อนุรักษ์ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จับมือ กรมศิลปากร ใช้แสงซินโครตรอนและการวิเคราะห์ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ อนุรักษ์ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ ชี้จุดเด่นแสงซินโครตรอนสามารถศึกษาความหลากหลาย ความซับซ้อนของโครงสร้างและองค์ประกอบในวัตถุโบราณได้ อีกทั้งศึกษาธาตุองค์ประกอบที่มีปริมาณน้อยมากๆ โดยไม่ทำลายตัวอย่างที่นำมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมชูตัวอย่างความร่วมมือกับช่างสิบหมู่วิเคราะห์กระจกเกรียบโบราณจากวัดพระแก้วจนคิดค้นวิธีผลิตขึ้นใหม่ นำไปสู่การบูรณะราชรถ ราชยาน ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อ วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และ รองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช รจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กับ กรมศิลปากร ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการประยุกต์เทคโนโลยีแสงที่มีในปัจจุบัน มาใช้สนับสนุนภารกิจของกรมศิลปากรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งกรมศิล