หัวกะทิ
เมื่อพูดถึง “กะทิ” หลายคนคงนึกถึงหัวใจของเมนูอาหารไทยทั้งคาวและหวาน ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน ห่อหมก หรือขนมครก แต่เคยสงสัยกันไหมว่า “หัวกะทิ” กับ “หางกะทิ” ที่มักถูกพูดถึงในสูตรอาหารต่างๆ นั้นต่างกันอย่างไร? มาดูกันแบบละเอียดเข้าใจง่าย พร้อมเคล็ดลับการใช้ให้เหมาะกับอาหารแต่ละจาน สายเข้าครัวทำอาหารต้องรู้ กะทิเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารทั้งคาวและหวาน ทำได้หลากหลายเมนู ตั้งแต่แกงกะทิ ต้มกะทิ น้ำยำที่มีส่วนผสมของกะทิ โดยเฉพาะขนมไทยหลายเมนูที่ใช้ “กะทิ” เป็นวัตถุดิบ ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติหวานมัน กลมกล่อม อร่อยลงตัวมากยิ่งขึ้น หัวกะทิ คืออะไร? หัวกะทิ คือส่วนของกะทิที่ได้จากการคั้นมะพร้าวขูดครั้งแรกโดยไม่ผสมน้ำ หรือใช้น้ำน้อยที่สุด มีลักษณะเป็นครีมข้น หนา และมีความมันสูง เพราะมีปริมาณน้ำมันมะพร้าวเข้มข้น หัวกะทิเป็นตัวชูรสสำคัญของเมนูที่ต้องการความมันละมุน เช่น แกงกะทิที่ต้องการให้มีกลิ่นหอมมัน เช่น แกงเขียวหวาน ขนมหวาน เช่น ขนมหม้อแกง ขนมครก น้ำพริกกะทิ เช่น น้ำพริกกุ้งเสียบ หางกะทิ คืออะไร? หางกะทิ คือกะทิที่ได้จากการคั้นครั้งที่สองหรือครั้งถัดๆ ไป โดยเพิ่
สายเข้าครัวทำอาหารต้องรู้🍴 กะทิเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารทั้งคาวและหวาน ทำได้หลากหลายเมนู ตั้งแต่แกงกะทิ ต้มกะทิ น้ำยำที่มีส่วนผสมของกะทิ โดยเฉพาะขนมไทยหลายเมนูที่ใช้ “กะทิ” เป็นวัตถุดิบ ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติหวานมัน กลมกล่อม อร่อยลงตัวมากยิ่งขึ้น แล้วหัวกะทิ กับ หางกะทิ ต่างกันยังไงและเหมาะสำหรับทำเมนูไหน วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว✨ . 🥥 กะทิ มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้น รสหอมมัน ที่คั้นออกมาจากมะพร้าวแก่ จะเหมาะกับการนำมาขูดเป็นกะทิอย่างมาก และรสชาติที่เข้มข้นของกะทิ มาจากน้ำมันมะพร้าว และน้ำตาลมะพร้าวที่อยู่ในเนื้อมะพร้าว โดยมีรสชาติหวานและมัน . 🥘 หัวกะทิ น้ำกะทิที่ได้จากการคั้นมะพร้าวครั้งแรก ซึ่งผสมน้ำเพียงเล็กน้อย หรือบางที่อาจไม่ผสมเลย เป็นกะทิที่มีความเข้มข้นสูงที่สุด นิยมใช้หยอดหน้าขนม หรืออาหารต่างๆ . 🍲 หางกะทิ น้ำกะทิที่ได้จากการคั้นมะพร้าวครั้งที่ 2-3 มีปริมาณน้ำผสมอยู่มากกว่า ความเข้มข้นของกะทิจึงลดลง นิยมนำไปผสมในขนม . 🫕 กะทิแตกมัน การนำกะทิไปตั้งไฟจนเดือด ไขมันในกะทิแยกตัวลอยขึ้นมาเป็นน้ำมันบนผิว ส่วนมากนิยมใช้กับการทำแกงเผ็ด เช่น แกงเขียวหวาน แกงแดง . ❣️ กะทิ