องค์การอนามัยโลก (WHO)
หนึ่งในเสาหลักของการประเมินระดับความมั่นคงทางอาหาร (Pillars of Food Security) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือ การเข้าถึงแหล่งอาหาร (Food Access) ซึ่งการเข้าถึงอาหารเพื่อการดำรงชีพโดยที่ชุมชนสามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงดูตนเองได้ ถือเป็นปัจจัยที่ยั่งยืนที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่าง และหลีกเลี่ยงการเดินทาง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายและติดเชื้อ ด้วยเจตจำนงที่จะให้ชุมชนได้มีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามศาสตร์ของพระราชา โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ริเริ่มโครงการ “MUNA SMART FARM” ขึ้น โดย อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงที่มาของโครงการว่าเกิดขึ้นจากภารกิจหลัก คือ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลสู่ชุมชนให้ได้เรียนรู้และทดลองทำการเกษตรอินทรีย์ โดยโครงการจัดตั้
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) มีบทบาทอันสำคัญในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักและปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ในภาวะวิกฤตที่ประเทศและโลก ต้องเผชิญปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 วช. จึงให้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 250 ล้านบาท ให้กับนักวิจัยไทยระดมกำลังวิจัย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก และนานาชาติ เพื่อหาแนวทางและวิธีแก้ปัญหาการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 โดยเริ่มทำวิจัยตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 มีการระบาด ด้วยการอ่านพันธุกรรมและติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อในไทย เทียบกับเชื้อทั่วโลก ติดตามการกลายพันธุ์ ถ้ากลายพันธุ์เมื่อไรจะทราบก่อนทันที ทำแบบจำลองเพื่อคาดการณ์การระบาด ที่เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์เรื่องการระบาดจำนวนผู้ติดเชื้อ ระยะเวลา เพื่อวางแผนจัดการ รวมถึงประเมินผลของมาตราการที่ใช้ ว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ควรทำอะไรเพิ่มและควรทำเมื่อไร จัดทำชุดตรวจวินิจฉัย โดยเตรียมชุดตรวจและห้อง Lab ให้พร้อมทั้งจำนวนและเทคโนโลยี และพัฒนาชุดตรวจแบบใหม่ที่เร็วขึ้น แม่นยำขึ้นและมีราคาถูก ค้นหายาและวัคซีน และการรักษาที่ได้ผล ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย และองค์การอนามัยโลก พัฒนาวัคซีน ทั
มกอช. ร่วมการประชุม CCGP ครั้งที่ 31 เสนอหลักการทั่วไปในการปรับปรุงการทำงานของโคเด็กซ์ และข้อคิดเห็นต่อร่างยุทธศาสตร์ของโคเด็กซ์ ปี 2020-2025 เน้นความปลอดภัยอาหาร ครอบคลุมเกษตรปลอดภัย สอดรับยุทธศาสตร์ชาติของไทย นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม Codex Committee on General Principles (CCGP) ครั้งที่ 31 ระหว่าง วันที่ 11-15 มีนาคม 2562 ณ เมืองบอร์โด สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อพิจารณาปรับปรุงแนวทางการทำงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมการและคณะทำงานโคเด็กซ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการดำเนินงานเรื่องอาหารปลอมปน โดยยึดหลักการทำงานอย่างโปร่งใส มีส่วนร่วม และเป็นฉันทามติ นางสาวจูอะดี กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) จะร่วมผลักดันมาตรฐานของโคเด็กซ์และสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อการกำหนดมาตรฐานของโคเด็กซ์ “ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีความเห็นให้โคเด็กซ์ยังคงมีทางเลือกให้กับคณะกรรมการที่จะดำเนินงานในรูปแบบการติดต่อทางจดหมายอิเล็