที่จะปลูกหอมแบ่ง เพราะดูแล้วปลูกไม่ยาก คนบริโภคทุกวัน ทั้งเครื่องไม้เครื่องมือเรามีครบอยู่แล้ว พี่อุ้ม หนุ่มโสด วัย 41 ปี ใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรตั้งแต่จำความได้ ด้วยความที่เรียนจบไม่สู งจึงยึดอาชีพเป็นเกษตรกรอาศัยความชำนาญเลี้ยงชีวิต ปัจจุบันพี่อุ้มเริ่มหันมาปลูกหอมแบ่ง เป็นระยะเวลา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักยิ่ง วันนี้ผมขอตั้งคำถามง่ายๆ “เราใช้หอมแบ่งในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง” ลองช่วยกันนึกดูนะครับ ต้มยำ ลาบ น้ำตก ซกเล็ก ก้อย ยำ ต้มจืด ผัด ดอง สารพัดเมนูเหล่านี้ล้วนต้องมีหอมแบ่งเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวหลักในเมนูนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว วันนี้เรามาทำความรู้จัก หอมแบ่ง กันหน่อยดีไหม ผมนัดพบกับท่าน นายกฯ ถิ่น เติบสูงเนิน โทร. (081) 977-6100 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อไปชมแปลงเงินด่วนที่ท่านนายกฯ ได้ปลูกเอาไว้ นายกฯ ถิ่น เล่าว่า ปัจจุบัน หอมแบ่ง ที่ปลูกจำหน่ายในท้องตลาดมี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ลับแล และพันธุ์โคราช ครอบครัวญาติพี่น้องปลูกหอมแบ่งมานานแล้ว ใช้พันธุ์โคราชที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยว ใช้เวลาแค่ 35-45 วัน เท่านั้น เรียกว่าเป็นการทำเกษตรเงินด่วน ปลูกพืชเงินด่วนได้เลย เตรียมพื้นที่ปลูก…ปกติเกษตรกรจะนิยมปลูกหอมแบ่งกันหลังฤดูเก็บเกี่ยว คือเริ่มประมาณปลายเดือนธันวาคมจนถึงต้นมกราคมของแต่ละปี เลือกพื้นที่ที่มีไม้บังลมหรือเป็นหุบจะดีมาก เพราะป้องกันลมพัดต้นหอมล้ม ผลผลิตไม่สวยงาม แ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงอากาศหนาวเย็นมีเกษตรกรจำนวนมากในพื้นที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พากันแห่ปลูกต้นหอม หรือชาวอีสานเรียกว่า “หอมแบ่ง” ผักใช้น้ำน้อยทนแล้ง โดยเฉพาะที่ ต.แสนพัน ถือเป็นแหล่งปลูกใหญ่ ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำโขงไปจาก บ.แสนพัน หมู่ 5 ปลูกยาวสุดลูกหูลูกตา เรื่อยไปจนถึง บ.ศรีนคร ต.พระกลางทุ่ง ระยะทาง 3-4 กิโลเมตร ถึงขนาดมีพ่อค้าคนกลางมาจองคิวและนำเงินมัดจำล่วงหน้า ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกว่า 50 ราย พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่มีรายได้ตกเดือนละ 1 แสนบาท โกยเงินเข้ากระเป๋าเป็นล่ำเป็นสัน นางแอ๋ม ต้นสวรรค์ วัย 36 ปี และนายสมชาย ต้นสวรรค์ อายุ 42 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ.แสนพัน หมู่ 5 สองสามีภรรยาหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอมกล่าวว่า ตนและสามีมีที่ดินริมฝั่งโขงเนื้อที่ 6 ไร่ เดิมทีปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์แต่ราคาไม่ดี เพราะโรงงานรับซื้อคัดเกรด จึงหันมาปลูกพืชผักระยะสั้นทนแล้งแทนได้นาน 5-6 ปี เริ่มจากแบ่งพื้นที่ปลูกพริก มะเขือเทศ ต้นหอม ข้าวโพด สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในเนื้อที่ดังกล่าว และยังเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ไว้ 13 ตัว พร้อมเลี้ยงโค-กระบือไว้ขายลูกอีกจำนวนหนึ่งด้วย เพื่อเสริมรายได้อีกทาง ภรร