องค์การสหประชาชาติ
องค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2593 จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบ 70% ของจำนวนประชากรโลก หรือราว 6.4 พันล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 54% หรือเกือบ 4 พันล้านคนในปี 2558 ขณะที่จำนวนคนเมืองในกลุ่มประเทศเอเชีย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า จาก 1.6 พันล้าน เป็น 3 พันล้านคนในปี 2593 มหานครทั่วโลกต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่จะมาพร้อมกับจำนวนประชาการที่เพิ่มขึ้น เช่น คุณภาพชีวิต การจัดการขยะ ระบบขนส่งสาธารณะ ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการปัญหาที่รอการแก้ไข และริเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่ทำให้เมืองมีความน่าอยู่และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน (Sustainability Expo 2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่าประเด็นเรื่องความยั่งยืนดูยังเป็นเรื่องไกลตัวคนทั่วไป แต่หากพูดถึงคุณภาพชีวิต คนจำนวนมากจะเชื่อมโยงกับประเด็นนี้ได้มากกว่า แม้ กทม. จะเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ในการจัดอันดับความเป็นเมืองน่าอยู่ (Global Liveability Index) ปี 25
เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ โดยคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ (IPBES) ได้ออกรายงานโดยระบุว่า “ในอนาคต วิกฤตการณ์โรคระบาดมีแนวโน้มที่จะเกิดได้บ่อยขึ้น รุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและคร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกเสียจากว่า ผู้คนบนโลกจะร่วมใจกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีในการดำรงชีวิตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ” อุตสาหกรรมโทรคมนาคม เป็นอีกภาคธุรกิจที่มีความสำคัญ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางมาตรการทางสาธารณสุข แต่ขณะเดียวกัน โทรคมนาคมก็เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสัดส่วนราว 4% ของทั้งโลก หรือคิดเป็นมูลค่าราว 5 แสนล้านบาท (ข้อมูลโดย GSMA) จากรายงานของสมาคม GSMA ในปี 2563 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมที่รวดเร็ว โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของเสาสัญญาณถึง 7% ต่อปี และจากการแนวโน้มการพัฒนาต่างๆ ทั้งเทคโนโลยี 5G และพฤติกรรมการใช้งานดาต้าที่สูงขึ้นอ
เมื่อวันที่ 25-27 เมษายน 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้แทนประเทศไทย นำเสนอวิสัยทัศน์งานวิจัยนวัตกรรมไทยในเส้นทางสายไหม (Silk Road of Innovation) ในเวทีการประชุม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ครั้งที่ 2 (BRF) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและดิจิทัล การวิจัยและนวัตกรรม ของประเทศที่อยู่ในเส้นทางสายไหมในทุกมิติ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้จัดตั้ง “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (DBAR)” ในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอันเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ ระหว่าง วช. กับ Chinese Academy of Sciences (CAS) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหนึ่งในจำนวนแปดศูนย์ทั่วโลก ที่ได้มีการจัดตั้งในประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟินแลนด์ อิตาลี ปากีสถาน โมร็อกโก รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และแซมเบีย วช. ร่วมมือกับ 3 หน่วยงานภาคี คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) สำนักงานพัฒนา