อนาคตที่ยั่งยืน
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ข่าวสารของปลาหมอคางดำเป็นกระแสข่าวอย่างไม่ขาดช่วงกันเลยทีเดียว ในหลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดนี้ หรือที่มักเรียกกันว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ ซึ่งกำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยเฉพาะเกษตกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์มีโอกาสสัมภาษณ์ ผศ.ดุสิต เอื้ออำนวย หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการคุณภาพน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเลี้ยงกุ้งในระบบ co-culture มาตอบข้อสงสัยรวมไปถึงการรับมืออย่างไรได้บ้าง กับการระบาดของปลาหมอคางคำในขณะนี้ ทำความรู้จัก “ปลาหมอคางดำ” เอเลี่ยนสปีชีส์…ที่มีความอดทน ปลาหมอคางดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarotherodon melanotheron (Blackchin tilapia) เป็นปลาน้ำกร่อยที่พบในเขตปากแม่น้ำและทะเลสาบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก ลักษณะทั่วไป เป็นปลาในกลุ่มปลานิล มีลักษณะเด่นคือ มีกระดูกสันหลัง 26-29 ซี่ ซี่กรองเหงือกล่าง 12-19 อัน ก้านครีบหลัง 14-16 อัน สีลำตัวเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม