หอยเชอรี
หอยเชอรี่สีทอง เป็นสายพันธุ์ของหอยเชอรี่ที่มีเปลือกสีทอง หรือสีเหลืองอำพัน แตกต่างจากหอยเชอรี่ทั่วไปที่มักมีเปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีจุดเด่นคือ เลี้ยงง่าย กินอาหารหลากหลาย โตไว ใช้พื้นที่น้อย ต้นทุนต่ำ แต่สร้างรายได้ดี ไม่ว่าจะขายเป็นอาหาร หรือแปรรูปเพิ่มมูลค่า ก็ทำกำไรได้สบายๆ สำหรับใครที่กำลังอยากเริ่มต้นทำเกษตรแบบไม่ต้องลงทุนเยอะ หอยเชอรี่ตอบโจทย์ ใช้พื้นที่เล็กๆ ก็เลี้ยงได้ ขยายพันธุ์เร็ว ขายได้ทั้งตัวและไข่ แถมตลาดยังต้องการสูง คุณเมย์-เมทินี ภาคีสุข ผู้จัดการ 123 อยุธยาฟาร์ม หอยเชอรี่สีทอง ตั้งอยู่ที่ 123 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแป้ง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนรมิตพื้นที่ 30 ไร่ ทำฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันตลาดในประเทศโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าขยายความนิยมให้เหมือนเนื้อหมู เนื้อไก่ เพราะด้วยรสชาติของหอยเชอรี่ที่หวานกรอบ มีโปรตีนสูงไม่แพ้เนื้อหมูเนื้อไก่ จนได้รับฉายาว่าเป็น “หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด” คุณเมย์ เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองเกิดจากที่เจ้าของฟาร์มชอบกินหอยเชอรี่แต่ติดปัญหาที่หาซื้อ
หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แต่ในปัจจุบันนี้ หอยเชอรี่ได้กลับมาทวงบัลลังก์ความนิยมคืน จากกระแสอาหารรสแซ่บฉบับพี่น้องชาวอีสาน ที่ได้มีการนำเอาหอยเชอรี่ที่หลายคนไม่ต้องการมาปรุงใส่สรรค์สร้างในเมนูอาหารอย่างยำและส้มตำ จนทำให้ตอนนี้กระแสการเลี้ยงหอยเชอรี่ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง และประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้ด้วยการต่อยอดแปรรูปออกมาให้มีรูปแบบที่น่ากินมากยิ่งขึ้น คุณชฎาพร เบญมาศ หรือ คุณเวย์ อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 6 ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี อดีตครูสอนดนตรี หันเอาดีด้านการเกษตร จากการปูพื้นฐานทำสวนผสมผสาน เลี้ยงหนูพุกสร้างรายได้เสริมควบคู่กับงานประจำมาก่อน จนเกิดความมั่นใจว่าอาชีพเสริมที่ทำอยู่จะสามารถต่อยอดสร้างรายได้หลั
หอยเชอรี่ ศัตรูข้าวที่สำคัญ ทำความเสียหายแก่ข้าวในนา ตั้งแต่ในระยะกล้าจนถึงระยะแตกกอ ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศ หากไม่ทำการป้องกันกำจัด หอยเชอรี่สามารถทำลายข้าวในพื้นที่ 1 ตารางเมตร เสียหายได้ภายในเวลา 1 คืน สามารถทำให้สูญเสียผลผลิตข้าวมากกว่าร้อยละ 50 แม้ว่าปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของหอยเชอรี่จะลดลงเนื่องจากการแพร่กระจายของศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญคือ นกปากห่าง แต่พื้นที่นาข้าวที่การปลูกข้าวไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะนาข้าวที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง จึงยังพบปัญหาการแพร่ระบาดของหอยเชอรี่ คุณอุรัสยาน์ ขวัญเรือน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กล่าวว่า ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยสารสกัดจากพืชหลายชนิดเพื่อนำมาทดแทนการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ รวมทั้งการวิจัยพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ แต่การศึกษาถึงในระดับแปลงนายังมีน้อย สารสกัดจากพืชที่นิยมนำมาใช้ป้องกันกำจัดหอยเชอรี่คือ กากเม็ดชา แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้กันนำเข้ามาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน คุณอุรัสยาน์ บอกว่า มีความสนใจสารสกัดจากพืชชนิดหนึ่งที่มีในประเทศไทยคือ มะคำดีควาย หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว
“หอยเชอรี่สีทอง” สัตว์เศรษฐกิจยอดฮิต เลี้ยงอย่างไรให้อยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น คุณศิริวัฒน์ ซุยกระเดื่อง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 249 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น อดีตพนักงานประจำ ผันตัวเป็นเกษตรกร นำประสบการณ์จากที่เคยไปทำงานที่ต่างประเทศมาประยุกต์ใช้พัฒนางานในสวน เน้นให้ความสำคัญกับเวลาในการทำงาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง คุณศิริวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะผันตนเองมาเป็นเกษตรกร เคยทำงานเป็นพนักงานประจำมาก่อน จากนั้นได้ลาออกจากงานประจำเพื่อไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานด้านการเกษตรที่เกาหลีใต้เป็นเวลากว่า 3 ปี ทำให้เห็นว่าภาคเกษตรกรรมของต่างประเทศจะเน้นให้ความสำคัญกับเวลา และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการภายในสวนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีการจ้างแรงงานคนที่น้อยมาก โดยพื้นที่การทำเกษตรจำนวน 10-20 ไร่ ใช้เพียงแรงงาน 2 คนในการดูแล แต่ได้ประสิทธิภาพสูง ซึ่งตนเองก็ได้เก็บเกี่ยวนำเอาสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ และได้ไปสัมผัสมาประยุกต์ใช้กับการทำเกษตรที่บ้านได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนไร่อ้อยของพ่อแม่ มาทำเกษตรผสมผสาน ทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง เลี้ย
“หอยเชอรี่” เป็นศัตรูพืชสำคัญที่ทำลายข้าวในนา หากกำจัดโดยใช้สารเคมี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ ปู ปลา และสัตว์น้ำในแปลงนาตายไปด้วย หมอเกษตร ทองกวาว จึง แนะนำวิธีควบคุมและกำจัดหอยเชอรี่อย่างถูกวิธี หอยเชอรี่ เข้ามาอาละวาดในนาข้าวของประเทศไทย จากที่เคยมีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยมีผู้เลี้ยงปลาตู้นำพันธุ์มาจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ด้วยวัตถุประสงค์ต้องการนำมาเลี้ยงประดับในตู้ปลาและนำกลับไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อมีปริมาณหอยเชอรี่มากเกินความต้องการ จึงมีผู้นำไปทิ้งลงในลำคลอง หอยเชอรี่แพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในเวลาไล่เลี่ยกันพบว่า มีการระบาดเข้ากัดกินข้าวในนาอย่างหนักที่เขตมีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง และในปี 2537 ต่อเนื่องปี 2538 เกิดน้ำท่วมภาคกลางหลายจังหวัดเป็นเวลานาน ทำให้หอยชนิดนี้ระบาดทำลายนาข้าวครอบคลุมพื้นที่รวมถึง 60 จังหวัด ดังนั้น หอยเชอรี่จึงเป็นศัตรูของชาวนาอยู่ในอันดับต้นๆ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา “หอยเชอรี่” เป็นหอยน้ำจืดชนิดหนึ่ง บางคนเรียกว่า หอยโข่งอเมริกาใต้ และเ
ใครไม่รู้จัก หอยเชอรี่ ถือว่าเชย หอยเชอรี่คือ ผู้แซงคิวหอยโข่งจนตกขอบเวที เดี๋ยวนี้หอยโข่งแทบจะหายไปจากแหล่งน้ำของไทย คิดๆ แล้วก็สงสาร หอยโข่ง ครั้งหนึ่ง หอยเชอรี่ ถือเป็นศัตรูพืชตัวฉกาจ เกษตรกรชาวนาพากันรังเกียจ เพราะหอยเชอรี่หากมีอยู่ในที่นาใครแล้ว มันจะกัดกินต้นข้าวในระยะปักดำใหม่ๆ ได้เป็นแปลงๆ เลยทีเดียว และขยายพันธุ์ได้เร็วมากๆ สร้างความชอกช้ำให้ชาวนามาไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไร ว่ากันว่า หอยเชอรี่ เป็นหอยที่มาจากต่างประเทศโน่น เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในพื้นถิ่นอเมริกาใต้ แต่ได้เข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านทางประเทศญี่ปุ่น เขาว่ากันมาอย่างนั้น คนที่นำเข้ามา ก็คงไม่ใช่ตามี ยายมา หรอกนะ แต่นำเข้ามาโดยคนที่มีฐานะ เป็นคนรวยว่างั้น นัยว่านำมาเพื่อไว้ให้กินตะไคร่น้ำในตู้ปลา ด้วยรูปลักษณ์ ที่เหมือนหอยโข่งทุกอย่าง แต่มีเปลือกที่บางกว่า สีจะอ่อนกว่า หากไม่สังเกตก็จะไม่รู้ว่าเป็นหอยโข่งหรือหอยเชอรี่ มีเนื้อข้างในก็เหมือนๆ กับหอยโข่งทุกอย่าง บางคนจึงเรียก หอยเชอรี่ว่า หอยโข่งอเมริกาใต้ บางคนเรียก หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด มีคนเคยทำฟาร์มเลี้ยงหอยเชอรี่ขึ้นมา แต่ผลปรากฏว่าไม่เป็นที่นิยมของนักบริโภค เมื่อลงทุนทำฟาร์มห
“ไคติน” เป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมลง กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ส่วน “ไคโตซาน” เป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ เมื่อไคโตซานเกิดการสลายตัวจะเป็นการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน นอกจากนี้ ไคโตซาน ยังสามารถยึดธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสเฟต ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยสารเหล่านี้แก่พืช ทั้งนี้เพราะไคโตซานเป็นสารชีวภาพ ฉะนั้น จึงช่วยลดการชะล้างและช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ (สวทช. ภาคเหนือ) กศน. ตำบลขี้เหล็ก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกรเรียนรู้การผลิต ไคติน-ไคโตซา
หอย เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายแบบ ทั้งยำ หมก อ่อม ฯลฯ วันนี้ เชิด ขันตี ณ พล ข่าวสดมหาสารคาม เสนอเมนู “ลาบหอยหัวปลี” อาหารอีสานประเภทลาบรสแซบ ใช้วัตถุดิบคือหอยโข่งและหอยเชอรี่ ที่มีมากตามท้องนา จึงไม่ต้องซื้อหา ประหยัดตังค์ แถมช่วยกำจัดศัตรูพืชให้กับต้นข้าว ซึ่งจังหวัดมหาสารคามรณรงค์กำจัดหอยเชอรี่กันเป็นประจำ เพราะระบาดหนัก ลาบหอย เลือกใช้ หอยโข่ง หอยเชอรี่ หรือถ้าจะให้สุดยอด ก็ต้อง “หอยปัง” หอยน้ำจืดลักษณะคล้ายหอยโข่งแต่ตัวโตกว่า เนื้อเยอะ แน่น เคี้ยวหนุบหนับ แต่ที่ต้องระวังมากๆ คือ การจับหอยต้องเลือกแหล่งน้ำสะอาด และที่สำคัญไม่ควรกินดิบ ต้องปรุงให้สุกก่อนกิน ไม่อย่างนั้นโรคาพยาธิจะเล่นงานได้ อร่อยปากแต่ทุกข์ทีหลังไม่สนุก เครื่องปรุงวัตถุดิบ ลาบหอยหัวปลี คือ หอย ต้นหอม หั่นท่อนๆ หัวปลี ซอยเป็นเส้นเล็กๆ พริกป่น ข้าวคั่ว น้ำปลาร้าต้มสุก มะนาว วิธีทำ ก่อนอื่นต้องล้างหอยให้สะอาด นำมาต้มให้สุก สังเกตฝาหอยจะหลุด จากนั้นแคะเอาตัวหอยออกมาผ่าเอาก้อนเล็กๆ ในหัวหอยออกมาทิ้ง ชาวบ้านเรียกว่า “ตาหอย” ออกให้หมด เชื่อว่าหากกินเข้าไปจะเกิดอาการเมา แล้วหั่นหอยบางๆ เตรียมใส่ถ
วันที่ 20 มกราคม 2560 ที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลดงขวาง (หลังเก่า) ตำบลดงขวาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม นายเอกราช มณีกรรณ์ นายอำเภอเมืองนครพนม เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์ป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ มีเกษตรกรในพื้นที่ยกขบวนมาร่วมงานอย่างคับคั่ง นางเกษร วรรณลา เกษตรอำเภอเมืองนครพนม กล่าวว่า หอยเชอรี่เป็นหอยน้ำจืดที่เป็นศัตรูสำคัญของต้นข้าว ซึ่งในแต่ละปีหอยเชอรี่จะทำลายกอข้าวของเกษตรกรให้เสียหายเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ระยะที่ต้นข้าวเป็นต้นกล้า ระยะปักดำใหม่ๆ ไปจนถึงระยะการแตกกอเต็มที่ ซึ่งการกำจัดและการป้องกันทำได้อย่างไม่ทั่วถึง เนื่องจากหอยชนิดนี้มีการวางไข่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลดงขวางและตำบลขามเฒ่า ดังนั้น จังหวัดนครพนมโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนถึงพิษภัยของหอยเชอรี่ที่จะมาทำลายต้นข้าวของชาวนา ตลอดจนการนำเอาหอยเชอรี่ไปสร้างประโยชน์ต่างๆ ให้กับเกษตรกร จึงก่อเกิดเป็นกิจกรรมประกวดหอยใหญ่ และการแข่งขันประกอบอาหารด้วยเมนูหอยเชอรี่ ซึ่งน